การพัฒนาโปรแกรมบำบัดโดยการแก้ไขปัญหาในผู้ป่วยจิตเวชที่มีความคิดและพฤติกรรมฆ่าตัวตาย

ผู้แต่ง

  • อัครเดช กลิ่นพิบูลย์, ปรด. โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์
  • อรพิน ยอดกลาง, พย.ม. โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์
  • วิภาดา คณะไชย, พย.บ. โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์
  • จารุนันท์ คําชมภู, พย.ม. โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์
  • สาคร บุปผาเฮ้า, พย.บ. โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์

คำสำคัญ:

การบำบัดโดยการแก้ปัญหา, ความคิดฆ่าตัวตาย, พฤติกรรมฆ่าตัวตาย, ผู้ป่วยจิตเวช

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิผลโปรแกรมบำบัดโดยการแก้ไขปัญหาในผู้ป่วยจิตเวชที่มีความคิดและพฤติกรรมฆ่าตัวตาย (problem-solving therapy program for psychiatric patients with suicidal ideations and behaviors: PST-PPS)

วิธีการ: ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็นสองระยะ ได้แก่ ระยะพัฒนาโปรแกรม และระยะทดสอบประสิทธิผลโปรแกรมในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยจิตเวชที่มารับบริการผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ที่มีความคิดและพฤติกรรมฆ่าตัวตายแบบกลุ่มเดียวจำนวน 34 คน วัดผลก่อนและหลังทดลองทันทีและติดตามผล 1 และ 3 เดือน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ ต้นแบบโปรแกรม PST-PPS แบบประเมินทักษะการแก้ปัญหา แบบประเมินระดับความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (repeated measure ANOVA)

ผล: โปรแกรม PST-PSS เป็นการบำบัดรายบุคคล มีเป้าหมายหลักเพื่อเพิ่มทักษะการแก้ปัญหาและลดความคิดและพฤติกรรมการฆ่าตัวตาย พบว่าสามารถเพิ่มทักษะการแก้ปัญหา และลดความคิดและพฤติกรรมฆ่าตัวตายหลังสิ้นสุดการบำบัด และหลังติดตาม 1 และ 3 เดือน ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยคะแนนเฉลี่ยทักษะการแก้ปัญหาสูงขึ้นกว่าก่อนบำบัดจาก 52.91 (95% CI=51.63-54.19)  เป็น 60.88 (95% CI=60.26-61.50), 62.29 (95% CI=61.54-63.04) และ 62.58 (95% CI=61.84-63.32) ตามลำดับ และคะแนนเฉลี่ยระดับความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายลดลงกว่าก่อนบำบัดจาก 19.11 (95% CI=15.51-22.72) เป็น 4.88 (95% CI=2.37-7.39), 2.55 (95% CI=1.71-3.40) และ 2.44 (95% CI=1.59-3.29) ตามลำดับ

สรุป: โปรแกรม PST-PPS เหมาะสมในการใช้บำบัดผู้ป่วยจิตเวชที่มีความคิดและพฤติกรรมฆ่าตัวตาย สามารถเพิ่มทักษะการแก้ปัญหาและลดความคิดและพฤติกรรมฆ่าตัวตายได้และคงทนอยู่ จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการป้องกันการฆ่าตัวตายสำหรับการจัดบริการจิตเวชแบบผู้ป่วยนอก

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

อัครเดช กลิ่นพิบูลย์, ปรด., โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์

รองผู้อำนวยการและหัวหน้ากลุ่มภารกิจการพยาบาล โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต

References

1. World Health Organization. Suicide data [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2018 [cited 2018 May 18]. Available from: http://www.who.int/mental_health/ prevention /suicide/suicideprevent/en

2. World Health Organization. Suicide data. [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2016 [cited 2018 Oct 15]. Available from: http://www.who.int/mental_health/prevention/ suicide/suicideprevent/en

3. Hawton, Saunders & O'Connor. Self-harm and suicide in adolescents. Lancet. 2012;379: 2373-82. doi:10.1016/S0140-6736(12)60322-5.

4. Sharifi V, Eaton WW, Wu LT, Roth KB, Burchett BM, Mojtabai R. Psychotic experiences and risk of death in the general population: 24-27 years follow-up of the Epidemiologic Catchment Area study. Br J Psychiatry. 2015;207:30–6. doi:10.1192/bjp.bp.113.143198.

5. Borges G, Benjet C, Orozco R, Medina-Mora ME, Menendez D. Alcohol, cannabis and other drugs and subsequent suicide ideation and attempt among young Mexicans. J Psychiatr Res. 2017;91:74–82. doi:10.1016/j.jpsychires.2017.02.025.

6. Moreira CA, Marinho M, Oliveira J, Sobreira G, Aleixo A. Suicide attempts and alcohol use disorder. European Psychiatry, 2015;30:521. doi:10.1016/S0924-9338(15)30409-0.

7. วินัย รอบคอบ, สมบัติ สกุลพรรณ์, หรรษา เศรษฐบุปผา. ภาวะซึมเศร้า พฤติกรรมการดื่มสุราและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายของวัยรุ่น [Depression, alcohol drinking behaviors, and suicidal risks of adolescents]. พยาบาลสาร. 2561;45:144-158.

8. กรมสุขภาพจิต. รายงานจำนวนการฆ่าตัวตายของประเทศไทย 2560 [GIS Report 2560] [อินเทอรเน็ต]. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2562 [สืบค้นเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2561]. จาก: https://dmh.go.th/report/map/.

9. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ภาวะสังคมไทยไตรมาสสองปี 2560 [Social situation and outlook 2560] [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2561] จาก: https://social.nesdc.go.th/social/Portals/0/Documents/รายงานภาวะสังคม%20Q2-2560_final_243.pdf

10. โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์. รายงานประจำปี 2561 โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์. [Annual Report JVKK 2561]. ขอนแก่น: โรงพยาบาล; 2561.

11. Donker T, Calear A, Grant JB, Spijker B van, Fenton K, Hehir KK, et al. Suicide prevention in schizophrenia spectrum disorders and psychosis: a systematic review. BMC Psychol. 2013;1:6. doi:10.1186/2050-7283-1-6.

12. National Registry of Evidence‐Based Programs and Practices: NREPP. Problem-Solving Therapy (PST). Massachusetts: Suicide Prevention Resource Center; 2018 [cited 2018 Oct 15]. Available from: http://impact-uw.org/training/.

13. Brown GK, Jager-Hyman S. Evidence-based psychotherapies for suicide prevention: future directions. Am J Prev Med. 2014;47(3 Suppl 2):S186-94. doi:10.1016/j.amepre.2014.06.008.

14. Beaudreau SA, Gould CE, Sakai E, Huh JWT. Problem-Solving Therapy. In: Pachana N. (eds) Encyclopedia of Geropsychology. Singapore: Springer. 2015.

15. Gask L. Problem-solving treatment for anxiety and depression: a practical guide. The British Journal of Psychiatry, 2006;189:287-8.

16. กิตติยา วงษ์ขันธ์. รูปแบบการวิจัยเชิงนวัตกรรม (R&D, D&D, AR, R2R) โครงการฝึกอบรม “สร้างนักวิจัยรุ่น” (ลูกไก่) รุ่นที่ 5 ปี 2560 [Innovative research patterns] [อินเทอรเน็ต]. อุบลราชธานี: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี; 2560 [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2561]. จาก: http://www.ubu.ac.th/web/files_up/08f2017060214303228.pdf

17. D'Zurilla TJ, Nezu AM. Problem-solving therapy. In K.S. Dobson (Ed.), Handbook of cognitive-behavioral therapies. New York: Guilford Press; 2010. p. 197-225.

18. ดาราวรรณ ต๊ะปินตา, สมบัติ สกุลพรรณ์, สุวิท อินทอง. ผลของโปรแกรมการบำบัดด้วยการแก้ปัญหาต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง [Effect of problem solving therapy program on depression among chronically ill patients]. เชียงใหม่: สำนักงานคณะพยาบาลศาสตร์; 2556.

19. สุวดี ศรีวิเศษ, วัชนี หัตถพนม, สายชล ยุบลพันธ์, สโรชา บางแสง, อิงคฏา โคตรนารา. กลุ่มบำบัดโดยการแก้ปัญหาในผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย [Problem solving therapy group in patients with depressive symptoms and suicidal risk]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2556;21:98-109.

20. พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, มธุริน คำวงค์ปิน. ความตรงของเครื่องมือวินิจฉัยโรคทางจิตเวช Mini International Neuropsychiatric Interview (M.I.N.I.) ฉบับภาษาไทย [The Validity of the Mini International Neuropsychiatric Interview (M.I.N.I.) - Thai Version]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2548:13;125-35.

21. Ajtay G, Bérdi M, Szilágyi S, Perczel FD. An effective method of therapy in suicide prevention: problem solving training in the clinical population. Psychiatr Hung. 2012;27:92-102.

22. Wenzel A, Gregory KB, Beck AT. Cognitive therapy for suicidal patients: scientific and clinical applications. Washington DC: American Psychological Association; 2009 [cited 2018 Oct 15]. Available from: https://psycnet.apa.org/PsycBOOKS/toc/11862

23. Gustavson KA, Alexopoulos GS, Niu GC, McCulloch C, Meade T, Areán PA. Problem-solving therapy reduces suicidal ideation in depressed older adults with executive dysfunction. Am J Geriatr Psychiatry. 2016;24:11-17. doi:10.1016/j.jagp.2015.07.010.

24. Eskin Me, Ertekin K. Demir H. Efficacy of a problem-solving therapy for depression and suicide potential in adolescents and young adults. Cognitive Therapy and Research. 2008;32:227-45.

25. Choi NG, Marti CN, Conwell Y. Effect of problem-solving therapy on depressed low-income homebound older adults' death/suicidal ideation and hopelessness. Suicide Life Threat Behav. 2016;46:323-36. doi:10.1111/sltb.12195.

26. Gibbs LM, Dombrovski AY, Morse J, Siegle GJ, Houck PR, Szanto K. When the solution is part of the problem: problem solving in elderly suicide attempters. Int J Geriatr Psychiatry. 2009;24:1396-404. doi:10.1002/gps.2276.

27. Crabb RM, Areán, PA. Problem-solving treatment for late-life depression. In P.A. Areán (Ed.), Treatment of late-life depression, anxiety, and substance abuse. Washington DC: American Psychological Association; 2015. p. 83–102.

28. D’Zurilla TJ, Nezu AM. Problem-solving therapy: a positive approach to clinical intervention. New York: Springer Publishing Company; 2007.

29. Kiosses DN, Alexopoulos GS. Problem solving therapy in the elderly. Curr Treat Options Psychiatry. 2014;1:15-26. doi:10.1007/s40501-013-0003-0.

30. Barnes SM, Monteith LL, Gerard GR, Hoffberg AS, Homaifar BY, Brenner LA. Problem-solving therapy for suicide prevention in veterans with moderate-to-severe traumatic brain injury. Rehabilitation psychology. 2017;62:600-8. doi:10.1037/rep0000154.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-02-05

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ