ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ณ หมู่บ้านประชานิเวศน์

ผู้แต่ง

  • นัฏศรา ดำรงค์พิวัฒน์, พ.บ. ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • โชติมันต์ ชินวรารักษ์, พ.บ. ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย, พ.บ. ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ภาวะซึมเศร้า, ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: ศึกษาความชุก และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

วิธีการ: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เก็บข้อมูลจากผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่อยู่ในหมู่บ้านประชานิเวศน์ ระหว่างเดือนกันยายน ถึง ตุลาคม พ.ศ.2560 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ (Thai Geriatric Depression Scale) แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับฉบับภาษาไทย (Thai version of the Pittsburgh sleep quality index) แบบประเมินสุขอนามัยการนอนหลับ (sleep hygiene index) และแบบคัดกรองภาวะสมองเสื่อม (Mini – Mental State Examination: Thai version – Thai 2002) นำเสนอข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ วิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้วยสถิติ chi-square test และวิเคราะห์ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าด้วยสถิติ logistic regression

ผล: ผู้เข้าร่วมวิจัยจำนวน 252 ราย อายุเฉลี่ย 77.11±7.29 ปี เป็นผู้หญิงร้อยละ 66.5 พบความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุร้อยละ 8.3 โดยระดับเศร้าเล็กน้อยพบมากที่สุด ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ได้แก่ ระดับการศึกษา ความเพียงพอของรายได้ และคุณภาพการนอนหลับ ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ได้แก่ ระดับการศึกษาสูงสุดต่ำกว่าปริญญาตรี การมีรายได้ไม่เพียงพอ และคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี

สรุป: ภาวะซึมเศร้าเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพจิตที่สำคัญของผู้สูงอายุในหมู่บ้านประชานิเวศน์ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและเป็นปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ได้แก่ ระดับการศึกษา ความเพียงพอของรายได้ และคุณภาพการนอนหลับ 

Downloads

Download data is not yet available.

References

1. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557 [The 2014 Survey of the older persons in Thailand]. กรุงเทพ: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2557. Thai.

2. Sadock BJ, Sadock VA. Kaplan and Sadock's synopsis of psychiatry: behavioral sciences/clinical psychiatry. 11th ed: Philadephia: Lippincott Williams & Wilkins; 2015.

3. American Psychiatric Association. Diagnostic and statistical manual of mental disorders. 5th ed. VA, United States: The Association; 2013.

4. World Health Organization Regional Office for South-East Asia. Conquering depression: you can get out of the blue, New Delhi: WHO Regional office for South-East Asia; 2001.

5. หวาน ศรีเรือนทอง, ธรณินทร์ กองสุข, วชิระ เพ็งจันทร์, พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, เกษราภรณ์ เคนบุปผา, รุ้งมณี ยิ่งยืน และคณะ. ความเสี่ยงการฆ่าตัวตายของคนไทย: การสำรวจระดับชาติ [The suicidality in Thai population: a national survey]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2554;56:413-24. Thai.

6. นภา พวงรอด. การศึกษาภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในจังหวัดนนทบุรี [The Study on Depression in Nonthaburi Province Elderly]. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 2558;2:63-74. Thai.

7. Barua A, Ghosh K, Kar N, Basiliod A. Prevalence of depressive disorders in the elderly: systematic review. Ann Saudi Med. 2011;31:620-4.

8. Newman SC, Bland RC, Orn HT. The prevalence of mental disorders in the elderly in Edmonton: a community survey using GMS-AGECAT. Can J Psychiatry. 1998;43:910-4.

9. Liu CY, Wang SJ, Teng EL, Fuh JL, Lin CC, Lin KN, et al. Depressive disorders among older residents in a Chinese rural community. Psychol Med. 1997;27:943-9.

10. Beekman AT, Copeland JR, Prince MJ. Review of community prevalence of depression in later life. Br J Psychiat. 1999;174:307-11.

11. Aisling D, Kirby M, Bruce I, Cunningham C, Coakley D, Lawlor BA. Three-year prognosis of depression in the community-dwelling elderly. Br J Psychiatry. 2000;176:453-7.

12. Patra P, Alikari V, Fradelos EC, Sachlas A, Kourakos M, Rojas Gil AP, et al. Assessment of depression in elderly. Is perceived social support related? a nursing home study: depression and social support in elderly. Adv Exp Med Biol. 2017;987:139-50.

13. Bien B, Barkowska K. Objective drivers of subjective well-being in geriatric inpatients: mobility function and level of education are general predictors of self-evaluated health, feeling of loneliness, and severity of depression symptoms. Qual Life Res. 2016;25:3047-56.

14. Gero K, Kondo K, Kondo N, Shirai K, Kawachia I. Associations of relative deprivation and income rank with depressive symptoms among older adults in Japan. Soc Sci Med. 2017;189:138-44.

15. Alamri S, Bari A, Ali A. Depression and associated factors in hospitalized elderly: a cross-sectional study in a Saudi teaching hospital. Ann Saudi Med. 2017;37:122-9.

16. สุจรรยา แสงเขียวงาม. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มาใช้บริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบึงคาพร้อย หมู่ 11 อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี [Factors Associated with Depression among the Elderly with Non Communicable Disease in the Health Promoting Hospital at Tambon Bueng KhamPhroi, Moo 11, Lumlukka Distric, Pathumthanee Province]. ใน: การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 9 วันที่ 4 ต.ค. 2560; มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น คณะพยาบาลศาสตร์ วัชรพล; 2560. หน้า 211-21. Thai.

17. FanZhi T, MingSun X, JuanLi S, ShanWang Q, Cai J, ZiLi L, et,al. Associations of sleep duration and sleep quality with life satisfaction in elderly Chinese: the mediating role of depression. Arch Gerontol Geriatr. 2016;65:211-7.

18. Thichumpa W, Howteerakul N, Suwannapong N, Tantrakul V. Sleep quality and associated factors among the elderly living in rural Chiang Rai, northern Thailand. Epidemiol Health. 2018;40:e2018018.

19. Wu CY, Su TP, Fang CL, Chang MY. Sleep quality among community-dwelling elderly people and its demographic, mental, and physical correlates. J Chin Med Assoc. 2012;75:75-80.

20. Winokur A. The relationship between sleep disturbances and psychiatric disorders. Psychiatr Clin North Am. 2015;38:603-14.

21. Patel V, Burns J, Dhingra M, Tarver L, Kohrt B, Lund C. Income inequality and depression: a systematic review and meta-analysis of the association and a scoping review of mechanisms. World Psychiatry. 2018;17:76-89.

22. ชัยวัฒน์ อินไชยา, โสภิณ แสงอ่อน, พัชรินทร์ นินทจันทร์. ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุในชุมชน [factors predicting depression in older adults in community]. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2559;30:17-33. Thai.

23. Aylaz R, Akturk U, Erci B, Ozturk H, Aslan H. Relationship between depression and loneliness in elderly and examination of influential factors. Arch Gerontol Geriatr. 2012;55:548-64.

24. Leung KK, Chen CY, Lue BH, Hsu ST. Social support and family functioning on psychological symptoms in elderly Chinese. Arch Gerontol Geriatr. 2007;44:203-13.

25. กลุ่มฟื้นฟูสภาพสมอง. แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุไทย [Thai Geriatric Depression Scale-TGDS]. สารศิริราช. 2537;46:1-9. Thai.

26. ตะวันชัย จิรประมุขพิทักษ์, วรัญ ตันชัยสวัสดิ์. ปัญหาคุณภาพการนอนหลับของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ [Sleep disturbances among nurses of Songklanagarind Hospital]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2540;42:123-32. Thai.

27. Sitasuwan T, Bussaratid S, Ruttanaumpawan P, Chotinaiwattarakul W. Reliability and validity of the Thai version of the Pittsburgh Sleep Quality Index. J Med Assoc Thai. 2014;97:S57-67.

28. พัทรีญา แก้วแพง, ชนกพร จิตปัญญา. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับอาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยมะเร็งวัยผู้ใหญ่ [Selected factors related to insomnia in adult cancer patients]. วารสารพยาบาลศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2547;18:33-47. Thai.

29. Hirshkowitz M, Whiton K, Albert SM, Alessi C, Bruni O, DonCarlos L, et al. National Sleep Foundation’s updated sleep duration recommendations: final report. Sleep Health. 2015;1:233-43.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-10-09

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ