การพัฒนาและผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังสุขภาพจิตร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัว ต่อความเข้มแข็งในการมองโลกและพลังสุขภาพจิตในผู้ป่วยโรคจิตจากสารเสพติด

ผู้แต่ง

  • สยาภรณ์ เดชดี, พย.ม. โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์
  • วินีกาญจน์ คงสุวรรณ, ปร.ด. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของครอบครัว, ความเข้มแข็งในการมองโลก, พลังสุขภาพจิต, โรคจิตจากสารเสพติด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อการพัฒนาและทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังสุขภาพจิตร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อความเข้มแข็งในการมองโลกและพลังสุขภาพจิตในผู้ป่วยโรคจิตจากสารเสพติดที่มารับบริการในโรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์

วิธีการ: เป็นการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็นสองระยะ ได้แก่ ระยะพัฒนาโปรแกรมฯ  ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน และระยะทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมฯ ในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคจิตจากสารเสพติดจำนวน 60 คน เป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมฯ และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมินพลังสุขภาพจิต และแบบวัดความเข้มแข็งในการมองโลก ประเมินก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและหลังติดตาม 2 สัปดาห์ และ 1 เดือนวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (repeated measures ANOVA) และวิเคราะห์เชิงเส้นตรงอย่างง่าย (simple linear regression analysis)

ผล: หลังการเข้าร่วมโปรแกรมฯ พลังสุขภาพจิตและความเข้มแข็งในการมองโลกของผู้ป่วยโรคจิตจากสารเสพติด เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มทดลองเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ผลการวิเคราะห์เชิงเส้นตรงอย่างง่ายพบว่าคะแนนพลังสุขภาพจิตที่เพิ่มขึ้นมีอิทธิพลทางบวกต่อคะแนนความเข้มแข็งในการมองโลก

สรุป: โปรแกรมการเสริมสร้างพลังสุขภาพจิตร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อความเข้มแข็งในการมองโลกและพลังสุขภาพจิตสามารถใช้ในผู้ป่วยโรคจิตจากสารเสพติดและครอบครัวได้ และเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับบุคลากรสาธารณสุขในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้

Downloads

Download data is not yet available.

References

1. พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์. บทความฟื้นฟูวิชาการเรื่องโรคจิตจากแอมเฟตามีน [Review article: methamphetamine psychosis]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2552;17:129-48. Thai.

2. United Nations Office on Drugs and Crime. World drug report 2017: 29.5 million people globally suffer from drug use disorders, opioids the most harmful. [Internet]. 2017 [cited 2019 Aug 10] Available from: https://https://www.unodc.org

3. กรมสุขภาพจิต. สถิติการเข้าถึงบริการโรคสำคัญด้านจิตเวช 2562 [Statistics of accessibility to psychiatric disorder 2562]. [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2562] จาก: https://dmh.go.th/report/datacenter/map/. Thai.

4. สุลินดา จันทรเสนา. ปัจจัยเกี่ยวข้องกับการเสพแอมเฟตามีนซ้ำของวัยรุ่นที่เข้ารับการบำบัดในโรงพยาบาลธัญญารักษ์ [Related factors of amphetamine reuse among adolescents hospitalized in Thunyarak Hospital] [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2549. Thai.

5. ปราณีพร บุญเรือง. ผลของกลุ่มปรับพฤติกรรมทางปัญญาของวัยรุ่นที่เสพยาบ้าต่อการป้องกันการกลับไปเสพซ้ำ [Effects of cognitive behavioral modification group for adolescents amphetamine-like substance (yaba) addictions on relapse prevention] [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2545. Thai.

6. Dillon L, Chivite-Matthews N, Grewal I, Brown R, Webster S, Weddell E, et al. Risk, protective factors and resilience to drug use: identifying resilient young people and learning from their experiences. National Centre for Social Research [Internet]. 2007 [cited 2019 Jul 1]. Available from: https://rds.homeoffice.gov.uk/rds/pdfs07/rdsolr0407.pdf

7. สุทธิชัย ศิรินวล. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสพยาบ้าซ้ำของผู้ผ่านการบำบัด [Factors affecting amphetamine relapse among drug addicts after treatment]. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2559;10:39-45. Thai.

8. นันท์ชัตสัณห์ สกุลพงศ์. พลังสุขภาพในผู้ติดสารเสพติดหญิง: การวิจัยแบบผสานวิธีพหุระยะเพื่อพัฒนาเครื่องมือและประสิทธิผลการปรึกษาทางจิตวิทยาแบบกลุ่มบูรณาการ [Resilience of substance-dependent woman: the multi-phase mixed methods research for scale development and effects of integrative group counseling] [ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2556. Thai.

9. มนัส สุนทรโชติ. ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับพลังต้านการเสพยาบ้าของวัยรุ่นที่เข้ารับการบำบัดจำแนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลในเขตภาคตะวันออก [Selected factors related to resilience to amphetamine use of adolescents receiving treatment, outpatient department, Eastern region hospital]. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2556;27:85-97. Thai.

10. กรมสุขภาพจิต. เปลี่ยนร้ายกลายเป็นดี RQ พลังสุขภาพจิต [Turn bad into good RQ: resilience quotient]. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต สำนักพัฒนาสุขภาพจิต; 2552. Thai.

11. สุกุมา แสงเดือนฉาย, วันเพ็ญ ใจปทุม, สำเนา นิลบรรพ์, และสุวภัทร คงหอม. คู่มือโปรแกรมการบำบัดความคิดและพฤติกรรมในผู้ป่วยเมทแอมเฟตามีน [Cognitive behavior therapy of methamphetamine dependence]. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2557. Thai.

12. กัณณิกา สิทธิพงษ์. แรงจูงใจในการเลิกยาเสพติดของผู้ป่วยในโรงพยาบาลธัญญารักษ์ขอนแก่น [The motivation to quit using drugs of patients at Thanyarak Khonkaen hospital]. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2560;5:217-39. Thai.

13. นุรินยา แหละหมัน, อ้อมเดือน บุญญามณี, ดารารัตน์ สาธรพันธ์, สยาม มุสิกไชย. การมีส่วนร่วมของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดขณะบำบัดในศูนย์บำบัดยาเสพติดสงขลา [Family involvement for caring of patient with drug addict in institute on drug abuse]. นนทบุรี: กรมการแพทย์; 2552. Thai.

14. เด่นเดือน ภูศรี. ผลของโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อการเห็นคุณค่าในตนเองและความเข้มแข็งในการมองโลกของผู้เสพแอมเฟตามีน [Effects of rehabilitation program with family participation on self-esteem and sense of coherence of amphetamine dependence] [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2553. Thai.

15. Antonovsky A. The Jossey-Bass social and behavioral science series and the Jossey-Bass health series. Unraveling the mystery of health: how people manage stress and stay well. San Francisco, CA, US: Jossey-Bass; 1987.

16. อนงค์ ยอดคง. ความเข้มแข็งในการมองโลกและพฤติกรรมเสี่ยงในการใช้สารเสพติดของวัยรุ่น จังหวัดนราธิวาส [Sense of coherence and substance abuse risk behaviors among adolescents, Narathiwat Province, Thailand] [สารนิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2557. Thai.

17. Garcia ML. Sense of coherence and substance use in Spanish adolescents. Addictions. 2013;25:109-17.

18. จิตรภานุ ดำสนวน. ปัจจัยที่เป็นตัวพยากรณ์ภูมิคุ้มกันทางด้านจิตใจของวัยรุ่นในอำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ [The factors as predictors of resilience quotient of adolescents in Nongki District Burirum Province] [วิทยานิพนธ์ปรัชญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต]. พระนครศรีอยุธยา: จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย; 2560. Thai.

19. นุชนาถ แก้วมาตร. ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจในการเลิกสารเสพติดของเยาวชนที่ใช้สารเสพติด [Factors affecting the intention of drug abstinence among youth experiencing substance abuse]. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2560;11:133-41. Thai.

20. สยาภรณ์ เดชดี. พลังสุขภาพจิตและภาวะซึมเศร้าของครูที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ [Resilience and depression of teachers facing the situation of unrest in Three Southernmost Provinces, Thailand]. สงขลา: โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์; 2554. Thai.

21. วินีกาญจน์ คงสุวรรณ, วันดี สุทธรังษี, วิลาวรรณ คริสต์รักษา. การปรับตัวในการเผชิญภาวะวิกฤตจากอุทกภัยของผู้ประสบอุทกภัย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา [Adaptation after facing with flooding crisis among persons suffering from the floods, Hat Yai District, Songkhla Province]. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2558;27(3):75-96. Thai.

22. วินีกาญจน์ คงสุวรรณ, วันดี สุทธรังษี, วิลาวรรณ คริสต์รักษา. แนวทางการเสริมสร้าง พลังอึด ฮึด สู้ เพื่อการเรียนรู้และดูแลตนเองของประชาชนในภาวะวิกฤตภัยพิบัติธรรมชาติ [Resilience enhancement guideline for learning and self-care of people in the natural disaster crisis]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2559. Thai.

23. ธัญญาภรณ์ แก้วเงิน. ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังสุขภาพจิตต่อระดับพลังสุขภาพจิตของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า [The effects of resiliency enhancement program on resiliency level of patients with major depressive disorders] [สารนิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2557. Thai.

24. อาสมะ เจ๊ะแล, วันดี สุทธรังษี, ศรีสุดา วนาลีสิน. ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังสุขภาพจิตต่อระดับพลังสุขภาพจิตของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในพื้นที่เหตุการณ์ความไม่สงบภาคใต้ [The effects of resiliency enhancement program on resiliency level of secondary school students unrest situations in southern Thailand] [สารนิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2557. Thai.

25. บุญสิตา พลกล้า. ความเข้มแข็งในการมองโลกและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคจิตจากสารเสพติดหลังเข้ารับการบำบัดในโรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์ [Sense of coherence and quality of life patients with substance-induced psychosis after being treated in Songkhla Rajanagarindra Psychiatric Hospital] [สารนิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2559. Thai.

26. กรมสุขภาพจิต. คู่มืออบรมและจัดกิจกรรมเสริมสร้างพลังสุขภาพจิต [Training and organizing for resilience enhancement]. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต สำนักพัฒนาสุขภาพจิต; 2552. Thai.

27. Cohen JM, Uphoff NT. Participations place in rural development: seeking clarity through specificity. New York: World Developments; 1980.

28. Yalom I. The theory and practice of group psychotherapy. 3rd ed. New York: Basic Book; 1985.

29. Fadradi JS, Azad H, Nemati A. The relationship between resilience motivational structure and substance use. Procedia - Social and Behavioral Sciences. 2010;5:1956-61.

30. พัชรินทร์ นิลทจันทร์. ความแข็งแกร่งในชีวิต: แนวคิด การประเมิน และการประยุกต์ใช้ [Resilience: concept, evaluation and adaptation]. กรุงเทพฯ: บริษัทจุดทอง จำกัด; 2558. Thai.

31. อวยพร เรืองตระกูล, สุนทรพจน์ ดำรงค์พานิช. การประเมินตนเอง [Self-evaluation]. [อินเทอร์เน็ต]. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557 [สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2562]. จาก: ednet.kku.ac.th/~edad/OLD/research_article/selfEvaluation.doc Thai.

32. บุญศิริ จันศิริมงคล. เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่องโรคร่วมในโรคติดสารเสพติด [Co-occurring disorders]. สุราษฎร์ธานี: โรงพยาบาลสวนสราญรมย์; 2552. Thai.

33. สุปราณี สูงแข็ง. ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ผ่านการบำบัดสารเสพติดในหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดอุดรธานี [Factors affecting quality of life of persons treated for narcotic drug use in primary care hospitals, Udon Thani Province]. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2559;25:217-8. Thai.

34. จุฑา ปาตังคะโร. การปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่ของผู้ป่วยโรคจิตจากสารเสพติดภายหลังการบำบัดจากโรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์ [Role- function adaptation of patients with substance-induced psychosis after being treated from Rajanagarind Psychiatric Hospital] [สารนิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2553. Thai.

35. กุสุมา แก้วแดง. ผลของโปรแกรมการบำบัดแบบสั้นร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อพฤติกรรมการดื่มสุราแบบอันตราย [The effect of brief intervention with family participation program on alcohol drinking behaviors of persons with harmful alcohol use] [สารนิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2557. Thai.

36. Neenan M. Developing resilience: a cognitive-behavioral approach. 2nd ed. New York: Routledge; 2018.

37 Masten AS, O’Dougherty WM. Resilience over the lifespan, In: Reich J, Zautra A, Hall J, editors. Handbook of adult resilience. New York: Guilford; 2010.

38. บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูล. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์ [The methodology in nursing research]. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์ มีเดีย; 2553. Thai.

39. Polit FD, Hungler PD. Nursing research: principle and methods. Philadelphia: J.B. Lippincott; 1999.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-10-08

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ