ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับฟันและอวัยวะในช่องปากของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยไฟฟ้า
คำสำคัญ:
การรักษาด้วยการทำให้ชักด้วยไฟฟ้า, ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับฟันและอวัยวะในช่องปากบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับฟันและอวัยวะในช่องปากของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการทำให้ชักด้วยไฟฟ้า และเสนอแนวทางในการดูแลฟันและอวัยวะในช่องปากผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยการทำให้ชักด้วยไฟฟ้า
วัสดุและวิธีการ : ค้นหาบทความที่เกี่ยวข้องกับ ฟัน และอวัยวะช่องปาก กับการรักษาด้วยการทำให้ชักด้วยไฟฟ้า จาก PubMed, google scholar และตำรารวมถึงเอกสารทางวิชาการ แล้วคัดเลือกเฉพาะบทความที่เกี่ยวข้องกับภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับฟันและอวัยวะในช่องปากในการรักษาด้วยการทำให้ชักด้วยไฟฟ้า
ผล : มีบทความที่กล่าวถึงฟัน และอวัยวะช่องปากกับการรักษาด้วยการทำให้ชักด้วยไฟฟ้าจำนวนเพียง 15 บทความ การรักษาด้วยการทำให้ชักด้วยไฟฟ้าเป็นวิธีการรักษาผู้ป่วยจิตเวชที่ให้ผลการรักษาที่ดีวิธีหนึ่ง ปัจจุบันได้ประยุกต์โดยใช้การรักษาด้วยการทำให้ชักด้วยไฟฟ้าภายใต้การระงับความรู้สึก แต่ก็ยังคงพบภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับฟันและอวัยวะในช่องปาก เนื่องจากผู้ป่วยจิตเวชมีทันตสุขภาพไม่ดี เป็นโรคปริทันต์ระดับรุนแรง ทำให้ฟันมีโอกาสโยกและหลุดระหว่างการรักษาได้ และปัจจุบันงานทันตกรรมเพื่อความสวยงาม และงานทันตกรรมรากเทียมได้พัฒนาไปมาก ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับผู้ป่วยเหล่านี้จะเป็นภาวะแทรกซ้อนระดับรุนแรง เมื่อมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นผู้ป่วยสามารถฟ้องร้องทางกฎหมายเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายได้ มีการแนะนำให้ตรวจประเมินสภาพฟันและอวัยวะในช่องปากก่อนการให้รักษาด้วยการทำให้ชักด้วยไฟฟ้า และใส่อุปกรณ์ป้องกันช่องปากในผู้ป่วยทุกคนขณะให้การรักษาด้วยการทำให้ชักด้วยไฟฟ้า
สรุป : ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับฟันและอวัยวะในช่องปากพบได้เป็นประจำระหว่างให้การรักษาด้วยการทำให้ชักด้วยไฟฟ้า ผู้ให้การรักษาต้องให้ความสำคัญและมีแนวทางปฏิบัติในการดูแลฟันและอวัยวะในช่องปากผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยการทำให้ชักด้วยไฟฟ้าอย่างชัดเจน
References
ธีระ ลีลานันทกิจ. การรักษาด้วยไฟฟ้าทฤษฎีและภาคปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2553.
รัตนา สายพานิชย์. Electroconvulsive therapy (ECT). [online]. Available from: http://med.mahidol.ac.th/ramamental/sites/default/files/public/pdf/ECT%20(mechanism%20and%20procedure).pdf [2016 Dec 10].
American Psychiatric Association. The practice of ECT: recommendation for practice, training and privileging. Washington D.C.: American Psychiatric Press; 1990.
วรวัฒน์ จันทร์พัฒนะ. การรักษาด้วยไฟฟ้าในโรคจิตเวช. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2543: 44; 156-69.
Chanpattana W, Kramer BA. Electroconvulsive Therapy Practice in Thailand. J ECT 2004: 20; 94-98.
Watts BV, Groft A, Bagian JP, Mills PD. An examination of mortallity and other adverse events related to electroconvulsive therapy using a national adverse events report system. J ECT 2011: 27; 105-08.
McCall WV, Minneman SA, Weiner RD, Shelp FE, Austin S. Dental pathology in ECT patients prior to treatment. Convuls Ther 1992: 8; 19-24.
Muzyka BC, Glass M, Glass OM. Oral health in electroconvulsive therapy a neglected topic. J ECT 2016: 33(1); 12-5.
รายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยงประจำปี 2557-2559. ศูนย์การรักษาด้วยไฟฟ้า. สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา.
Beli N, Bentham P. Nature and extent of dental pathology and complications arising in patients receiving ECT. Psychiatric Bulletin 1998: 22; 562-65.
Jirakulsawat A, Siriussawakul A, Triyasunant N, Wangdee A, Yutica J, Chiripu M. Incidence of oral injury and risk factors associated with oral injury in psychiatric patients undergoing electroconvulsive therapy in Siriraj hospital. Siriraj Med J 2012: 64(5); 145-48.
Yasny JS. Perioperative dental considerations for the Anesthesiologist. Anesth Analg 2009: 108; 1564-73.
Woo SW, Do SH. Tongue laceration during electroconvulsive therapy. KJA 2012: 62(1); 101-102.
Martin D. Dental issues related to ECT. In: Waite J & Easton A, editors. The ECT Handbook. Glasgow: Bell&Bain Limited: 2013; 87-93.
Kiran S, Bala R, Singh T. Dental protection during modified electroconvulsive therapy using Roll-Guaze mouth gag [Letter]. J ECT 2009: 25; 74-5.
Weiner RD, McCall WV. Dental consultation in ECT [Letter]. Convuls Ther 1992: 8; 146.
Minneman SA. A history of oral protection for the ECT patient: past, present, and future. Convuls Ther 1995: 11; 94-103.
Kisely S. No mental health without oral health. Can J Psychiatry 2016: 61(5); 277-82.
เฉลิมพล ลี้ไวโรจน์. วีเนียร์: ศาสตร์และศิลป์ชั้นสูงงานทันตกรรมเพื่อความสวยงาม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: พรรษาดีไซด์; 2546.
นวภรณ์ จิตตภิรมย์ศักดิ์, ตวงรัชต์ เลิศบุษยานุกูล. ครอบฟัน และสะพานฟัน แตกต่างกันอย่างไร? เกร็ดความรู้ โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร. [online]. Available from: http://www.info.dent.nu.ac.th/dentalHospital/index.php/2012-09-18-18-57-27/8-2013-03-25-09-21-57/32-2013-03-25-09-24-12 [2017 Jan 18].
ภาควิชาศัลยศาสตร์ช่องปาก. เรามารู้จักรากฟันเทียมกันดีกว่า เกร็ดความรู้โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร. [online]. Available from: http://www.info.dent.nu.ac.th/dentalHospital/index.php/2012-09-18-18-57-27/7-2013-01-05-23-27-44/88-2016-09-16-09-59-05 [2017 Jan 18].
องอาจ ชาลีภา, รัตนาลักษณ์ ชาลีภา, นารีรัตน์ ไกรวิทย์, ดารา ศัตรูลี้, สายฝน นันทจิต. เปรียบเทียบการใช้ไม้พันสำลีและก๊อซกับแผ่นยางในการรักษาด้วยไฟฟ้า. J Psychiatr Ass Thailand 1989: 34(1); 31-8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา