อาการถอนกระท่อมที่ทำให้ทุกข์ทรมานของผู้เสพติดกระท่อมในคลินิกจิตเวชโรงพยาบาลตะกั่วป่า จังหวัดพังงา

ผู้แต่ง

  • อมรรัตน์ บางพิเชษฐ์, พ.บ. โรงพยาบาลตะกั่วป่า

คำสำคัญ:

กระท่อม, ทุกข์ทรมาน, ผู้เสพติดกระท่อม, อาการถอนกระท่อม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: ศึกษาลักษณะอาการถอนกระท่อมที่ทำให้ทุกข์ทรมานและปัจจัยที่สัมพันธ์กับอาการถอนกระท่อมในผู้เสพติดกระท่อม

วิธีการ: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง ในผู้เสพติดกระท่อมของโรงพยาบาลตะกั่วป่า ช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 ถึงธันวาคม พ.ศ. 2561 จากเวชระเบียนจิตเวช วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา       และวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับอาการถอนกระท่อมที่ทำให้ทุกข์ทรมานด้วยสถิติ Fisher's Exact Test

ผล: ผู้เสพติดกระท่อมจำนวน 137 คน เป็นเพศชาย 135 คน อายุเฉลี่ย 30.5 ปี ร้อยละ 54.0 มีสถานภาพโสด    ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับมัธยมหรือต่ำกว่า (ร้อยละ 94.9)  มีรายได้ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 5,000 บาทต่อเดือน (ร้อยละ 50.3) และประกอบอาชีพใช้แรงงาน ได้แก่ รับจ้าง เกษตรกรรม และประมง (รวมเป็นร้อยละ 70.1) เหตุผลที่เข้ารับการรักษามากที่สุด คือ เจ็บป่วยทางกายและทางจิต (ร้อยละ 39.4) รองลงมาคือ สมัครใจเลิกเสพกระท่อม (ร้อยละ 33.6) ระยะเวลาที่เสพกระท่อมที่พบมากที่สุด คือ 1 ปี-น้อยกว่า 5 ปี (ร้อยละ 35.8) ส่วนใหญ่ดื่มน้ำต้มกระท่อมมากกว่าเคี้ยวใบกระท่อมสด (ร้อยละ 68.6)  ชนิดของสารเสพติดที่ใช้ร่วมมากที่สุดคือยาบ้าและไอซ์    (ร้อยละ 35.0) ส่วนใหญ่มีโรคจิตเวชร่วม (ร้อยละ 63.5) โดยโรคจิตเวชที่พบร่วมมากที่สุดคือโรคจิตที่เกิดจากกระท่อมหรือยาเสพติดชนิดอื่น (ร้อยละ 19.0) อาการถอนกระท่อมที่ทำให้ทุกข์ทรมานมากที่สุดคือ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ (ร้อยละ 91.2) และอาการนอนไม่หลับ (ร้อยละ 59.1) ผู้ป่วยอายุน้อยนิยมเสพน้ำต้ม     ใบกระท่อม ในขณะที่ผู้ป่วยอายุมากขึ้นมักเคี้ยวใบกระท่อมสด ระยะเวลาเสพมีความสัมพันธ์กับลักษณะอาการถอนกระท่อมที่ทำให้ทุกข์ทรมาน โดยพบอาการนอนไม่หลับที่ทุกข์ทรมานบ่อยขึ้นในผู้ที่เสพกระท่อมนานกว่า 10 ปี

สรุป: อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ และอาการนอนไม่หลับ เป็นอาการถอนกระท่อมที่ทำให้ทุกข์ทรมานที่พบมากที่สุดในผู้เสพติดกระท่อม การพัฒนาวิธีการบำบัดรักษาควรพิจารณาลดอาการดังกล่าวเพื่อช่วยให้ผู้เสพติดสามารถเลิกใช้กระท่อมได้

Downloads

Download data is not yet available.

References

1. สาวิตรี อัษณางค์กรชัย, ดาริกา ใสงาม, สมสมร ชิตตระการ, อาภา ศิริวงศ์ ณ อยุธยา, จุไรทิพย์ หวังสนิทวีกุล. บทสรุปของพืชกระท่อม [The Conclusion of Kratom]. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์; 2558.

2. Cinosi E, Martinotti G, Simonato P, Singh D, Demetrovics Z, Roman-Urrestarazu A, et al. Following (the Roots) of Kratom (Mitragyna speciosa): The Evolution of an Enhancer from a Traditional Use to Increase Work and Productivity in Southeast Asia to a Recreational Psychoactive Drug in Western Countries.
Biomed Res Int. 2015;2015:968786. doi:10.1155/2015/968786.

3. สาวิตรี อัษณางค์กรชัย, ดาริกา ใสงาม, จุไรทิพย์ หวังสินทวีกุล, เอกสิทธิ์ กุมารสิทธิ์, ดาร์เนีย เจ๊ะหะ, สุพัตรา ลิ่มสุวรรณโชติ และคณะ. การวิจัยพืชกระท่อม: ผลกระทบต่อสุขภาพและสังคม [Research on Kratom: Effects to Health and Societies]. [อินเตอร์เน็ต]. สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. [สืบค้นเมื่อวันที่ 23 มี.ค. 2562] จาก: https://rdo.psu.ac.th/th/index.php/recommend/1255-2018-11-19-07-11-49

4. Singha D, Narayananb S, Vicknasingama B. Traditional and non-traditional uses of Mitragynine (Kratom): A survey of the literature. Brain Res Bull. 2016;126:41-6.

5. Saingam D, Assanangkornchai S, Geater AF, Lerkiatbundit S. Factor Analytic Investigation of Krathom (Mitragyna speciosa Korth.) Withdrawal Syndrome in Thailand. J Psychoactive Drugs. 2016;48(2):76-85. doi:10.1080/02791072.2016. 1156791.

6. Saingam D, Assanangkornchaia S, Geatera AF, Balthip Q. Pattern and consequences of krathom (Mitragyna speciosa Korth.) use among male villagers in southern Thailand: A qualitative study. Int J Drug Policy. 2013;24:351-8.

7. สมฤดี เอี่ยมฉลวย. ผลกระทบด้านร่างกาย จิตใจและพฤติกรรมของผู้ใช้ใบกระท่อมที่เข้ารับการบำบัดรักษาในสถานบำบัดรักษาสารเสพติด [Physical, Psychological and Behavior outcomes of Kratom users at a substance abuse treatment center] [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2560.

8. Singh D, Muller CP. Vicknasingam BK. Kratom (Mitragyna speciosa) dependence, withdrawal symptoms and craving in regular users. Drug Alcohol Depend. 2014;139:132-7. doi:10.1016/j.drugalcdep.2014.03.017.

9. Assanangkornchai S, Muekthong A, Sam-Angsri N, Pattanasattayawong U. The Use of Mitragynine speciosa (“Krathom”), an Addictive Plant, in Thailand. Subst Use Misuse. 2006;42:2145–57.

10. Hassan Z, Muzaimi M, Navaratnam V, Yusoff NH, Suhaimi FW, Vadivelu R, et al. From Kratom to mitragynine and its derivatives: Physiological and behavioural effects related to use, abuse, and addiction. Neurosci Biobehav Rev. 2013;37:138-51.

11. Chittrakarn S, Keawpradub N, Sawangjaroen K, Kansenalak S, Janchawee B. The neuromuscular blockade produced by pure alkaloid, mitragynine and methanol extract from Kratom leaves (Mitragyna speciosa Korth.).
J Ethnopharmacol. 2010;129:344-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-31

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ