ความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ยงต่อโรคสมาธิสั้น ออทิซึม ภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้และภาวะบกพร่องทางสติปัญญาจากการสังเกตพฤติกรรมโดยครูกับระดับสติปัญญา (IQ) ของเด็กไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
คำสำคัญ:
การสังเกตพฤติกรรม, ระดับสติปัญญา, เด็กไทยบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ยงต่อโรคสมาธิสั้น ออทิซึม ภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ (แอลดี) และภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
วิธีการ: ใช้ข้อมูลจากโครงการสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญาและความฉลาดทางอารมณ์เด็กไทยวัยเรียน และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ปี พ.ศ. 2559 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ยงต่อโรคสมาธิสั้น ออทิซึม ภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้และภาวะบกพร่องทางสติปัญญา จากการสังเกตพฤติกรรมโดยครูกับระดับสติปัญญา (IQ) ของเด็กไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ค่าอัตราส่วนปัจจัยเสี่ยง (odds ratio) และร้อยละ
ผล: กลุ่มตัวอย่าง 23,641 คน ได้รับการประเมินด้วยแบบสังเกตพฤติกรรม สำหรับเด็กสมาธิสั้น ออทิซึม แอลดีและเด็กเรียนรู้ช้า 6-12 ปี โดยครู 23,146 คน (ร้อยละ 97.9) ความเสี่ยงต่อโรคสมาธิสั้น ออทิซึม ภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้และภาวะบกพร่องทางสติปัญญาจากการสังเกตพฤติกรรมโดยครูกับค่าคะแนนระดับสติปัญญา (IQ) มีความสัมพันธ์กัน โดยเด็กที่ครูสังเกตพบว่ามีความเสี่ยงต่อโรคสมาธิสั้น ออทิซึม บกพร่องทางการเรียนรู้และบกพร่องทางสติปัญญา มี IQ ต่ำร้อยละ 62.8, 86.2, 60.3 และ69.4 ตามลำดับ และเด็กที่มี IQ ต่ำมีโอกาสพบความเสี่ยงต่อภาวะสมาธิสั้นออทิซึม บกพร่องทางการเรียนรู้และบกพร่องทางสติปัญญามากกว่าเด็กที่มี IQ ปกติ 7.5 เท่า (95%CI = 6.813-8.191), 22.9 เท่า (95%CI = 17.790-29.585), 7.7 เท่า (95%CI = 7.143-8.364) และ 9.7 เท่า (95%CI = 8.687-10.760) ตามลำดับ
สรุป: เด็กที่มีความเสี่ยงต่อโรคสมาธิสั้น ออทิซึม ภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้และภาวะบกพร่องทางสติปัญญาจากการสังเกตพฤติกรรมโดยครูมีระดับสติปัญญา (IQ) ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ
Downloads
References
2. Christensen DL, Baio J, Braun KV, Bilder D, Charles J, Costantino JN, et al. Prevalence and characteristics of autism spectrum disorder among children aged 8 years - Autism and Developmental Disabilities Monitoring Network, 11 sites, United States 2012. MMWR Surveill Summ. 2016;65:1-23.
3. Postorino V, Fatta LM, Sanges V, Giovagnoli G, De Peppo L, Vicari S, et al. Intellectual disability in Autism Spectrum Disorder: Investigation of prevalence in an Italian sample of children and adolescents. Res Dev Disabil. 2016;48:193-201.
4. Simonoff E. Intellectual disability. In: Thapar A, Pine DS, Leckman JF, Scott S, Snowling MJ, Taylor E, editors. Rutter’s child and adolescent psychiatry. sixth edition. John Wiley&Sons; 2015:719-37.
5. Weis RJ. Intellectual disabilities and developmental disorders in children. In: Weis RJ, editor. Introduction to abnormal child and adolescent psychology second edition, California: Sage; 2013:88-126.
6. Ahuja A, Martin J, Langley K, Thapar A. Intellectual disability in children with attention deficit hyperactivity disorder. J Pediatr. 2013;163:890-5.
7. Barnard-Brak L, Rojahn J, Richman DM, Chesnut SR, Wei T. Stereotypic behaviors predicting self- injurious behavior in individual with intellectual disabilities. Research in developmental disabilities. 2015;36:419-27.
8. Sideridis GD, Antoniou F, Padeliadu S. Teacher biases in the identification of learning disabilities: an application of the logistic multilevel domain. Learning disability quarterly. 2008;31:199-209.
9. อภิชัย มงคล, ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน, ปราณี ชาญณรงค์, โชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ, พรทิพย์ วชิรดิลก. สถานการณ์ระดับสติปัญญานักเรียนไทย ปี 2554. [National Intelligence quotient survey of Thai students in 2011]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2555;20:80-9. Thai.
10. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (2555-2559) [The eleventh national economic and social development plan (2012-2016)]. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี. Thai.
11. จันทร์อาภา สุขทัพภ์, อัมพร เบญจพลพิทักษ์, วนิดา ชนินทยุทธวงศ์, ประเสริฐ จุฑา. ระดับสติปัญญานักเรียนไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2559 [Intelligence Quotient (IQ) of Thai students in the first year of Primary school: National survey 2016]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2561;26:161-73. Thai.
12. Raven J, Raven JC, Court JH. Raven manual for Raven’s progressive matrices and vocabulary scales: section 3 General overview. Oxford: Oxford Psychologists press; 2003.
13. ชดาพิมพ์ เผ่าสวัสดิ์, วนิดา ชนินทยุทธวงศ์, ปราณี ต๊ะวิโล, ยุวนา ไขว้พันธ์. แบบสังเกตพฤติกรรมสำหรับเด็กที่มีระดับสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์ ภาวะบกพร่องของทักษะการเรียน โรคสมาธิสั้น และกลุ่มอาการออทิซึม[Development of behavioral observation screening scale for subnormal intelligence, LD, ADHD and autistic spectrum disorder]. วารสารราชานุกูล. 2558;30:1-11. Thai.
14. ภาสุรี แสงศุภวานิช, ศรีเพ็ญ ตันติเวสส, คัคนางค์ โตสงวน, จันทนา พัฒนเภสัช, วรรณนภา เล็กอุทัย, จุฑามาส วิวรโชติกำจร และคณะ. การคัดกรองโรคสมาธิสั้นและความบกพร่องด้านการเรียนในโรงเรียน [School-based screening for attention deficit and hyperactivity disorder (ADHD) and learning disorders (LD)]. นนทบุรี: โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ; 2554. Thai.
15. วินัดดา ปิยะศิลป์, สุธาทิพย์ วังตาล. ความบกพร่องทางการเรียนรู้และโรคที่พบร่วม [Learning disorders and comorbidity]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2558;60:287-96. Thai.
16. Zhou KY, Gao MH, Yang CH, Zhang JN, Chen YZ, Song JZ, et al. [An epidemiological survey of attention deficit hyperactivity disorder in school-age children in Shenzhen]. Zhongguo Dang Dai Er Ke Za Zh. 2012;14: 689-92. Chinese.
17. นิรมล พัจนสุนทร, จินตน สิงขรอาจ, พีรดา อุ่นไพร, วริศรา ศรีสวัสดิ์, ฉันทนา อุดมสิน, อรนุช กิตติศิริวัฒนกุล. ปัญหาการเรียนและพฤติกรรมในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น [Learning and behavioral problems in a demonstration school children, education level 1 (grade 1-3) in KhonKaen province]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2554;56:345-51. Thai.
18. ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน, โชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ, พรทิพย์ วชิรดิลก, พัชรินทร์ อรุณเรือง, ธันวรุจน์ บูรณสุขสกุล. ความชุกโรคสมาธิสั้น [The prevalence of attention deficit/hyperactivity disorder in Thailand]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2556;21:66-75. Thai.
19. Altarac M, Saroha E. Lifetime prevalence of learning disability among US children. Pediatrics. 2007;119 Suppl1:S77-83.
20. Maulik PK, Mascarenhas MN, Mathers CD, Dua T, Saxena S.Prevalence of intellectual disability: a meta-analysis of population-based studies. Res Dev Disabil 2011;32:419-36.
21. McKenzie K, Milton M, Smith G, Ouellette-Kuntz H. Systematic review of the prevalence and Incidence of Intellectual disabilities: current trends and issues. Curr Dev Disord Rep. 2016;3: 104-15.
22. Posserud MB, Lundervold AJ, Gillberg C. Autistic features in a total population of 7-9-year-old children assessed by the ASSQ (Autism Spectrum Screening Questionnaire). J Child Psychol Psychiatry. 2006;47:167-75.
23. ภาพันธ์ วัฒนวิกย์กิจ, นิรมล พัจนสุนทร, สมจิตร์ หร่องบุตรศรี, จินตนา สิงขรอาจ, พีรดา อุ่นไพร. ระดับเชาวน์ปัญญาของผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นกลุ่มโรคออทิสติก ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น [Intelligence Intelligence Quotient of Child and Adolescent Patients with Autistic Disorder in Srinagarind Hospital, KhonKaen]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2560;62:97-106. Thai.
24. Ryland HK, Hysing M, Posserud MB, Gillberg C, Lundervold AJ. Autistic features in school age children: IQ and gender effects in a population-based cohort. Research in Autism Spectrum Disorders. 2014;8:266-74.
25. Mouga S, Café C, Almeida J, Marques C, Duque F, Oliveira G. Intellectual Profiles in the Autism Spectrum and Other Neurodevelopmental Disorders. J Autism Dev Disord. 2016;46:2940-55.
26. CharmanT, Pickles A, Simonoff E, Chandler S, Loucas T, Baird G. IQ in children with autism spectrum disorders: data from the Special Needs and Autism Project (SNAP). Psychol Med. 2011;41:619-27.
27. Fung LK, Mahajan R, Nozzolillo A, Bernal P, Krasner A, Jo B, et al. Pharmacologic Treatment of Severe Irritability and Problem Behaviors in Autism: A Systematic Review and Meta-analysis. Pediatrics. 2016;137 suppl2:S124-35.
28. Rudy LJ. What makes severe autism so challenging? severe autism isn't an official diagnosis, but has unique challenges. [Internet]. [Updated 2018 Nov 11; cited 2018 Dec 5] Available from: https://www.verywellhealth.com/what-is-severe-autism-260044#
29. Najafi M, Akouchekian S, Ghaderi A, Mahaki B, Rezaei M. Multiple intelligences profiles of children with attention deficit and hyperactivity disorder in comparison with non-attention deficit and hyperactivity disorder. Adv Biomed Res. 2017;6:148.
30. M. Jepsen JR, Fagerlund B, Mortensen EL. Do attention deficits Influence IQ assessment in children and adolescents with ADHD?. J of Att Dis. 2009;12:551-62.
31. Kuntsi J, Eley TC, Taylor A, Hughes C, Asherson P, Caspi A, et al. Co-occurrence of ADHD and low IQ has genetic origins. Am J of Med Genet B Neuropsychiatr Genet. 2004;124B:41-7.
32. Rohrer-Baumgartner N, Zeiner P, Egeland J, Gustavson K, Skogan AH, Reichborn-KjennerudT, Aase H. Does IQ influence associations between ADHD symptoms and other cognitive functions in young preschoolers?. Behav Brain Funct. 2014;10:16.
33. Kuntsi J, Eley TC, Taylor A, Hughes C, Asherson P, Caspi A, et al. Co-occurrence of ADHD and low IQ has genetic origins. Am J Med Genet. 2004;124B:41-7.
34. Ahuja A, Martin J, Langley K, Thapar A. Intellectual Disability in Children with Attention Deficit Hyperactivity Disorder. J Pediatr. 2013;163:890-5.
35. Vaida N, Mattoo NH, Madhosh AG. Intelligence among attention deficit hyperactivity disordered (ADHD) children (Aged 5-9). J Psychology. 2017;4:9-12.
36. Deutsch CK, Dube WV, McIlvane WJ. Attention deficits, attention – deficit hyperactivity disorder, and intellectual disabilities. Dev Disabil Res Rev. 2008;14:285-92.
37. Jiménez JE, Siegel LS, López MR. The relationship between IQ and reading disabilities in English-speaking Canadian and Spanish children. J Learn Disabil. 2003;36:15-23.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- ผู้อ่านสามารถนำข้อความ ข้อมูล จากวารสารไปใช้ไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ เช่น เพื่อการสอน เพื่อการอ้างอิง แต่การนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น เพื่อการค้า จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกรมสุขภาพจิตก่อน
- ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทยเป็นของผู้เขียนบทความและมิได้แสดงว่ากองบรรณาธิการหรือกรมสุขภาพจิตเห็นพ้องด้วย