ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมความจำในผู้ป่วยจิตเภทสูงอายุที่มีความพร่องพุทธิปัญญา

ผู้แต่ง

  • อรษา ฉวาง, กศ.ม. สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  • ธันยพร สุขประเสริฐ, พย.ม. สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  • มาลี หนานเจียง, วท.ม. สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

ความบกพร่องพุทธิปัญญา, จิตเภทสูงอายุ, โปรแกรมส่งเสริมความจำ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบคะแนนผลการทดสอบสภาพสมองเบื้องต้นของผู้ป่วยจิตเภทสูงอายุที่บกพร่องพุทธิปัญญาก่อนและหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมความจำและระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมความจำกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ

วิธีการ: วิจัยกึ่งทดลองในผู้ป่วยโรคจิตเภทอายุ 60 ปีขึ้นไป ณ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 24 คน  คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์การคัดเลือกผู้เข้าร่วมการวิจัย จับคู่กลุ่มตัวอย่างให้มีลักษณะใกล้เคียงกัน ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา ระยะเวลาที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นจิตเภท จับสลากเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 12 คน กลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลตามปกติและได้รับโปรแกรมส่งเสริมความจำที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น กลุ่มควบคุมได้รับเฉพาะการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ โปรแกรมส่งเสริมความจำในผู้ป่วยจิตเภทสูงอายุที่มีความบกพร่องพุทธิปัญญา ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้น ฉบับภาษาไทย (Mini Mental State Examination Thai 2002; MMSE-Thai 2002) วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที

ผล: ผู้ป่วยจิตเภทสูงอายุที่บกพร่องพุทธิปัญญาหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมความจำมีค่าเฉลี่ยของคะแนนผลการทดสอบสภาพสมองเบื้องต้น มากกว่าก่อนการทดลอง และมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  

สรุป: ผู้ป่วยจิตเภทสูงอายุที่บกพร่องพุทธิปัญญา สามารถเรียนรู้และฝึกฝนได้ เมื่อได้รับการส่งเสริมและกระตุ้นความจำ โดยประเมินได้จากคะแนนผลการทดสอบสภาพสมองที่เพิ่มขึ้น จึงควรนำโปรแกรมส่งเสริมความจำมาใช้ร่วมกับการพยาบาลตามปกติ เพื่อเพิ่มความสามารถด้านความจำ

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมสุขภาพจิต. รายงานประจำปี กรมสุขภาพจิต ปี 2557 [Annual report 2014, Department of Mental Health]. นนทบุรี: สำนักยุทธศาสตร์สุขภาพจิต; 2558.

มาโนช หล่อตระกูล, ปราโมทย์ สุคนิชย์. จิตเวชศาสตร์รามาธิบดี [Ramathibodi essential psychiatry]. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ; ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558.

Benjamin JS, Virginia AS, Pedro R. Kaplan & Sadock’s comprehensive textbook of psychiatry. Vol X: Lippincott Williams & Willkins. USA: Philadelphia; 2000.

Mosiołek A, Gierus J, Koweszko T, Szulc A. Cognitive impairment in schizophrenia across age groups: a case-control study. BMC Psychiatry. 2016;16:37. doi:10.1186/s12888-016-0749-1.

Baines ES, Oglesby FM. The elderly as caregivers of the elderly. Holistic Nursing Practice. 1992;7:61-9.

Velligan DI, Bow-Thomas CC. Executive function in schizophrenia. Semin Clin Neuropsychiatry. 1999;4:24-33.

พัชญ์พิไล ไชยวงศ์, เพื่อนใจ รัตตากร, พีรยา มั่นเขตวิทย์. ผลของโปรแกรมฝึกความคิดความเข้าใจต่อความสามารถด้านความคิดความเข้าใจและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่สงสัยว่ามีภาวะสมองเสื่อม [Effects of cognitive training program on cognitive abilities and quality of life in elderly with suspected dementia]. วารสารเทคนิคการแพทย์เชียงใหม่. 2558;48:182-91.

บุญชัย นวมงคลวัฒนา, พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์ และเกษราภรณ์ เคนบุปผา. การสำรวจความบกพร่องทางพุทธิปัญญาในผู้สูงอายุไทย: การศึกษาระดับชาติปี 2551 [The survey of cognitive impairment in elderly Thai people: national survey 2008]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2553;18:1-13.

Bozikas VP, Kosmidis MH, Kiosseoglou G, Karavatos A. Neuropsychological profile of cognitively impaired patients with schizophrenia. Compr Psychiatry. 2006;47:136-43. doi:10.1016/j.comppsych.2005.05.002.

Harvey PD, Keefe RS. Studies of cognitive change in patients with schizophrenia following novel antipsychotic treatment. Am J Psychiatry. 2001;158:176-84. doi:10.1176/appi.ajp.158.2.176.

วรพงษ์ เธียรอุกฤษฏ์, พรรณี อินทสะอาด, สุนารี ทิพดำรุงกุล, นารีรัตน์ ทองยินดี. Healing Environment for BPSD. บทคัดย่อผลงานพัฒนาคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา; 2554.

Tomás P, Fuentes I, Roder V, Ruiz JC. Cognitive rehabilitation program in schizophrenia: current status and perspectives. International journal of psychology and psychological therapy. 2010;10:191-204.

Kurtz MM, Seltzer JC, Shagan DS, Thime WR, Wexler BE. Computerassisted cognitive remediation in schizophrenia: What is the active ingredient. Schizophr Res. 2007;89: 251-60. doi:10.1016/j.schres.2006.09.001.

เยาวลักษณ์ โอรสานนท์, จุฬารัตน์ วิเรขะรัตน์. โปรแกรมฝึกความจำสำหรับผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง [Memory training program for chronic schizophrenia]. วารสารโรงพยาบาลศรีธัญญา. 2554;12:1-8.

อรษา ฉวาง. การพัฒนาโปรแกรมกิจกรรมกลุ่มกระตุ้นความจำสำหรับผู้ป่วยในโรคสมองเสื่อมที่มีปัญหาพฤติกรรมและอาการทางจิต [The development of Group activities to stimulate memory program in dementia with BPSD]. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. 2555;6(2);44-58.

สถาบันประสาทวิทยา. แนวทางเวชปฏิบัติภาวะสมองเสื่อม [Clinical practice guideline for dementia]. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: พิมพลักษณ์; 2551.

Folstein MF, Folstein SE, Fanjiang G. Mini-Mental State Examination: Clinical guide. Lutz FL: Psychological Assessment Resources; 2001.

Green MF, Bearden CE, Cannon TD, Fiske AP, Hellemann GS, Horan WP, et al. Social cognition in schizophrenia, Part 1: performance across phase of illness. Schizophr Bull. 2012;38:854-64. doi:10.1093/schbul/sbq171.

Fukui H, Toyoshima K. Music facilitate the neurogenesis, regeneration and repair of neurons. Medical Hypotheses. 2008;71;765-9. doi:10.1016/j.mehy.2008.06.019.

ฐาปนีย์ หงส์รัตนาวรกิจ. น้ำมันหอมระเหยและการใช้ในสุคนธบำบัด [Essential oil in Aromatherapy]. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วิฑูรย์การปก; 2550.

Lawrence CK. Neurobics is a unique new system of brain exercises. USA: Howard Hughes Medical Institute; 2010.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-29

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ