การศึกษาความเป็นไปได้ของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกในการดูแลวัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้าในชุมชน: การศึกษานำร่อง
คำสำคัญ:
ซึมเศร้า, แนวปฏิบัติทางคลินิก, วัยรุ่นบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการนำแนวปฏิบัติทางคลินิกในการดูแลวัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้ามาใช้ในชุมชนระดับอำเภอ และศึกษาปัจจัยเกี่ยวข้องในการนำไปใช้ในระบบสาธารณสุขของพื้นที่นำร่องอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร
วิธีการ: เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน เลือกพื้นที่การศึกษาแบบเฉพาะเจาะจง และกลุ่มเป้าหมายยินดีเข้าร่วมการวิจัยดำเนินการอบรมแนวปฏิบัติทางคลินิกในการดูแลวัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้า ร่วมกับประชุมระดมสมองบุคลากรกลุ่มเป้าหมายและนำไปใช้เป็นเวลา 6 เดือน เก็บข้อมูลผลการทดลองใช้ด้วยการตอบแบบสอบถาม การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม โดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสรุปอุปนัยจากการบันทึกร่วมกับเสนอข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนา
ผล: กลุ่มอาสาสมัครทั้งหมด 47 คน เป็นบุคลากรทางการศึกษาของสถานศึกษาในอำเภอ และบุคลากรสาธารณสุขของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและโรงพยาบาลชุมชน ที่ได้ทดลองนำแนวปฏิบัติฯ นี้ไปใช้ตามขั้นตอนการดูแลวัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้าในระดับโรงเรียนจนถึงโรงพยาบาลชุมชน พบปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการนำไปขยายผลเชิงระบบคือ บุคลากรที่เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญของการคัดกรอง สังเกตเด็ก การทำงานเชื่อมประสานระหว่างหน่วยงานในพื้นที่ และการประยุกต์ระบบและองค์ความรู้เข้ากับระบบเดิมที่มีอยู่
สรุป: แนวปฏิบัติทางคลินิกในการดูแลวัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้า สามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้จริงในชุมชน แต่อาจต้องมีการปรับเนื้อหาหรือขั้นตอนเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทระบบในแต่ละพื้นที่
Downloads
References
2. Murray CL, Lopez AD. The global burden of disease: a comprehensive assessment of mortality and disability from diseases, injuries, and risk factors in 1990 and projected to 2020. Cambridge; Harvard University Press; 1996.
3. สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2554 [Thailand burden of diseases attributable to risk factors 2011]. นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์สงเคราะห์องค์การทหารผ่านศึก; 2557.
4. Birmaher B, Ryan ND, Williamson DE. Childhood and adolescent depression: a review of past ten years. Part I. J Am Acad Child Adolesc Psychiatry. 1996;35:1427-39.
5. Pataki CS. Mood disorders and suicide in children and adolescents. In: Kaplan HI, Sadock BJ, editors. Comprehensive Textbook of Psychiatry, 7th ed. Baltimore: Williams & Wilkins; 2000:2740-57.
6. Ruangkanchanasetr S, Plitponkarnpim A, Hetrakul P, Kongsakon R. Youth risk behavior survey: Bangkok, Thailand. J adolesc Health. 2005;36:227-35.
7. ศุภรัตน์ เอกอัศวิน, จอมสุรางค์ โพธิสัตย์, รสสุคนธ์ ชมชื่น. ความชุกของโรคจิตเวชในนักเรียนไทยอายุ 13-17 ปี [The prevalence of psychiatric disorders in Thai students aged 13-17 year]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2559;24:141-53.
8. ปราโมทย์ สุคนิชย์. โรคซึมเศร้าในเด็กและวัยรุ่น [Depression in children and adolescents]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2540;42:35-49.
9. Windfuhr K, While D, Hunt I, Turnbull P, Lowe R, Burns J, et al. Suicide in juveniles and adolescents in the United Kingdom. J Child Psychol Psychiatry. 2008 Nov;49:1155-65. doi:10.1111/j.1469-7610.
10. Black dogs institute. Prevention of depression and anxiety in Australian schools. New South Wales: Black dogs institute; 2016.
11. ฐิตวี แก้วพรสวรรค์, เบญจพร ตันตสูติ. การศึกษาความชุกของภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในกรุงเทพมหานคร [The prevalence of depression in 2nd years high school students in Bangkok]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2555;57:395-402.
12. ชัยพร วิศิษฎ์พงศ์อารีย์, วรุณา กลกิจโกวินท์, พิสาส์น เตชะเกษม. ภาวะซึมเศร้าของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร [Depression in primary school student in Dusit District, Bangkok]. วชิรเวชสาร. 2557;58:43-53.
13. ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย, ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย, สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์. แนวทางการดูแลวัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้า [Clinical Practice Guideline for adolescents with depression]. กรุงเทพ: บริษัท บียอนด์ พับลิสชิ่ง จำกัด; 2561.
14. Joan G, Pedro G, Jordi C, Emilia S, Carme C, Liliana A, et al. The use of clinical practice guideline in primary care: professional mindlines and control mechanisms. Gac Sanit. 2016;30:345-51.
15. Harvey G, Fitzgerald L, Fielden S, McBride A, Waterman H, Bamford D, et al. The NIHR collaboration for leadership in applied health research and care (CLAHRC) for Greater Manchester: combining empirical, theoretical and experiential evidence to design and evaluate a large scale implementation strategy. Implementation science. 2011;6:96.
16. Slaughter SE, Hill JN, Snelgrove-Clarke E. What is the extent and quality of documentation and reporting of fidelity to implementation strategies; a scoping review. Implement Sci. 2015;10:129. doi:10.1186/s13012-015-0320-3.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- ผู้อ่านสามารถนำข้อความ ข้อมูล จากวารสารไปใช้ไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ เช่น เพื่อการสอน เพื่อการอ้างอิง แต่การนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น เพื่อการค้า จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกรมสุขภาพจิตก่อน
- ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทยเป็นของผู้เขียนบทความและมิได้แสดงว่ากองบรรณาธิการหรือกรมสุขภาพจิตเห็นพ้องด้วย