ความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนการเผชิญปัญหากับความผาสุกในครอบครัวของผู้ดูแลเด็กสมองพิการ
คำสำคัญ:
ความผาสุกในครอบครัว, เด็กสมองพิการ, แบบแผนการเผชิญปัญหาบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: ศึกษาความสัมพันธ์และอำนาจการทำนายของแบบแผนการเผชิญปัญหา ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ดูแลและเด็กสมองพิการที่มีต่อความผาสุกในครอบครัว
วิธีการ: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลเด็กสมองพิการที่รับบริการแผนกผู้ป่วยนอกสถาบันราชานุกูล ที่ตอบกลับจดหมายไปรษณีย์จำนวน 106 ราย (อัตราการตอบกลับ ร้อยละ 51.7) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบวัดแบบแผนการเผชิญปัญหาที่แบ่งได้เป็น 3 แบบแผน คือ 1) ความกลมเกลียวกันในครอบครัว 2) การสร้างความเข้มแข็งของตนเอง และ 3) ความเข้าใจสถานการณ์ดูแลสุขภาพ ส่วนแบบวัดความผาสุกในครอบครัว ประกอบด้วย 3 ด้านคือ 1) โครงสร้างครอบครัว 2) การดำเนินบทบาท และ 3) ความเปราะบาง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผล: ผู้ดูแลใช้การเผชิญปัญหาทั้ง 3 แบบแผนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยใช้แบบแผนที่ 1 มากที่สุด และแบบแผนที่ 2 น้อยที่สุด ความผาสุกในครอบครัวด้านความเปราะบางและด้านโครงสร้างครอบครัวอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการดำเนินบทบาทอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อในความผาสุกในครอบครัวมากที่สุด คือ แบบแผนการเผชิญปัญหา รองลงมา คือ จำนวนปีที่ผู้ดูแลได้รับการศึกษา อายุเด็กสมองพิการ และจำนวนสมาชิกในครอบครัว ซึ่งปัจจัยทั้งหมดนี้ร่วมกันทำนายความผาสุกในครอบครัวของผู้ดูแลได้ร้อยละ 35.3 (R2=.353 p.< 001)
สรุป: การเผชิญปัญหาส่งผลต่อความผาสุกในครอบครัวของผู้ดูแลเด็กสมองพิการ ดังนั้นบุคลากรทีมสุขภาพควรส่งเสริมให้ผู้ดูแลมีการเผชิญปัญหาที่เหมาะสม
Downloads
References
2. เรือนแก้ว กนกพงศ์ศักดิ์, อุบลวรรณ วัฒนาดิลกกุล ปิ่นประภา ธรรมวิภัชน์ และคณะ.แนวทางเวชปฏิบัติสมองพิการ. [Clinical practice guideline in cerebral palsy children]. กรุงเทพมหานคร:สถาบันราชานุกูล; 2548. Thai.
3. ศรีนวล ชวศิริ. การฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการ: ภาวะสมองพิการ. [Rehabilitation of children with disabilities: Cerebral Palsy]. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กรีนพริ้นท์; 2542. Thai.
4. Lazarus RS & Launier R.Stress – related transaction between person and environment. Perspective in Interaction Psychology. Newyork: Plenum; 1978:287-327.
5. McCubbin HI, et.al. CHIP – Coping Health Inventory for Parents: An Assessment of Parental Coping Patterns in Care of the Chronically Ill Child. J Marriage Fam. 1983;45:359-70.
6. Caldwell SM. Measuring Family Well-being: Conceptual Model, Reliability, Validity and Use. In: Measurement of Nursing Outcome. edited by Waltz CF. and Stricklan OA. Newyork: Springer Publishing Company; 1988:396-422.
7. อัจฉรียา ปทุมวัน. แรงสนับสนุนทางสังคม และความสามารถของผู้ดูแลในการดูแลเด็กป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมป์โฟบลาส [Social Support and Dependent – Care Agency in Caretakers of Children with Lymphoblastic Leukemia] [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต].
กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2534. Thai.
8. ชื่นฤดี แก้วบุตร. ความพร่องของมารดาในการดูแลบุตร และความผาสุกในครอบครัวเด็กป่วยกลุ่มอาการชัก [Dependent-care Deficit and Family Well-being of Epileptic Children’s Mothers] [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2535. Thai.
9. วิภาวรรณ ชอุ่ม. ภาระในการดูแลและความผาสุกโดยทั่วไปของญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพา [Caregiving Burden and General Well-being in Caregivers of Elderly Persons who need to be Cared] [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2536. Thai.
10. รสลิน เอี่ยมยิ่งพานิช. ภาระในการดูแลและความผาสุกในครอบครัวของมารดาที่มีบุตรปัญญาอ่อน [Caregiving Burden and Family Well-being of the Mentally Retarded Child’s Mothers] [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2539. Thai.
11. บุษกร อินทรวิชัย. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และการเจ็บป่วยของบุตร การสนับสนุนทาสังคม กับภาวะสุขภาพจิตของมารดาเด็กป่วยด้วยโรคเรื้อรัง [Relationship Between Personal Factors Illness State Social Support And Mental Health State of Mothers with Chronic Ill Children] [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2539. Thai.
12. ลวัณรัตน์ วิริยะประสาท. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการ ภาระการดูแลกับความผาสุกโดยทั่วไปของผู้ดูแลเด็กสมองพิการที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก สถาบันราชานุกูล [Relationship between Some Fundamental Factors, Burden and General Well–Being in Caregivers of Cerebral palsy Child Who Attained at Outpatient Service Department of Rajanukul Institute] [รายงานการวิจัย]. กรุงเทพมหานคร: สถาบันราชานุกูล; 2550. Thai.
13. Jalowise A, Power MJ. Stress and Coping in Hypertension and Emergency Room Patients. Nurs Res. 1981;30:10-5.
14. บุหงา ภูชะคราม. แบบแผนการเผชิญปัญหากับการรับรู้ถึงความผาสุกในครอบครัวของมารดาผู้ป่วยเด็กมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมป์โฟบลาส [Coping Patterns and Perception of Family Well - being in Mother of Children with Acute Lymphoblastic Leukemia] [วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2533. Thai.
15. จริยา วิทยะศุภร.แบบจำลองเชิงสาเหตุของภาระการดูแลในบิดามารดาฐานะผู้รับผิดชอบดูแลบุตรที่ป่วยเรื้อรัง [A casual Model of Dependent Caregiving Burden in Parents of Chronically Ill Children] [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2539. Thai.
16. McCubbin HI & Patterson JM. Family Transitions:Adaptation to Stress.In H.I. McCubbin & C.R.Fiqley (Eds.). Stress and Family Volumn 1: Coping with Normative Transition.Newyork: Bruner Mazel Publisher; 1983.
17. สุพัฒศิริ บุญยะวัตร และรัชนี สรรเสริญ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผาสุกในชีวิตของผู้ดูแลเด็กโรคธาลัสซีเมียที่บ้าน เขตภาคตะวันออก [Factors Influencing Well-being of Thalassemic Children’s Caregivers at Home in the Eastern Region]. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2548;13:55-70. Thai.
18. อรศิริ ภิเศก. แบบแผนการเผชิญปัญหาของครอบครัวเด็กออทิสติก [Coping Patterns of Families With Autistic Children] [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2542. Thai.
19. กมลวรรณ ดิษยบุตร.ความสัมพันธ์ระหว่างความพร่องในการดูแลบุตรของมารดา และความผาสุกในครอบครัวของเด็กวัยก่อนเรียนโรคธาลัสซีเมีย [Relationship Between Maternal Dependent-care Deficit of Pre-school Thalassemic Children and Family Well-Being] [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2537. Thai.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- ผู้อ่านสามารถนำข้อความ ข้อมูล จากวารสารไปใช้ไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ เช่น เพื่อการสอน เพื่อการอ้างอิง แต่การนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น เพื่อการค้า จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกรมสุขภาพจิตก่อน
- ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทยเป็นของผู้เขียนบทความและมิได้แสดงว่ากองบรรณาธิการหรือกรมสุขภาพจิตเห็นพ้องด้วย