การพัฒนาแบบวัดความเครียดสำหรับคนไทยรูปแบบคอมพิวเตอร์สำหรับผู้พิการทางการมองเห็น
คำสำคัญ:
แบบวัดความเครียดสำหรับคนไทย, ผู้พิการทางการมองเห็น, รูปแบบคอมพิวเตอร์บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและศึกษาคุณภาพแบบวัดความเครียดสำหรับคนไทยรูปแบบคอมพิวเตอร์สำหรับผู้พิการทางการมองเห็น
วิธีการ: ใช้รูปแบบกระบวนการวิจัยและพัฒนา โดยขั้นตอนที่ 1 เป็นการพัฒนาแบบวัดความเครียดสำหรับคนไทยรูปแบบคอมพิวเตอร์สำหรับผู้พิการทางการมองเห็น จากแบบวัดความเครียดสำหรับคนไทยฉบับดั้งเดิม โดยอิงจากงานวิจัยและข้อมูลที่เกี่ยวกับผู้พิการทางการมองเห็น ประเมินความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญและนำมาปรับปรุงตามคำแนะนำ และขั้นตอนที่ 2 ศึกษาคุณภาพของแบบวัดความเครียด กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนเรียนร่วมผู้มีความพิการทางการมองเห็นในโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ ศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 53 คน ที่สมัครใจเข้าร่วม วิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่น และวิเคราะห์เนื้อหาของข้อมูลจากการสัมภาษณ์
ผล: การตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่าแบบวัดความเครียดสำหรับคนไทยรูปแบบคอมพิวเตอร์สำหรับผู้พิการทางการมองเห็น มีความเหมาะสมในการนำไปวัดระดับความเครียดกับผู้พิการทางการมองเห็น ผลการทดสอบในกลุ่มตัวอย่างพบว่าแบบวัดมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .83 ผู้เข้าร่วมงานวิจัยมากกว่าร้อยละ 80.0 มีความพึงพอใจต่อการใช้งานและเห็นว่าโปรแกรมมีประสิทธิภาพและสะดวกในการใช้งาน โดยมีเวลาการใช้งานในส่วนแบบวัดและผลการทดสอบโดยเฉลี่ย 7 นาที 48 วินาที
สรุป: จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าแบบวัดความเครียดสำหรับคนไทยรูปแบบคอมพิวเตอร์สำหรับผู้พิการทางการมองเห็นมีประสิทธิภาพและสามารถนำมาใช้วัดความเครียดในผู้พิการทางการมองเห็นได้จริง
Downloads
References
2. World Health Organization. Visual impairment and blindness [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2014 [Updated 2014; cited 2015 Sep 5]. Available from: https://www.who.int/mediacentre/factsheets/
fs282/en/.
3. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. จำนวนประชากรพิการที่มีลักษณะความบกพร่อง จำแนกตามลักษณะความบกพร่อง กลุ่มอายุ เพศ และเขตการปกครอง ทั่วราชอาณาจักร พ.ศ. 2555 [Number of population, number and percentage of persons with disabilities by age group, sex and area, whole kingdom (Thailand): 2012] [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2558 [สืบค้นเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2558]. จาก: https://service.nso.go.th/nso/nso_center/
project/search_center/23project-th.htm
4. Hallemani S, Kale M, Gholap M. Level of stress and coping strategies adopted by adolescents with visual Impairment. Int J Sci Res. 2012;3:1182-7.
5. สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. คู่มือสิทธิของคนพิการ [Disabilities manual] [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ; 2558 [สืบค้นเมื่อวันที่ 26 ก.ย. 2558]. จาก: https://nep.go.th/th/disabilities-knowledge
6. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร บริการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการสื่อสาร และบริการสื่อสาธารณะ สำหรับคนพิการ พ.ศ. 2554 [Ministerial regulation prescribing the principles, methods and conditions of the accessibility to the news information, communication, telecommunication services, information technology and communication, assistive technology for the communication, and public media services for persons with disabilities B.E. 2554] [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์; 2537 [สืบค้นเมื่อวันที่ 6 ก.ย. 2558]. จาก: https://law.msociety.go.th/law/module.php?name=search&tools=b#20150 203_10_10_12 _4838.pdf
7. Cross OH. Braille edition of the Minnesota Multiphasic Personality Inventory for use with the blind. J Appl Psychol. 1947:31:189-98.
8. Phattharayuttawat S, Ngamthipwattana T, Sukhatungkha K. The development of the Thai stress test. J Psychiatr Assoc Thailand. 2000:45:237-50.
9. Baron H. Visual impairment and psychometric testing: practical advice for test users managing the testing of people who have sight disabilities. Leicester: The British Psychological Society; 2006.
10. Gregory RJ. Psychological testing: history, principles, and applications. 5thed. Boston: Pearson Education; 2007.
11. สุชีรา ภัทรายุตวรรตน์. คู่มือการวัดทางจิตวิทยา [Manual of psychological testing]. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: เมดิคัล มีเดีย; 2556.
12. สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย. คู่มืออาสาสมัครร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตคนตาบอด [A volunteer guide for improving quality of life for blind]. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ศรีเมืองการพิมพ์; 2546.
13. มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์. ตัวช่วยเหลือการเข้าถึงเว็บไซต์ [Web accessibility] [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์; 2557 [สืบค้นเมื่อวันที่ 28 ต.ค. 2558]. จาก: https://www.blind.or.th/ accessibility/helps
14. Hertrich I, Dietrich S, Moos A, Trouvain J, Ackermann H. Enhanced speech perception capabilities in a blind listener are associated with activation of fusiform gyrus and primary visual cortex. Neurocase: The Neural Basis of Cognition. 2009:15:163-70.
15. Fields RD. Why can some blind people process speech far faster than sighted person? [Internet]. New York: Scientific American; 2017 [Updated 2010; cited 2017 Jul 1]. Available from: https://www.scientificamerican.com/article/why-can-some-blind- people-process/.
16. Weir K. The beginnings of mental illness [Internet]. NE Washington, DC: American Psychological Association; 2016 [Updated 2012: cited 2016 Mar 27]. Available from: https://www.apa.org/monitor/2012/02/mental-illness.asp
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- ผู้อ่านสามารถนำข้อความ ข้อมูล จากวารสารไปใช้ไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ เช่น เพื่อการสอน เพื่อการอ้างอิง แต่การนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น เพื่อการค้า จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกรมสุขภาพจิตก่อน
- ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทยเป็นของผู้เขียนบทความและมิได้แสดงว่ากองบรรณาธิการหรือกรมสุขภาพจิตเห็นพ้องด้วย