ภาวะสุขภาพจิตกับความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
คำสำคัญ:
ความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง, นักศึกษาเภสัชศาสตร์, ภาวะสุขภาพจิต, มหาวิทยาลัยรังสิตบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจภาวะสุขภาพจิตกับความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง เปรียบเทียบภาวะสุขภาพจิต และศึกษาปัจจัยทำนายภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาทั้งสองสาขา
วัสดุและวิธีการ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวางในนักศึกษาเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 1-5 มหาวิทยาลัยรังสิต เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบเก็บข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของ Rosenberg ฉบับภาษาไทยและแบบคัดกรองปัญหาสุขภาพจิต (General Health Questionnaire ฉบับภาษาไทย 28 ข้อ) วิเคราะห์ผลโดยใช้ Chi-square test การถดถอยโลจิสติก และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน
ผล กลุ่มตัวอย่างจำนวน 591 คน มาจากทั้งสองสาขาใกล้เคียงกัน ลักษณะทั่วไปไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ยกเว้น ชั้นปีที่ศึกษา (p<0.01) และความต้องการย้ายสาขา (p<0.01) ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 73.8) มีความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองในระดับปกติ (ร้อยละ 92.5) นักศึกษามีปัญหาสุขภาพจิตร้อยละ 36.9 ส่วนใหญ่ศึกษาในชั้นปีที่ 4 นักศึกษาสาขาเภสัชกรรมอุตสาหการมีปัญหาสุขภาพจิตมากกว่าสาขาการบริบาลทางเภสัชกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งในภาพรวม (p<0.01) และในระดับชั้นปีที่ 4 (p<0.01) ปัจจัยทำนายปัญหาสุขภาพจิต ได้แก่ ความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง (OR=6.97) การศึกษาในชั้นปีที่ 4 (OR=3.64) การได้รับทุนการศึกษา (OR=2.83) เพศหญิง (OR=2.26) ความต้องการย้ายคณะ (OR=2.26) และนักศึกษาสาขาเภสัชกรรมอุตสาหการ (OR=1.92) ตามลำดับ คะแนนประเมินความรู้สึกเห็นคุณค่าในตัวเองและปัญหาสุขภาพจิตมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= -0.50, p<0.01)
สรุป นักศึกษามีปัญหาสุขภาพจิตร้อยละ 36.9 โดยมีบางปัจจัยที่สามารถปรับปรุงเพื่อยกระดับภาวะสุขภาพจิตให้สูงขึ้นได้ การศึกษาในอนาคตควรหาแนวทางพัฒนาระดับสุขภาพจิตของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ให้อยู่ในระดับดีมากขึ้น
Downloads
References
2. Rangsit University. Faculty of Pharmacy. [cited 2018 May 15]. Available from: https://www2.rsu.ac.th/faculty/Pharmacy. (in Thai)
3. Dutta PA, Pyles MA, Miederhoff P. Measuring and understanding stress in pharmacy students. In: Landow MV, editor. Stress and mental health of college students. New York: Nova Science; 2006. p.1-28.
4. Abbus A, Rizvi SA, Hassan R, Aqeel N, Khan M, Bhutto A, et al. The prevalence of depression and its perceptions among undergraduate pharmacy students. Pharmacy Education 2015;15:57-63.
5. Kochsiripong P. Duangrit D. Attitude of first-year pharmacy students toward pharmacy professional and program selection. Journal of Humanities and Social Sciences 2017;22:29-43. (in Thai)
6. Anuratpanich L. Trait profile and impact of specialty selection: A case of 5th year pharmacy students of Mahidol University academic year 2013. Journal of HR Intelligence 2014;2:64-7. (in Thai)
7. Coopersmith S. Self Esteem Inventories. 2nd ed. California: Consulting Psychologist Press; 1981.
8. Wongpakaran T, Wongpakaran N. A comparison of reliability and construct validity between the original and the revised version of the Rosenberg Self-Esteem Scale. Psychiatry Investig 2012;9:54-8.
9. Nilchaikovit, Sukying C, Silpakit C. Reliability and validity of the Thai version of the General Health Questionaire. Journal of the Psychiatric Association of Thailand 1996;41:2-17. (in Thai)
10. Chuemongkon W, Rungrattanapongporn P, Chantathamma S. Depression, stress and coping strategy among pharmacy students at Srinakharinwirot University. Bulletin of Suanprung 2017;33:1-13. (in Thai)
11. Kanjanasilp J, Saramunee K, Kongsree S, Suthiraksa S, Chummalee I, Hanrin R. The prevalence of stress and depression among pharmacy students at Mahasarakham University. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences 2008;4:65-72. (in Thai)
12. Boonprasert K, Poochareon P. Screening for Depression in Pharmacy Students, Chiangmai University [Special problem]. Chiangmai: Chiangmai University; 2012. (in Thai)
13. Mingprasert A, Sheng KD. A study of mental health and the stress of undergraduate students in Faculty of Pharmacy at Rangsit University. Journal of Social Sciences and Humanities 2014;40:211-27. (in Thai)
14. Chummalee I. Mental health of pharmacy students at Mahasarakham University. Thai Pharmaceutical and Health Science Journal 2009;4:365-9. (in Thai)
15. Arundee P, Udomphon T, Kasikul A, Srilakorn C. Mental health status of Pharmacy students at Rangsit University [Special problem]. Pathumthani: Rangsit University; 2016. (in Thai)
16. Kittirattanapaiboon P, Tantirangsee N, Chutha W, Tanaree A, Kwansanit P, Assanangkornchai S. Prevalence of mental disorders and mental health problems: Thai national mental
health survey 2013. Journal of Mental Health of Thailand. 2017;25:1-19. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- ผู้อ่านสามารถนำข้อความ ข้อมูล จากวารสารไปใช้ไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ เช่น เพื่อการสอน เพื่อการอ้างอิง แต่การนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น เพื่อการค้า จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกรมสุขภาพจิตก่อน
- ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทยเป็นของผู้เขียนบทความและมิได้แสดงว่ากองบรรณาธิการหรือกรมสุขภาพจิตเห็นพ้องด้วย