ผลของโปรแกรมสนับสนุนศักยภาพครอบครัวต่อความสามารถทางการเรียนรู้ในเด็กนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

ผู้แต่ง

  • มลฑิรา โพธิสุวรรณ, พย.บ. สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • เกียรติกำจร กุศล, ค.ด. สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • ธิดารัตน์ เอกศิรินิมิตร, ปร.ด. สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

คำสำคัญ:

ความบกพร่องทางการเรียนรู้, ความสามารถทางการเรียนรู้, ศักยภาพครอบครัว

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสนับสนุนศักยภาพผู้ดูแลหลักในครอบครัวต่อความสามารถทางการเรียนรู้ในนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

วิธีการ: เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนประถมศึกษาที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้และผู้ดูแลหลัก โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิตามเกณฑ์การคัดเข้า เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คู่ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสนับสนุนศักยภาพครอบครัว ส่วนกลุ่มควบคุมดูแลตามปกติ ระยะเวลาดำเนินการ 7 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบประเมินศักยภาพผู้ดูแล ความสามารถทางการเรียนรู้ของนักเรียนและโปรแกรมสนับสนุนศักยภาพครอบครัว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา Chi-square, Fisher's exact test และ t-test

ผล: หลังนำโปรแกรมไปใช้พบว่าคะแนนเฉลี่ยศักยภาพของผู้ดูแลด้านความรู้และพฤติกรรมการดูแลนักเรียนในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ด้านความรู้ (M = 7.47, SD = 1.61; M = 3.80, SD = 1.65) ด้านพฤติกรรม (M = 24.38, SD = 2.25; M = 15.60, SD = 2.76) ตามลำดับ คะแนนเฉลี่ยความสามารถทางการเรียนรู้ของนักเรียนหลังได้รับโปรแกรมสนับสนุนศักยภาพครอบครัวด้านการอ่าน การเขียนและการคำนวณ (M = 26.30, SD = 3.65; M = 27.30, SD = 4.98; M = 28.20, SD = 4.75) ส่วนกลุ่มควบคุมคะแนนเฉลี่ยด้านการอ่าน การเขียนและการคำนวณ (M = 18.43, SD = 3.11; M = 17.30, SD = 3.16; M = 17.33, SD = 2.32) และพบว่าทั้ง 2 กลุ่ม มีความสามารถในการเรียนรู้แต่ละด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001)

สรุป: โปรแกรมสนับสนุนศักยภาพผู้ดูแลหลักในครอบครัวสามารถนำไปใช้ในการสอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่บ้านได้ ทำให้นักเรียนมีความสามารถทั้งด้านการอ่าน การเขียนและการคำนวณดีขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

References

Gorker I, Bozatli L, Korkmazlar U, Yucel Karadag M, Ceylan C, Sogut C, et al. The probable prevalence and sociodemographic characteristics of specific learning disorder in primary school children in Edirne. Arch Neuropsychiatry. 2017;54(4):343-9.

Fortes IS, Paula CS, Oliveira MC, Bordin IA, de Jesus Mari J, Rohde LA. A cross-sectional study to assess the prevalence of DSM-5 specific learning disorders in representative school samples from the second to sixth grade in Brazil. European Child & Adolescent Psychiatry. 2016;25(2):195-207. Available from: https://doi.org/10.1007/s00787-015-0708-2

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. แผนพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2555-2559) [The 5- years educational development plan for people with disabilities 2012- 2016]. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน; 2555.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ [Guideline for measurement and evaluation of learning for students with special needs]. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2558.

สำนักงานสถิติ จังหวัดนครศรีธรรมราช. รายงานสถิติจังหวัด พ.ศ. 2558. [Provincial statistical report 2015]. นครศรีธรรมราช: สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร; 2561.

Taanila A, Ebeling H, Tiihala M, Kaakinen M, Moilanen I, Hurtig T, et al. Association between childhood specific learning difficulties and school performance in adolescents with and without ADHD symptoms: A 16-year follow-up. J Atten Disord. 2014;18:61-72.

Cortiella, Candace, Horowitz, Sheldon H. The state of learning disabilities: Facts, trends and emerging issues. New York: National Center for Learning Disabilities, 2014.

Rimrodt SL, Lipkin PH. Learning disabilities and school failure. Pediatr Rev. 2011;32:315-24.

วินัดดา ปิยะศิลป์. คู่มือการตรวจประเมินวินิจฉัยและแนวทางช่วยเหลือเด็กพิการ [Manual for assessment diagnosis and caring children with disabilities]. กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย; 2558.

นงนุช เพชรบุญวัฒน์. ความรู้เกี่ยวกับการศึกษาพิเศษ [Knowledge of special education].มหาสารคาม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; 2555.

จิรดา แก้วขาว, นวลฉวี ประเสริฐสุข. การใช้สีกำหนดพยัญชนะเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านคำมาตราตัวสะกดแม่กนที่ไม่ตรงตามมาตราของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ [The use of color to define consonants in order to improve the ability to read word, the spelling section that is not in accordance with the section in children with learning disabilities]. Veridian E-Journal Silapakorn University. 2558;8(3):55-70. จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/43654

สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต. คู่มือครู ระบบการดูแลเด็กกลุ่มเด็กพิเศษที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ [Teacher handbook, students care system with LD]. กรุงเทพฯ: บริษัท บียอนด์ พับลิสชิ่ง จำกัด; 2555.

ผดุง อารยะวิญญู, วาสนา เลิศศิลป์. การเรียนร่วม [Joint study]. กรุงเทพฯ: เจ.เอ็น.ที; 2551.

Sandy PT, Kgole JC, Mavundla TR. Support needs of caregivers: Case study in South Africa. Int Nurs Rev. 2013;60:344-50.

Meral BF, Cavkaytar A. A study on social support perception of parent who have children with autism. International Journal on New Trends in Education and Their Implications. 2012;3(3):124-33. Available from: http://www.ijonte.org/FileUpload/ks63207/File/13.meral.pdf

นพวรรณ ศรีวงค์พานิช, จันทรอาภา สุขทัพภ์, วนิดา ชนินทยุทธวงศ์ อัมพร เบญจพลพิทักษ์ ความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ยงต่อโรคสมาธิสั้น ออทิซึม ภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้และภาวะบกพร่องทางสติปัญญา จากการสังเกตโดยครูกับระดับสติปัญญา (IQ) ของเด็กไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 [The relationship between risk of ADHD, Autism, LD, cognitive impairment from observation by teachers and IQ of Thai children in grade 1]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2562;27:159-70. จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/220395

ประภัสสร ปรีเอี่ยม. การจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1 [Individual education management of students with special needs, Mahasarakarm educational service area office 1]. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ; 2552.

House JS. Work stress and social support. CA: Addison-Wesley publishing company; 1981.

สมลักษณ์ กอกุลจันทร์. ผลของโปรแกรมการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมต่อพฤติกรรมการดูแลเด็กของผู้ดูแลเด็กที่มีภาวะบกพร่องด้านการเรียน [The effects of a holistic healthcare program on the caring behaviors of caregivers of children with learning disability] [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2558.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. คู่มือหลักสูตรสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษระยะแรกเริ่มของศูนย์การศึกษาพิเศษ [A curriculum guide for children with special needs in the initial stages of the special education center]. กรุงเทพฯ: สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กระทรวงศึกษาธิการ; 2558.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. การเตรียมความพร้อมสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เล่มที่ 2 [Preparation for students with LD, volume 2]. กรุงเทพฯ: กลุ่มการจัดการศึกษาเรียนร่วม สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กระทรวงศึกษาธิการ; 2554.

อุดมญา พันธนิตย์, อาภาวรรณ หนูคง, จินต์ณาภัส แสงงาม, กรรณิการ์ ชัยลี, กรรณิการ์ เกิดศรีพันธุ์, กิ่งกาญจน์ เกิดศรีพันธุ์. ผลของโปรแกรมการสนับสนุนการคัดกรองพัฒนาการเด็กปฐมวัยต่อความรู้และทักษะของครูอนุบาลในศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย [The effect of a supportive program for development screening on knowledge and skills of kingdergarten teachers in child developmental centers]. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. 2019;20(39):60-72.

Preus B. Authentic instruction for 21st century learning: Higher order thinking in an inclusive school. American Secondary Education. 2012;40(3):59-79.

นิศาชล ชมเชย, สุจิตรพร เลอศิลป์, สรินยา ศรีเพชราวุธ, สุภาพร ชินชัย. ประสิทธิผลของโปรแกรมการบำบัดการรับรู้ทางสายตาในนักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 [Effectiveness of the visual perceptual intervention program for grade 1-3 students with LD]. วารสารเทคนิคการแพทย์เชียงใหม่. 2558;48:222-30. จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bulletinAMS/article/view/59849

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-16

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ