ปัจจัยทำนายความแข็งแกร่งในชีวิตของผู้สูงอายุอาศัยในสถานสงเคราะห์คนชราพื้นที่ภาคใต้

ผู้แต่ง

  • กรรณิกา เรืองเดช ชาวสวนศรีเจริญ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง (Sirindhorn College of Public Health, Trang)
  • ไพบูลย์ ชาวสวนศรีเจริญ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง (Sirindhorn College of Public Health, Trang)
  • เสาวลักษณ์ คงสนิท วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง (Sirindhorn College of Public Health, Trang)

คำสำคัญ:

ความแข็งแกร่งในชีวิต, ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์, ปัจจัยทำนาย, ผู้สูงอายุ, สถานสงเคราะห์คนชรา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และปัจจัยทำนายความแข็งแกร่งในชีวิตของผู้สูงอายุอาศัยในสถานสงเคราะห์คนชราพื้นที่ภาคใต้

วิธีการ: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่าง คือผู้สูงอายุอาศัยในสถานสงเคราะห์คนชราพื้นที่ภาคใต้ สุ่มอย่างง่ายโดยการจับสลากเลือกสถานสงเคราะห์คนชราในพื้นที่ภาคใต้ จำนวน 3 แห่ง จากทั้งหมด 5 แห่ง ข้อมูลเก็บรวบรวมจากจากผู้สูงอายุตามเกณฑ์ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 161 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์แบบมีเค้าโครง สัมภาษณ์โดยผู้วิจัยและผู้ช่วยนักวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอ้างอิง ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยแบบหลายขั้นตอน

ผล: สุขภาพกาย ความสัมพันธ์ทางสังคม การเห็นคุณค่าในตนเอง และความสุข มีความสัมพันธ์ทางบวก และภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์ทางลบกับความแข็งแกร่งในชีวิตของผู้สูงอายุอาศัยในสถานสงเคราะห์คนชราพื้นที่ภาคใต้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความสุขและภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ เป็นปัจจัยทำนายความแข็งแกร่งในชีวิตของผู้สูงอายุอาศัยในสถานสงเคราะห์คนชราที่สำคัญ โดยร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความแข็งแกร่งในชีวิตกลุ่มตัวอย่างนี้ได้ ร้อยละ 34.0

สรุป: การเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตให้กับผู้สูงอายุอาศัยในสถานสงเคราะห์คนชรา ควรส่งเสริมความสุข การเห็นคุณค่าในตนเอง ความสัมพันธ์ทางสังคม สุขภาพกายของผู้สูงอายุ และลดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

กรรณิกา เรืองเดช ชาวสวนศรีเจริญ, วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง (Sirindhorn College of Public Health, Trang)



References

1. สมพร อินทร์แก้ว, เยาวนาฎ ผลิตนนทเกียรติ, ศรีวิภา เนียมสอาด, สายศิริ ด่านวัฒนะ. พลังสุขภาพจิต [Resilience Quotient]. นนทบุรี: สำนักสุขภาพจิตสังคม กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2552. Thai.

2. พัชรินทร์ นินทจันทร์, ทัศนา ทวีคูณ, โสภิณ แสงอ่อน. ความแข็งแกร่งในชีวิต: แนวคิด การประเมิน และการประยุกต์ใช้ [A resilience: concept evaluation and apply].กรุงเทพฯ: บริษัทจุดทอง จำกัด; 2558. Thai.

3. American Psychological Association. Road to resilience [Internet]. Washington, DC: American Psychological Association; 2016 [cited 2016 Jan 20] Available from: https://www.apa.org/helpcenter/road-resilience.aspx

4. Richardson GE, Neiger BL, Jensen S, Kumpfer KL. The resiliency model. Health Education. 1990;21:33-9. Doi:10.1080/00970050.1990.10614589.

5. Fontes AP, Neri AL. Resilience in aging: literature review. Cien Saude Colet. 2015;20:1475-95. Doi:10.1590/1413-81232015205.00502014.

6. Ong AD, Bergeman CS, Bisconti TL, Wallace KA. Psychological resilience, positive emotions, and successful adaptation to stress in later life. J Pers Soc Psychol. 2006;91:730-49. Doi:10.1037/0022-3514.91.4.730

7. Hardy SE, Concato J, Gill TH. Resilience of community-dwelling older persons. J Am Geriatr Soc. 2004;52:257-62.

8. Demakakos P, Netuveli G, Cable N, Blane D. Resilience in older age: a depression-related approach. In: Banks J, Breeze E, Lessof C, Nazroo J, editors. Living in the 21st century: older people in England. The 2006 English Longitudinal Study of Ageing (Wave 3) [Internet]. London:The Institute for Fiscal Studies; p.186-221. [cited 2016 Jan 20] Available from https://www.elsa- project.ac.uk/uploads/elsa/report08/ch6.pdf

9. Gooding PA, Hurst A, Johnson J, Tarrier N. Psychological resilience in young and older adults, Int J Geriatr Psychiatry. 2012;27:262-70. Doi:10.1002/gps.2712.

10. Nygren B, Aléx L, Jonsén E, Gustafson Y, Norberg A, Lundman B. Resilience, sense of coherence, purpose in life and self-transcendence in relation to perceived physical and mental health among the oldest old. Aging Ment Health. 2005;9:354-62.

11. Smith PR. Resilience: resistance factor for depressive symptom. J Psychiatr Ment Health Nurs. 2009;16:829-37. Doi:10.1111/j.1365-2850.2009.01463.x.

12. Gallacher J, Mitchell C, Heslop L, Christopher G. Resilience to health related adversity in older people. Qual Ageing Older Adults.. 2012;13:197-204. Emerald Quality in Ageing and Older Adults [Internet]. 2012 [cited 2016 Aug 15] Available from: https://www.emeraldinsight.com/doi/full/Doi: 10.1108/14717791211264188.

13. Windle G, Markland DA, Woods RT. Examination of a theoretical model of psychological resilience in older age. Aging Mental Health. 2008;12:285–2. Doi:10.1080/13607860802120763.

14. Bennett KM. How to achieve resilience as an older widower: turning points or gradual change? Ageing Soc. 2010;30:369-82. Doi:10.1017/S0144686X09990572.

15. MacLeod S, Musich S, Hawkins K, Alsgaard K, Wicker ER. The impact of resilience among older adults. Geriatr Nurs. 2016;37:266-72. Doi: 10.1016/j.gerinurse.2016.02.014.

16. Centre for Policy on Ageing (CPA). Resilience in Older Age [Internet]. London: Centre for Policy on Ageing; 2004 [Update 2017; cited 2017 Apr 10]. Available from: https://www.cpa.org.uk /information/reviews/CPA-Rapid-Review-Resilience-and-recovery.pdf

17. Moyle W, Clarke C, Gracia N, Reed J, Cook G, Klein B, et al. Older people maintaining mental health well-being through resilience: an appreciative inquiry study in four countries. J Nurs Healthc Chronic Illn. 2010;2:113-21. Doi:10.1111/j.1752-9824.2010.01050.x

18. Shen K, Zeng Y. The association between resilience and survival among Chinese elderly. Demogr Res. 2010;23:105-16.Doi:10.4054/DemRes.2010.23.5.

19. จิราลักษณ์ จงสถิตมั่น พรประภา สินธุนาวา และนภัส ศิริสัมพันธ์. รายงานวิจัยเรื่องการประเมินสถานสงเคราะห์คนชราของรัฐ: ศึกษาเฉพาะกรณีสถานสงเคราะห์ 3 แห่ง [An Evaluation of Governmental Homes for the Aged: Case Studies of the Three Homes for the Aged]. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2543. Thai.

20. ธนัญพร พรมจันทร์ และศิริลักษณ์ ศุภปีติพร. ภาวะซึมเศร้า ความว้าเหว่ และการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุที่พักอาศัยในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางแคและที่พักผู้สูงอายุของเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร [Depression loneliness and self-esteem of the elderly in Bangkae Home and private homes for the aged in Bangkok]. เวชศาสตร์ร่วมสมัย. 2557;58:545-61. Thai.

21. สำนักมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. สถานการณ์ทางสังคมของพื้นที่ระดับภาค: กรณีพื้นที่ภาคใต้ [Social situation of regional level: A case of southern area] [อินเทอร์เน็ต]. 2552 [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2559] จาก: https://www.m-society.go.th/article_attach/9009/11575.pdf. Thai.

22. อมรากุล อินโอชานนท์, กาญจนา วณิชรมณีย์, ชิดชนก โอภาสวัฒนา. คู่มือการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมสำหรับเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล [Handbook of dementia care for health personnel in Health Promotion Hospital]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2555.39-43. Thai.

23. Maneerat S, Isaramalai S-A, Boonyasopun U. A conceptual structure of resilience among Thai elderly. International Journal of Behavioral Science. 2011;6:26-40.

24. ลัญชนา พิมพันธ์ชัยยบูลย์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความว้าเหว่ของผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ [Factors influencing loneliness of the elderly in social welfare development center for older persons] [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2558. Thai.

25. กลุ่มฟื้นฟูสมรรถภาพสมอง. แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุของไทย [Thai Geriatric Depression Scale]. สารศิริราช. 2537;46:1-9. Thai.

26. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการจัดกิจกรรม "ฝึกคิดแก้ปัญหาพัฒนา EQ" สำหรับศูนย์เพื่อนในวัยรุ่น [Handbook of “Problem solving to develop EQ” For TO BE NUMBER ONE Friend Corner]. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2547. 29-33. Thai.

27. อภิชัย มงคล, วัชนี หัตถพนม, ภัสรา เชษฐ์โชติศักดิ์, วรรณประภา ชะลอกุล, ละเอียด ปัญโญใหญ่, สุจริต สุวรรณชีพ. ความสุขและสุขภาพจิตในบริบทสังคมไทย [Happiness and mental health in the context of the Thai society]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2554;46:227-32. Thai.

28. Polit DF, Beck CT. The Content Validity Index: are you sure you know what’s being reported? critique and recommendations. Res Nurs Health. 2006;29:489–97.

29. กัลยา วานิชย์บัญชา. การใช้ SPSS for windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล [Data analysis with SPSS for windows]. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.369-73. Thai.

30. Resnick BA, Inguito PL. The Resilience Scale: psychometric properties and clinical applicability in older adults. Arch Psychiatr Nurs. 2012;25:11-20. Doi: 10.1016/j.apnu.2010.05.001

31. กรรณิกา เรืองเดช ชาวสวนศรีเจริญ, ไพบูลย์ ชาวสวนศรีเจริญ, เสาวลักษณ์ คงสนิท. การพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราของพื้นที่ภาคใต้ [Development of resilience-enhancing program for elderly nursing home residents of southern area]. ตรัง: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง; 2561. Thai.

32. Multiple regression analysis: Use adjusted R-Squared and predicted R-Squared to include the correct number of variables [Internet]. 2013 [cited 2019 Feb 3]. Available from: https://blog.minitab.com/blog/adventures-in-statistics-2/multiple-regession-analysis-use-adjusted-r-squared-and-predicted-r-squared-to-include-the-correct-number-of-variables

33. Hildon Z, Montgomery SM, Blane D, Wiggins RD, Netuveli G. Examining resilience of quality of life in the face of health related and psychosocial adversity at older ages: what is "right" about the way we age? Gerontologist. 2010;50:36-47. Doi: 10.1093/geront/gnp067

34. Wells M. Resilience in older adults living in rural, suburban, and urban areas. Online J Rural Nurs Health Care. 2010;10:45-54. Doi:10.14574/ojrnhc.v10i2.55

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-19

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ