การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพในครอบครัวและภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น

ผู้แต่ง

  • ศุทรา เอื้ออภิสิทธิ์วงศ์, พ.บ., วท.ม. สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์

คำสำคัญ:

วัยรุ่น, ซึมเศร้า, สัมพันธภาพในครอบครัว

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยด้านสัมพันธภาพในครอบครัวที่เกี่ยวข้องต่อการเกิด หรือการคงอยู่ของโรคซึมเศร้าในกลุ่มวัยรุ่นซึมเศร้าเปรียบเทียบกับวัยรุ่นทั่วไป

วิธีการ: เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ในวัยรุ่นอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 70 คน แบ่งเป็นกลุ่มศึกษาคือ วัยรุ่นซึมเศร้าที่เข้ารับการรักษาที่สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ และกลุ่มเปรียบเทียบคือ วัยรุ่นระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร กลุ่มละ 35 คน ใช้แบบประเมินภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น (PHQ-A) และแบบสำรวจสัมพันธภาพครอบครัวไทย เพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างของครอบครัว และเปรียบเทียบปัจจัยด้านสัมพันธภาพในครอบครัวระหว่างวัยรุ่นสองกลุ่ม

ผล: วัยรุ่นซึมเศร้า และวัยรุ่นทั่วไป อายุเฉลี่ย 16.4 ± 1.09 ปี และ 16.8 ± 1.15 ปี ตามลำดับ มีค่าเฉลี่ยของอายุและสัดส่วนของเพศชายและหญิงไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ครอบครัวของวัยรุ่นทั้งสองกลุ่มมีโครงสร้างคล้ายคลึงกันคือ อยู่กับทั้งพ่อและแม่ พ่อแม่อยู่ในสถานภาพสมรส คะแนนแบบสำรวจสัมพันธภาพครอบครัวไทยในกลุ่มวัยรุ่นซึมเศร้ามีคะแนนต่ำกว่ากลุ่มวัยรุ่นทั่วไปทั้งคะแนนรวมและคะแนนแยกรายด้านในทุกด้าน ด้านที่วัยรุ่นซึมเศร้ามีคะแนนต่ำกว่าวัยรุ่นทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือด้านการทำกิจกรรมร่วมกัน ค่าเฉลี่ยคะแนนของกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบ คือ 7.77 ± 0.55 และ 9.29 ± 0.51 (p-value = 0.047) ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ปกครองของวัยรุ่นซึมเศร้าที่มารักษามีสัดส่วนของระดับการศึกษาที่สูงกว่าผู้ปกครองของวัยรุ่นทั่วไป

สรุป: วัยรุ่นซึมเศร้ามีสัมพันธภาพในครอบครัวต่ำกว่าวัยรุ่นทั่วไป ในด้านการทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว โดยปัจจัยด้านโครงสร้างครอบครัวและสถานภาพสมรสของพ่อแม่ไม่แตกต่างกันระหว่างวัยรุ่นสองกลุ่ม

Downloads

Download data is not yet available.

References

Scott J, Dickey B. Global burden of depression: the intersection of culture and medicine. Brit J Psychiatry. 2003;183:92–4. doi:10.1192/bjp.183.2.92.

สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. การสูญเสียปีสุขภาวะ Disability-Adjusted Life Years: DALYs: รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2557 [the national burden of diseases and injuries among the Thai population in 2014]. นนทบุรี: สำนักงาน; 2560 [สืบค้นเมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2562]. จาก: https://dol.thaihealth.or.th/Media/Pdfview/2b73be3a-d98b-e711-80e3-00155d65ec2e

พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, นพพร ตันติรังสี, วรวรรณ จุฑา, อธิป ตันอารีย์, ปทานนท์ ขวัญสนิท, สาวิตรี อัษณางค์กรชัย. ความชุกของโรคจิตเวชและปัญหาสุขภาพจิตของคนไทย: การสำรวจ ระบาดวิทยาสุขภาพจิตระดับชาติ ปี พ.ศ. 2556 [Prevalence of mental disorders and mental health problems: Thai National Mental Health Survey 2013]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2560;25:1-19. จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/129426

ศุภรัตน์ เอกอัศวิน, จอมสุรางค์ โพธิสัตย์, รสสุคนธ์ ชมชื่น. ความชุกของโรคจิตเวชในนักเรียนไทยอายุ 13-17 ปี [The prevalence of psychiatric disorders in Thai students aged 13-17 years]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2016;26:141-53. จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/79460/63495

UNICEF Thailand. A Situation Analysis of Adolescents in Thailand 2015-2016 [Internet]. Bangkok: UNICEF Thailand Country Office; 2018. [cited 2019 Nov 5]. Available from: https://www.unicef.org/thailand/reports/situation-analysis-adolescents-thailand-2015-2016.

Birmaher B, Brent D, Bernet W, Bukstein O, Walter H, Benson RS, et al. Practice parameter for the assessment and treatment of children and adolescents with depressive disorders. J Am Acad Child Adolesc Psychiatry. 2007;46:1503-26. doi:10.1097/chi.0b013e318145ae1c.

ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์. แนวทางการดูแลวัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้า [Clinical practice guideline for adolescents with depression]. กรุงเทพฯ: สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต; 2560.

ณิชาภัทร รุจิรดาพร. ภาวะซึมเศร้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ในเขตกรุงเทพมหานคร [Depression in senior high school students of office of the basic education commission, Ministry of Education in Bangkok Metropolis] [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.

แก้วตา ลีลาตระการกุล. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้าและการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จังหวัดอุบลราชธานี [The correlation between depression and family functioning in seventh grade students in Ubonratchathani province] [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.

Lue BH, Wu WC, Yen LL. Expressed emotion and its relationship to adolescent depression and antisocial behavior in northern Taiwan. J Formos Med Assoc. 2010; 109:128-37. doi:10.1016/S0929-6646(10)60033-2.

Rabinowitz JA, Osigwe I, Drabick DAG, Reynolds MD. Negative emotional reactivity moderates the relations between family cohesion and internalizing and externalizing symptoms in adolescence. J Adolesc. 2016; 53:116-

doi:10.1016/j.adolescence.2016.09.007.

Schwartz OS, Sheeber LB, Dudgeon P, Allen NB. Emotion socialization within the family environment and adolescent depression. Clin Psychol Rev. 2012;32:447-53. doi:10.1016/j.cpr.2012.05.002.

Schwartz OS, Dudgeon P, Sheeber LB, Yap MB, Simmons JG, Allen NB. Parental behaviors during family interactions predict changes in depression and anxiety symptoms during adolescence. J Abnorm Child Psychol. 2012;40:59-71. doi:10.1007/s10802-011-9542-2.

พรรณี ภานุวัฒน์สุข, อัมรากุล อินโอชานนท์, กาญจนา วณิชรมณีย์, ชิดชนก โอภาสวัฒนา, ธัญลักษณ์ แก้วเมือง. การพัฒนาแบบสำรวจสัมพันธภาพครอบครัวไทย [Development of the family’s relationship questionnaire among Thai family]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2554; 19:103-14. จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/980

วิมลวรรณ ปัญญาว่อง, โชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ, รัตนศักดิ์ สันติธาดากุล. รายงานการวิจัย เรื่องการพัฒนาแบบประเมินภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นฉบับภาษาไทย [Development of the Thai version of the Patient Health Questionnaire for Adolescents (PHQ-A)]. กรุงเทพฯ: บียอนด์ พับลิชชิ่ง; 2561.

Restifo K, Bögels S. Family processes in the development of youth depression: translating the evidence to treatment. Clin Psychol Rev. 2009;29:294-316. doi:10.1016/j.cpr.2009.02.005.

Yap MB, Pilkington PD, Ryan SM, Kelly CM, Jorm AF. Parenting strategies for reducing the risk of adolescent depression and anxiety disorders: a Delphi consensus study. J Affect Disord. 2014;156:67-75. doi:10.1016/j.jad.2013.11.017.

อุมาพร ตรังคสมบัติ. จิตบำบัด และการให้คำปรึกษาครอบครัว [Family therapy and family counseling]. กรุงเทพฯ: ซันต้า การพิมพ์; 2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-20

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ