การเข้าถึงบริการและความพร้อมการจัดบริการสำหรับผู้มีปัญหาการดื่มสุราของระบบบริการสาธารณสุข
คำสำคัญ:
การเข้าถึงบริการ, การคัดกรองสุรา, การบำบัดแบบสั้น, ความพร้อม, ระบบบริการสุขภาพบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : ศึกษาอัตราการเข้าถึงบริการและความพร้อมในการจัดบริการสำหรับผู้มีปัญหาการดื่มสุราของระบบบริการสาธารณสุขหลัก ในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชน
วิธีการ : วิเคราะห์ข้อมูลผู้มีปัญหาการดื่มสุราจากคลังข้อมูลการแพทย์และสาธารณสุข สามปีย้อนหลัง (พ.ศ. 2560 - 2562) และคัดเลือกข้อมูลความพร้อมระบบบริการฯ ด้วยการประเมินตนเอง จากจังหวัดตัวอย่างที่คัดเลือกแบบเจาะจงหนึ่งจังหวัดต่อหนึ่งเขตสุขภาพ
ผล : ในปีงบประมาณ 2560, 2561 และ 2562 มีอัตราการเข้าถึงบริการของผู้มีความผิดปกติของพฤติกรรมดื่มสุรา (F10.0 - F10.9) ร้อยละ 7.6, 9.1 และ 10.0 ตามลำดับ โดยอัตราการเข้าถึงบริการฯ ในแต่ละเขตสุขภาพมากน้อยต่างกัน หลังการขับเคลื่อนนโยบายการดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุราอย่างเป็นระบบพบว่า ร้อยละ 32.7 ของผู้มารับบริการสุขภาพทั่วไปได้รับการคัดกรองปัญหาการดื่มสุราและการบำบัดแบบสั้น โดยผลการสำรวจความพร้อมของระบบบริการในพื้นที่ตัวอย่างพบว่า จุดบริการต่าง ๆ เช่น คลินิกผู้ป่วยนอก คลินิกโรคเรื้อรัง คลินิกสุขภาพจิตและยาเสพติด หน่วยบริการปฐมภูมิ และหน่วยอุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน มีความพร้อมในการจัดบริการคัดกรองปัญหาการดื่มสุรามากกว่าร้อยละ 75 อย่างไรก็ตาม มีโรงพยาบาลถึงร้อยละ 55.2 ที่มีเพียงผู้รับผิดชอบเฉพาะงานสุรา/ยาเสพติด/สุขภาพจิตเท่านั้นที่มีความรู้และทักษะดังกล่าว
สรุป : หลังการขับเคลื่อนนโยบายอย่างจริงจัง อัตราการเข้าถึงบริการของผู้มีปัญหาการดื่มสุรามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ควรคำนึงถึงการเตรียมความพร้อมบุคลากรสุขภาพทุกระดับเพื่อการดำเนินงานที่ครอบคลุม โดยเฉพาะพยาบาลสุขภาพจิตและยาเสพติดที่เป็นบุคลากรหลักในการขับเคลื่อนและสนับสนุนทีมงานในระดับพื้นที่
Downloads
References
ขนิษฐา กู้ศรีสกุล, พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, ณัฐพัชร์ มรรคา, กนิษฐา บุญธรรมเจริญ. ภาระโรคจิตเวชและความผิดปกติของพฤติกรรมใช้สุราสารเสพติดในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2557 [The burden of mental and alcohol/substance use disorders in Thailand 2014]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2561;26(1):1-15.
แผนงานการพัฒนาดัชนีภาระทางสุขภาพเพื่อการพัฒนานโยบาย สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2557 [Report on the burden of disease and injuries of population of Thailand, 2014]. นนทบุรี: แผนงาน; 2560.
พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, นพพร ตันติรังสี, วรวรรณ จุฑา, อธิป ตันอารีย์, ปทานนท์ ขวัญสนิท, สาวิตรี อัษณางค์กรชัย. ความชุกของโรคจิตเวชและปัญหาสุขภาพจิตของคนไทย: การสำรวจระบาดวิทยาสุขภาพจิตระดับชาติ ปี พ.ศ. 2556 [Prevalence of mental disorders and mental health problems: Thai national mental health survey 2013]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2560;25(1):1-19.
สำนักบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. รายงานงบประมาณในการให้บริการบำบัดฟื้นฟูเพื่อเลิกสุรา แผนงานป้องกันปราบปรามและบำบัดรักษายาเสพติดงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2559 [Budget report on rehabilitation services for alcohol cessation, anti-suppression and drug treatment plan, budget expenditure for the year 2016]. นนทบุรี: สำนัก; 2560.
Kohn R, Saxena S, Levav I, Saraceno B. The treatment gap in mental health care. Bull World Health Organ. 2004;82(11):858-66.
Schmidt LA. Recent development in alcohol service research on access to care. Alcohol Res. 2016;38(1):27-33.
พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, บรรณาธิการ. แนวปฏิบัติการคัดกรองและบำบัดรักษาฟื้นฟูสภาพผู้มีปัญหาการดื่มสุรา [Guidelines for screening and rehabilitation of people with alcohol problems]. นนทบุรี: อนุกรรมการพิจารณาด้านการบำบัดรักษาฟื้นฟูสภาพผู้ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์; 2561.
Yamane T. Statistics an introduction analysis. New York: Harper & Row; 1973.
กองบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลพื้นฐานโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ณ กรกฎาคม 2560 [Basic information on hospitals under the office of the permanent secretary, ministry of public health as of July 2017]. นนทบุรี; กอง: 2560 [สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2561]. จาก: https://phdb.moph.go.th/main/index/downloadlist/57/0
World Health Organization. The ICD-10 classification of mental and behavioural disorders: clinical descriptions and diagnostic guidelines. Geneva: World Health Organization; 1992.
หทัยชนนี บุญเจริญ, บรรณาธิการ. แนวทางการพัฒนาคุณภาพระบบบริการผู้มีปัญหาการดื่มสุรา โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล [Guidelines for improving the quality of service systems for people with alcohol use problems center hospital/general hospital, community hospital and Tambon health promoting hospital]. เชียงใหม่: แผนงานการพัฒนาระบบการดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุรา; 2557.
Babor TF, Higgins-Biddle JC, Saunders JB, Monteiro MG. AUDIT: the alcohol use disorders identification test: guidelines for use in primary health care. 2nd ed. Geneva: World Health Organization; 2001.
Humeniuk RE, Henry-Edwards S, Ali RL, Poznyak V, Monteiro M. The alcohol, smoking and substance involvement screening test (ASSIST): manual for use in primary care. Geneva: World Health Organization; 2010.
Raistrick D, Heather N, Godfrey C. Review of the effectiveness of treatment for alcohol problems. London: National Treatment Agency for Substance Misuse; 2006.
พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, บุญศิริ จันศิริมงคล, ผู้แปล. บททบทวนวิชาการเรื่อง ประสิทธิผลของการบําบัดรักษาปญหาการดื่มแอลกอฮอล์ [Review of the effectiveness of treatment for alcohol problems]. เชียงใหม่: แผนงานการพัฒนาระบบการดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุรา (ผรส.); 2556.
Tuithof M, Ten Have M, van den Brink W, Vollebergh W, de Graaf R. Treatment seeking for alcohol use disorders: treatment gap or adequate self-selection? Eur Addict Res. 2016;22(5):277-85. doi:10.1159/000446822.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- ผู้อ่านสามารถนำข้อความ ข้อมูล จากวารสารไปใช้ไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ เช่น เพื่อการสอน เพื่อการอ้างอิง แต่การนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น เพื่อการค้า จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกรมสุขภาพจิตก่อน
- ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทยเป็นของผู้เขียนบทความและมิได้แสดงว่ากองบรรณาธิการหรือกรมสุขภาพจิตเห็นพ้องด้วย