ความชุกของโรคจิตเวชและปัญหาสุขภาพจิต: การสำรวจระบาดวิทยาสุขภาพจิตของคนไทยระดับชาติ ปี พ.ศ.๒๕๕๖
คำสำคัญ:
ความชุก, ระบาดวิทยา, โรคจิตเวช, สุขภาพจิต, สารเสพติดบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอความชุกชั่วชีวิตและความชุก 12 เดือนของโรคจิตเวชและปัญหาสุขภาพจิตที่สำคัญในคนไทยและการเข้าถึงบริการ
วัสดุวิธีการ เป็นการสำรวจภาคตัดขวางในประชากรไทยอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยในครัวเรือนส่วนบุคคลทั่วประเทศ สุ่มตัวอย่าง 4 ชั้นภูมิโดยไม่สุ่มทดแทน ด้วยเครื่องมือ World Mental Health - Composite International Diagnostic Interview version 3.0 (WMH-CIDI 3.0) ฉบับภาษาไทย ระหว่างเดือนตุลาคมถึงธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ อัตราตอบรับร้อยละ 74.3 ได้ตัวแทน 4,727 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าประมาณสัดส่วนโดยการคำนวณค่าถ่วงน้ำหนัก รายงานค่าความชุกเป็นร้อยละ, standard error (SE) และ chi-square
ผล ความชุกชั่วชีวิตและความชุก 12 เดือนของโรคจิตเวชหรือความผิดปกติของพฤติกรรมเสพติดสารใดๆ พบร้อยละ 30.8 และร้อยละ 13.4 ตามลำดับ โดยพบความชุกความผิดปกติของพฤติกรรมดื่มสุราสูงที่สุดทั้งความชุกชั่วชีวิต (ร้อยละ 18.0) และความชุก 12 เดือน (ร้อยละ 5.3) ส่วนกลุ่มโรควิตกกังวล กลุ่มความผิดปกติของการควบคุมพฤติกรรมตัวเอง และกลุ่มโรคความผิดปกติทางอารมณ์พบความชุก 12 เดือนร้อยละ 1.6, 1.3 และ 0.7 ตามลำดับ ในผู้ที่มีโรคจิตเวชหรือความผิดปกติของพฤติกรรมเสพติดสารใดๆ เข้าถึงบริการด้วยปัญหาสุขภาพจิตใน 12 เดือนที่ผ่านมาร้อยละ 11.5 เป็นบริการโดยบุคลากรสุขภาพเพียงร้อยละ 3.7 ผู้มีความผิดปกติของพฤติกรรมเสพสารเสพติดเข้าถึงบริการสูงที่สุด (ร้อยละ 24.5) และผู้มีความผิดปกติของพฤติกรรมดื่มสุราเข้าถึงบริการน้อยที่สุด (ร้อยละ 6.6)
สรุป ปัญหาสุขภาพจิต โรคจิตเวช และความผิดปกติพฤติกรรมดื่มสุราและเสพสารเสพติดมีความชุกสูง อีกทั้งอัตราการเข้าถึงบริการยังต่ำ ควรจะมีการกำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนางานบริการสุขภาพจิตอย่างเร่งด่วน
Downloads
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- ผู้อ่านสามารถนำข้อความ ข้อมูล จากวารสารไปใช้ไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ เช่น เพื่อการสอน เพื่อการอ้างอิง แต่การนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น เพื่อการค้า จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกรมสุขภาพจิตก่อน
- ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทยเป็นของผู้เขียนบทความและมิได้แสดงว่ากองบรรณาธิการหรือกรมสุขภาพจิตเห็นพ้องด้วย