การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันความแข็งแกร่งในชีวิตของนิสิตพยาบาล มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ลัดดา แสนสีหา, ปร.ด. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน, ความแข็งแกร่งในชีวิต, นิสิตพยาบาล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความแข็งแกร่งในชีวิต วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันความแข็งแกร่งในชีวิต และประเมินความถูกต้องเชิงโครงสร้างของโมเดลโครงสร้างองค์ประกอบความแข็งแกร่งในชีวิตของนิสิตพยาบาลระดับปริญญาตรี

วิธีการ: กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตพยาบาล มหาวิทยาลัยมหาสารคามชั้นปีที่ 1-4  จำนวน 360 คน (ร้อยละ 94.7) เครื่องมือที่ใช้คือ แบบประเมินความแข็งแกร่งในชีวิตประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ จำนวน 28 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ

ผล: กลุ่มตัวอย่างมีค่าคะแนนเฉลี่ยความแข็งแกร่งในชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับสูง (4.22) และพบว่าอยู่ในระดับสูงทั้งสามด้าน โดยค่าคะแนนเฉลี่ยความแข็งแกร่งในชีวิตด้านฉันมี (I have) สูงที่สุด (4.32) รองลงมาคือ ความแข็งแกร่งในชีวิตด้านฉันเป็นคนที่ (I am) (4.21) และความแข็งแกร่งในชีวิตด้านฉันสามารถที่จะ (I can) (4.11) ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันความแข็งแกร่งในชีวิตของกลุ่มตัวอย่าง พบว่าประกอบด้วยสามองค์ประกอบ ได้แก่ ด้านฉันมี (I have) ด้านฉันเป็นคนที่ (I am) และด้านฉันสามารถที่จะ (I can) มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเป็นบวก มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเป็น 1.00 ทุกด้าน และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกค่า  โมเดลมีความตรงเชิงโครงสร้าง มีดัชนีวัดระดับความกลมกลืนระหว่างโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์  ได้ค่าไคสแควร์เท่ากับ 242.16 ที่องศาอิสระ (df) 258 p=0.75; ค่า GFI =0.95; CFI =1.00; AGFI = 0.93; SRMR=0.026; RMSEA = 0.00 

สรุป: กลุ่มตัวอย่างมีความแข็งแกร่งในชีวิตอยู่ในระดับสูง และองค์ประกอบความแข็งแกร่งในชีวิตสอดคล้องกับกรอบแนวคิดความแข็งแกร่งในชีวิต (resilience) ที่มีสามองค์ประกอบหลัก คือ ฉันมี (I have) ฉันเป็นคนที่ (I am) และฉันสามารถที่จะ (I can)

Downloads

Download data is not yet available.

References

1. พัชรินทร์ นินทจันทร์, ทัศนา ทวีคูณ, จริยา วิยะศุภร, พิสมัย อรทัย. ความแข็งแกร่งในชีวิตและความเครียดของนักศึกษาพยาบาลโรงพยาบาลรามาธิบดี [Resilience and stress among nursing students at Ramathibodi School of Nursing]. วารสารพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2554;25:1-13. Thai.

2. Grotberg EH. The International resilience project: Findings from the research and the effectiveness of interventions. [internet]. 1997 [cited 2009 Sep 15] Available from: https://resilnet.uiuc.edu/library/grotb97a.html

3. Grotberg EH. Tapping your inner strength: how to find the resilience to deal with anything. Oakland CA: New Harbinger; 1999.

4. พัชรินทร์ นินทจันทร์, โสภิณ แสงอ่อน, จริยา วิทยะศุภร. ความแข็งแกร่งในชีวิตเหตุการณ์ที่สร้างความยุ่งยากใจและสุขภาพจิตของนักศึกษามหาวิทยาลัย [Resilience, the negative events, and mental health among university students]. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. 2556;7(2):12-26. Thai.

5. เครือวัลย์ ศรียารัตน์, วีณา เจี๊ยบนา. ความสัมพันธ์ระหว่างพลังสุขภาพจิตกับการรับรู้ความสามารถของตนเองและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย [Relationships between resilience quotient (RQ) and perceived self–efficacy and academic achievement in psychiatric nursing practicum course of senior nursing] วารสารพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2558;29:76-92. Thai.

6. ทัศนา ทวีคูณ, พัชรินทร์ นินทจันทร์, โสภิณ แสงอ่อน. ปัจจัยทำนายความเครียดของนักศึกษาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต [Factors predicting stress in graduate nursing students]. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2555;22(3):1-11. Thai.

7. พัชรินทร์ นินทจันทร์, โสภิณ แสงอ่อน, ทัศนา ทวีคูณ. การพัฒนาแบบประเมินความแข็งแกร่งในชีวิต. [A development of the Resilience Inventory] [รายงานวิจัย]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โครงการพัฒนาศักยภาพประชากรไทย; 2553. Thai.

8. พัชรินทร์ นินทจันทร์, โสภิณ แสงอ่อน, จริยา วิทยะศุภร. ความแข็งแกร่งในชีวิต เหตุการณ์ที่สร้างความยุ่งยากใจและสุขภาพจิตของนักศึกษามหาวิทยาลัย [Resilience, the negative events, and mental health among university students]. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. 2556;7(2):12-26. Thai.

9. Grotberg EH. The international resilience project: finding from the research and the effectiveness of intervention. [Internet]. 2019 [cited 2019 Jan 10]. Available from: https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED419584.pdf

10. พัชรินทร์ นินทจันทร์, พิศสมัย อรทัย, พูลสุข เจนพานิชย์ วิสุทธิพันธ์. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างเหตุการณ์ที่สร้างความยุ่งยากใจ บรรยากาศในครอบครัว ความแข็งแกร่งในชีวิต และสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาล [A casual model of the negative events, family atmosphere, resilience, and mental health of nursing students]. รามาธิบดีสาร. 2557;20:401-14. Thai.

11. Chow H PH. Psychological well-being and scholastic achievement among university students in Canadian Prairie city. Social psychological of education. 2007;10:483-93.

12. O’Brien TC, Lemery-Chalfant K. Resilience and mental health across generations: parents and adolescents. Arizona: The resilience solutions group; 2010.

13. รุ่งทิพย์ โพธ์ชุม. ต้นเหตุความเครียด ระดับความเครียด และวิธีเผชิญความเครียดในนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล [Causes of stress, level of stress, and coping strategies in nursing student Faculty of Nursing at Mahidol University] [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2544. Thai.

14. ปวิดา โพธิ์ทอง, สพัฒนา พุ่มพวง, สุนทรี ขะชาตย์. ความเครียด การปรับตัว และความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี [Stress, adaptation, and emotional intelligence among the first year nursing students, Boromarajonani College of Nursing, Suphanburi]. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 2554;22(2):1-14. Thai.

15. พรทิพย์ วชิรดิลก. ปัจจัยทำนายความสามารถในการยืนหยัดเผชิญวิกฤตของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต [Predictive factors of resilience quotient of nursing students in Suandusit Rajabhat University]. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2557;28(2):17-31.Thai.

16. เพ็ญประภา ปริญญาพล. ความยืดหยุ่นและทนทานของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี [Resilience of university students of Prince Songkha University, Pattani campus]. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 2550:13;137-53. Thai.

17. ระวินันท์ รื่นพรต, ธีรพัฒน์ วงศ์คุ้มสิน, งามละมัย ผิวเหลือง. ปัจจัยทำนายการปรับตัวของนักศึกษาระดับปริญญาตรี [Factors predicting adaptation of undergraduate students]. รามาธิบดีพยาบาลสาร [อินเทอร์เน็ต]. 2553 [สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2562];16:390-405. จาก: https://www.tci- thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/8999 Thai.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-10-08

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ