การศึกษาคุณสมบัติของแบบประเมินความฉลาดทางสติสัมปชัญญะไทย

ผู้แต่ง

  • รุจินันท เหล่านิยมไทย, วท.ม. ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
  • ศุภโชค สิงหกันต์, พ.บ. ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
  • สุชีรา ภัทรายุตวรรตน์, ปร.ด. ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล

คำสำคัญ:

ความฉลาดทางสติสัมปชัญญะ, คุณสมบัติการวัดทางจิตวิทยา, แบบวัดความฉลาดทางสติสัมปชัญญะ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาและทดสอบคุณสมบัติการวัดของแบบประเมินความฉลาดทางสติสัมปชัญญะฉบับภาษาไทย

วิธีการ : แบบประเมินความฉลาดทางสติสัมปชัญญะ (consciousness quotient inventory; CQ-i) ฉบับปี 2004 เป็นมาตรวัดรายงานตนเองแบบลิเคิร์ท (Likert scale) 6 ระดับ จำนวน 257 ข้อ แบ่งเป็น 7 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านร่างกาย (physical CQ) ด้านอารมณ์ (emotional CQ) ด้านปัญญา (cognitive CQ) ด้านความสัมพันธ์ (social-relational CQ) ด้านตัวตน (self CQ) ด้านการเติบโตภายใน (inner-growth CQ) และด้านจิตวิญญาณ (spiritual CQ) แบบประเมินแปลเป็นภาษาไทยและตรวจสอบความตรงกับความเที่ยงในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนิสิตระดับปริญญาตรี จำนวน 250 คน

ผล : แบบประเมินความฉลาดทางสติสัมปชัญญะไทย (CQ-i Thai version) มีดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามและวัตถุประสงค์ (index of item-objective congruence; IOC) อยู่ระหว่าง 0.6 - 1.0 ผ่านเกณฑ์จำนวน 256 ข้อ และมีหนึ่งข้อที่มีค่า IOC น้อยกว่า 0.5 และได้ปรับปรุงตามข้อแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ผลการตรวจสอบความเที่ยงด้วย Cronbach’s alpha อยู่ในระดับดีทั้งฉบับ (.980) และรายองค์ประกอบ (physical CQ = .910, emotional CQ = .894, cognitive CQ = .882, social-relational CQ = .890, self CQ = .848, inner-growth CQ = .847 และ spiritual CQ = .904)

สรุป : แบบประเมิน CQ-i ฉบับภาษาไทย มีค่าความตรงและความเที่ยงอยู่ในระดับดี อย่างไรก็ตาม ควรทดสอบคุณสมบัติอื่นเพิ่มเติม เพื่อความเหมาะสมสำหรับเป็นเครื่องมือในการวิจัยและการประเมินทางคลินิก

Downloads

Download data is not yet available.

References

ทองย้อย แสงสินชัย. สติสัมปชัญญะ ส่วนมากรู้ แต่ไม่มี อ่านว่า สะ-ติ-สา-ปะ-ชัน-ยะ [Most of the consciousness knows it, but doesn't read it: Sa-Ti-Sam-Pa-Chan-Ya]. กรุงเทพฯ: SERIDHAMMA (เสรีชน : เสรีธรรม); 2564 [สืบค้นเมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2564]. จาก: http://dhamma.serichon.us/2020/02/11/สติสัมปชัญญะ-ส่วนมากรู้/.

สมภพ เรืองตระกูล. จิตเวชศาสตร์พื้นฐานและโรคทางจิตเวช [Basic psychiatry and mental disorders]. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์; 2549.

Brazdau O, Opariuc C. Preliminary development of the consciousness quotient inventory (CQ-i): Introducing the conscious experience as a research variable in psychological assessment. Procedia Soc Behav Sci. 2014;127:600-5. doi:10.1016/j.sbspro.2014.03.319.

ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. จิตวิทยาทั่วไป [General psychology]. พิมพ์ครั้งที่ 6. เชียงใหม่: โครงการตำรามหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2543.

Brazdau O, Ahuja S. Higher-order thoughts, neural realization, and the metaphysics of consciousness. In: Satsangi PS, Hameroff S, Sahni V, Dua P, editors. Consciousness: integrating eastern and western perspectives. New Delhi: New Age Books; 2018. p. 187-94.

Brazdau O. Research on the consciousness experience. The consciousness quotient and CQ Inventory (doctoral dissertation). Bucharest: Romanian Academy of Science; 2008.

Brazdau O, Constantinescu PM, Constantinescu I, Butucescu A, Sbircea R. Consciousness quotient inventory improvement: qualitative study using cognitive interviewing approach. Procedia Soc Behav Sci. 2013;78:425-30. doi:10.1016/j.sbspro.2013.04.324.

MacDonald D, Friedman H. Assessment of humanistic, transpersonal, and spiritual constructs: state of the science. J. Humanist. Psychol. 2002;42(4):102-25. doi:10.1177/002216702237126.

Brazdau O. The consciousness quotient: construct development and content validity research. Procedia Soc Behav Sci. 2015;187:244-9. doi:10.1016/j.sbspro.2015.03.046.

Opariuc CD. Analysis internal structure CQ inventory. Constanta: Consciousness Quotient Institute; 2015.

Ahuja S. Effect of Yoga & meditation on consciousness & mindfulness. JCER. 2014;5(5):434-47.

Brazdau O, Mihai C. The consciousness quotient: a new predictor of students’ academic performance. Procedia Soc Behav Sci. 2011;11:245-50. doi:10.1016/j.sbspro.2011.01.070.

Aggarwal N. Measuring consciousness quotient - a study of its influence on employee’s work performance and organizational outcomes. IJSR. 2013:2(11):358-67.

Chauhan V, Sharma S, Satsangee N. Leadership approach in relation to consciousness quotient: a correlational analysis. MJESTP. 2013;3(2):249-60.

Sahni P, Kumar J. Consciousness quotient: a predictor for pro-environmental behaviors. Paper presented at: The Science of Consciousness Conference; 2016 May 5; Tucson AZ.

Ahuja S, Sharma S. Consciousness quotient as a predictor of executive functioning. MJESTP. 2015;5(2):212-24.

ชัชวาล ศิลปกิจ, อรวรรณ ศิลปกิจ. การเจริญสติและแบบวัดสุขภาวะทางจิต [Mindfulness meditation and metal well-being indicators]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2551;16(1):24-32

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS [Researching and analyzing statistical data with the SPSS program]. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี; 2555.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย: คุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยา [Development and validation of research instruments: psychometric properties]. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2555.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม [Dictionary of Buddhism] พิมพ์ครั้งที่ 34. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย; 2559.

จำลอง ดิษยวณิช, พริ้มเพรา ดิษยวณิช. จิตบำบัดเชิงพลศาสตร์ที่อิงสติเป็นพื้นฐาน [Mindfulness-based dynamic psychotherapy]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2557;59(3):179-94.

จุฬารัตน์ เขาประเสริฐ. การประยุกต์ใช้พุทธธรรมในการบาบัดโรคจิตเภท [An application of Buddha Dhamma to heal schizophrenia] [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย; 2548.

สุชีรา ภัทรายุตวรรตน์. ทฤษฎีการวิจัยและการใช้สถิติในการวิจัยเชิงจิตวิทยา [Theories and statistical methods in psychological research]. กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล; 2546.

ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์. เอกสารประกอบการสอน ทฤษฎีการวัดและการทดสอบ [Theory of testing and measurement] [อินเตอร์เน็ต]. สงขลา: ภาควิชาการประเมินผลและวิจัย คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ; 2548 [สืบค้นเมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2559]. จาก: http://watpon.in.th/thai/mod/page/view.php?id=6

สุชีรา ภัทรายุตวรรตน์. คู่มือการวัดทางจิตวิทยา [Manual of psychological testing]. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: เมดิคัล มิเดีย; 2545.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-12