การพัฒนาแบบประเมินสภาพช่องปากผู้ป่วยก่อนการรักษาด้วยไฟฟ้า

ผู้แต่ง

  • สุวรรณี ตุ่มทอง, ท.บ. สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  • นารีรัตน์ ทองยินดี, วท.ม. สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

การพัฒนา, การรักษาด้วยไฟฟ้า, แบบประเมินช่องปาก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ :  เพื่อพัฒนาแบบประเมินสภาพช่องปากผู้ป่วยจิตเวชก่อนการรักษาด้วยไฟฟ้า

วิธีการ: พัฒนาแบบประเมินสภาพช่องปากผู้ป่วยจิตเวชก่อนได้รับการรักษาด้วยไฟฟ้า 2 ฉบับ ได้แก่ ฉบับทันตแพทย์ และฉบับวิสัญญีพยาบาล ใช้ค่าดัชนีความแม่นตรงด้านเนื้อหาจากความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ประเมินความเชื่อถือได้ภายในของผู้ประเมินทั้ง 2 กลุ่ม ระหว่างทันตแพทย์ 2 คน และวิสัญญีพยาบาล 3 คน ด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์ Cohen,s kappa และหาความแม่นตรงเทียบกับการประเมินของผู้วิจัยเป็นเกณฑ์มาตรฐาน      

ผล : ค่าดัชนีความแม่นตรงด้านเนื้อหาของแบบประเมิน ทุกหัวข้อในแบบประเมินทั้งสองฉบับมีค่าเท่ากับ 1  ค่าความเชื่อถือได้ภายในของผู้ประเมิน (Cohen,s kappa) ฉบับทันตแพทย์มีค่าเท่ากับ .92 และฉบับวิสัญญีพยาบาลมีค่าอยู่ระหว่าง .71 - .85 ฉบับทันตแพทย์หัวข้อการตรวจที่มีค่าความไวสูง ได้แก่ การตรวจฟันโยก ฟันปลอมถอดได้ และเครื่องมือจัดฟันติดแน่น ทุกหัวข้อมีค่าความจำเพาะมากกว่าร้อยละ 90 ฉบับวิสัญญีพยาบาลหัวข้อการตรวจที่มีค่าความไวสูง ได้แก่ การตรวจฟันปลอมถอดได้ และเครื่องมือจัดฟันติดแน่น ทุกหัวข้อมีค่าความจำเพาะมากกว่าร้อยละ 89  

สรุป : แบบประเมินสภาพช่องปากผู้ป่วยก่อนการรักษาด้วยไฟฟ้า ฉบับทันตแพทย์และฉบับวิสัญญีพยาบาล มีความน่าเชื่อถือและความแม่นตรงอยู่ในเกณฑ์ยอมรับได้ สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางประเมินสภาพช่องปากผู้ป่วยก่อนทำการรักษาด้วยไฟฟ้า

Downloads

Download data is not yet available.

References

รัตนา สายพานิชย์. Electroconvulsive therapy (ECT) [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2554 [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2562]. จาก: https://med.mahidol.ac.th/ramamental/sites/default/files/public/pdf/ECT%20%28mechanism%20and%20procedure%29.pdf

ธีระ ลีลานันทกิจ. การรักษาด้วยไฟฟ้าทฤษฎีและภาคปฏิบัติ [Electroconvulsive therapy (ECT) theory and practice]. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2553.

วรวัฒน์ จันทร์พัฒนะ. การรักษาด้วยไฟฟ้าในโรคจิตเวช [The origin of electroconvulsive therapy]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2543;44:156-69.

Martin D. Dental issues related to ECT. In: Waite J & Easton A, editor. The ECT handbook. Glasgow: Bell&Bain Limited; 2017. p. 87-93.

Watts BV, Groft A, Bagian JP, Mills PD. An examination of mortality and other adverse events related to electroconvulsive therapy using a national adverse events report system. J ECT. 2011;27(2):105-8. doi:10.1097/YCT.0b013e3181f6d17f.

Muzyka BC, Glass M, Glass OM. Oral health in electroconvulsive therapy a neglected topic. J ECT. 2017;33(1):12-5. doi:10.1097/YCT.0000000000000351.

Stiefel DJ, Truelove EL, Anderson VK, Doyle PE, Mandel LS. A comparison of the oral health of persons with and without chronic mental illness in community settings. Spec Care Dentist. 1990;10:6-12. doi:10.1111/j.1754-4505.1990.tb01079.x.

Minneman SA. A history of oral protection for the ECT patient: past, present, and future. Convuls Ther. 1995;11:94-103. PubMed PMID:7552060.

Weiner RD, McCall WV. Dental consultation in ECT [Letter]. Convuls Ther. 1992;8:146. PubMed PMID:11941164.

McCall WV, Minneman SA, Weiner RD, Shelp FE, Austin S. Dental pathology in ECT patients prior to treatment. Convuls Ther. 1992;8:19-24. PubMed PMID:11941145.

สำนักบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต. แนวทางการพัฒนาคุณภาพระบบบริการสุขภาพจิตและจิตเวชระดับรุนแรง ยุ่งยาก ซับซ้อน [Guidelines for quality development mental health and psychiatric service system: super specialist service]. นนทบุรี: บริษัท วิคทอเรียอิมเมจ จำกัด; 2560.

Beli N, Bentham P. Nature and extent of dental pathology and complications arising in patients receiving ECT. Psychiatric Bulletin. 1998;22:562-5. doi:10.1192/pb.22.9.562.

สุวรรณี ตุ่มทอง. ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับฟันและอวัยวะในช่องปากของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการทำให้ชักด้วยไฟฟ้า [Dental complications in patient who received electroconvulsive therapy]. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. 2560 [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2562]. 11(2):52-61. จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/journalsomdetchaopraya/article/view/188527

คณะทำงานโครงการพัฒนาระบบการรักษาทางทันตกรรมผู้ป่วยจิตเวช. แนวทางการรักษาทางทันตกรรมผู้ป่วยจิตเวช [Clinical dental practice guideline for psychiatric patients]. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2557.

Morris AJ, Roche SA, Bentham P, Wright J. A dental risk management protocol for electroconvulsive therapy. J ECT. 2002;18(2):84-9. doi:10.1097/00124509-200206000-00004.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-14

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ