ความสุขในชีวิตของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • นงนภัส พรมมิ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (Faculty of Public Health, Mahidol University)
  • นวรัตน์ สุวรรณผ่อง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (Faculty of Public Health, Mahidol University)
  • มธุรส ทิพยมงคลกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (Faculty of Public Health, Mahidol University)
  • จารุวรรณ หมั่นมี กลุ่มงานสนับสนุนวิชาการ โรงพยาบาลราชวิถี (Department of Research and Technology Assessment, Rajavithi Hospital)

คำสำคัญ:

กรุงเทพมหานคร, ความสุข, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์:  เพื่อประเมินระดับความสุขในชีวิต ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และการสนับสนุนทางสังคมของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร และหาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะส่วนบุคคล ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และการสนับสนุนทางสังคมกับความสุขในชีวิตของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร

วิธีการ:  เก็บข้อมูลจากผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครจำนวน 755 คน สุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม 2 ขั้นตอน (two-stage cluster sampling) โดยใช้สัดส่วนความน่าจะเป็น (probability proportional to size: PPS) ใช้แบบสัมภาษณ์ระดับความสุขในชีวิตตามดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทยฉบับสั้น (TMHI-15) แบบสัมภาษณ์ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และการสนับสนุนทางสังคมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2560 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไคสแควร์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน

ผล:  กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครประมาณครึ่งหนึ่งมีระดับความสุขอยู่ในเกณฑ์เท่ากับผู้สูงอายุทั่วไป (ร้อยละ 48.9 (95% CI=45.2-52.2) ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และการสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 69.0 (95% CI=65.6-72.3) และร้อยละ 57.6 (95% CI=54.3-61.3) ตามลำดับ การสนับสนุนทางอารมณ์ ความสำเร็จในชีวิต การสนับสนุนในการให้การประเมินผล การเป็นที่ยอมรับของครอบครัวและสังคม รายได้ต่อเดือน การสนับสนุนข้อมูลข่าวสาร เพศ ลักษณะที่อยู่อาศัย ระดับการศึกษา อายุ การสนับสนุนสิ่งของ และภาวะสุขภาพ ทำนายความสุขในชีวิตของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครได้ร้อยละ 44.5 (R2adj=0.445)

สรุป:  ผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครประมาณครึ่งหนึ่งมีระดับความสุขอยู่ในเกณฑ์เท่ากับผู้สูงอายุทั่วไป ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับปานกลาง กรุงเทพมหานครควรกำหนดนโยบายการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุ ที่สนับสนุนให้ผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครมีระดับความสุขเพิ่มขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

References

1. ปราโมทย์ ประสาทกุล, บรรณาธิการ. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2560 [Situation of the Thai elderly 2017]. กรุงเทพมหานคร: บริษัท โรงพิมพ์เดือนตุลา จำกัด; 2561. Thai.

2. ชมพูนุท พรหมภักดิ์. การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย [Aging society in Thailand] [อินเตอร์เน็ต]. บทความสำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา;3(26); 2556 [สืบค้นเมื่อ 3 ต.ค. 2557]. จาก https://library.senate.go.th/ document/Ext6078/6078440_0002.PDF Thai.

3. Thongtang O, Sukhatunga K, Ngamthipwatthana T, Chulakadabba S, Vuthiganond S, Pooviboonsuk P, et al. Prevalence and incidence of depression in the Thai elderly. J Med Assoc Thai. 2002;85:540-4.

4. ชุติไกร ตันติชัยวนิช. ความสุขในชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดระยอง [Life happiness of the elderly in Rayong province] [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2551. Thai.

5. อภิชัย มงคล, วัชนี หัตถพนม, ภัสรา เชษฐ์โชติศักดิ์, วรรณประภา ชะลอกุล, ละเอียด ปัญโญใหญ่, สุจริต สุวรรณชีพ. การศึกษาดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทย [The study to develop Thai mental health indicator]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2544;46:209-25. Thai.

6. Coopersmith S. The manual of Self-esteem inventory. California: Consulting Psychologists Press, Inc; 1984.

7. House JS. The nature of social support. In M.A. Reading (Eds.): Work Stress and Social Support. Philadelphia: Addison Wesley; 1981.

8. สํานักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. สถิติประชากรและบ้าน-จำนวนประชากรแยกรายอายุ [Official statistics population and household registration system] [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 3 มิ.ย. 2562]. จาก https://stat.dopa. go.th/stat/statnew/upstat_age.php Thai.

9. วิชาญ ชูรัตน์,โยธิน แสวงดี, สุพาพร อรุณรักษ์สมบัติ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะเสี่ยงการมีปัญหาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุไทย [Factors influencing the risk of having mental health problems of Thai elderly]. วารสารประชากร. 2555;3:87-109. Thai.

10. Daniel WW, Cross CL. Biostatistics: A foundation for analysis in the health sciences. 10th ed. New York: Wiley & Sons; 1995.

11. ธนาเสฏฐ์ มองทรัพย์. ความสุขในชีวิตของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในครอบครัวสามวัยจังหวัดชัยนาท [Life happiness of the elderly living in three generation family, Chainat province] [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2555. Thai.

12. สุธรรม นันทมงคลชัย, โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์, พิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริมศักดิ์, อาภาพร เผ่าวัฒนา. ความสุขและวิถีชีวิตของผู้สูงอายุหญิงที่เลี้ยงหลานในเขตชนบทภาคเหนือของประเทศไทย [Happiness and way of life among elderly female who take care of grandchild in northern region of Thailand]. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วิฑูรย์การปก (1997) จำกัด; 2553. Thai.

13. ธัญญาพรรณ เรือนทิพย์. ความสุขของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง จังหวัดเชียงใหม่ [Happiness in elderly with chronic disease in Chiangmai province] [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558. Thai.

14. วิทมา ธรรมเจริญ. อิทธิพลของปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในที่มีต่อความสุขของผู้สูงอายุ [The influence of external and internal factors on happiness of the elderly] [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2555. Thai.

15. Layard R. Happiness: Lessons from a New Science. New York: The Penguin Press; 2005.

16. สํานักงานสถิติแห่งชาติ. ภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2561 [National statistical office] [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 22 เม.ย. 2562]. จาก https://www.nso.go.th/ sites/2014/Pages/. Thai.

17. Maslow A H. Motivation and Personality 2nd New York: Harper & Row Publishers 1970:35-58,153-54.

18. สิริพงศ์ กุลสุขรังสรรค์, คมศักดิ์ สินสุรินทร์, มารุต ว่องประเสริฐการ. การเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุ [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [สืบค้นเมื่อ 3 มี.ค. 2558]. จาก https://www.prorehab2 home.com/th/document/Changes%20in%20the%20ederly.pdf Thai.

19. Wiesmann U, Hannich HJ. A salutogenic view on subjective well-being in active elderly person. Aging Ment Health. 2008;12:56-65.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-19

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ