รูปแบบพฤติกรรมการทำงานส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงในชุมชน
คำสำคัญ:
ชุมชน, ผู้สูงอายุ, รูปแบบพฤติกรรม, สุขภาพจิต, ส่งเสริมบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ เพื่อรายงานเบื้องต้นผลการศึกษารูปแบบพฤติกรรมการทำงานส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงในชุมชน
วัสดุและวิธีการ การวิจัยปฏิบัติการเชิงวิพากษ์ ในจังหวัดนครนายกและฉะเชิงเทรา ระหว่างเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๙-พฤษภาคม ๒๕๖๐ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้ร่วมวิจัยและผู้ให้ข้อมูล ผู้ร่วมวิจัย ได้แก่ เจ้าหน้าที่รัฐ อาสาสมัครสาธารณสุข ครอบครัวของผู้สูงอายุ 48 คน ผู้ให้ข้อมูลคือผู้สูงอายุเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต 22 คน เครื่องมือคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบบันทึกการสังเกต รวบรวมข้อมูลด้วยวิธีสังเกตทั้งแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม บันทึกเทปการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลเขิงปริมาณด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ
ผล ในระยะก่อนดำเนินการวิจัย ไม่มีรูปแบบพฤติกรรมการทำงานที่ชัดเจน เป็นแบบตั้งรับหรือสมัครใจ ขาดการทำงานร่วมกันของหน่วยงานภายในและภายนอกสังกัด ในระยะดำเนินการวิจัย ในวงจรการสร้างทฤษฎีบท ได้รูปแบบพฤติกรรมการทำงาน 6 รูปแบบ ในวงจรการสร้างรูปแบบพฤติกรรมการทำงาน ได้รูปแบบพฤติกรรมการทำงาน 8 รูปแบบ ในระยะสิ้นสุดกระบวนการวิจัย ได้รูปแบบพฤติกรรมการทำงาน 8 รูปแบบ
สรุป รูปแบบพฤติกรรมการทำงานเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงของทีมสุขภาพในชุมชน 8 รูปแบบ ได้แก่ 1) การพูดคุย รับฟัง และสัมผัส 2) การเยี่ยมเยียนและจัดกิจกรรมที่บ้านของผู้สูงอายุบ่อยครั้ง 3) การดูแลสุขภาวะและความเป็นอยู่ 4) การช่วยเหลือเป็นการส่วนตัว 5) เป็นสื่อกลางจัดการความขัดแย้งระหว่างผู้ดูแลและผู้สูงอายุ 6) เอาใจใส่และตอบสนองต่อความต้องการของผู้สูงอายุ 7) การอดกลั้นและปรับตัวเข้าหาผู้สูงอายุ และ 8) การให้คำแนะนำในการดูแลผู้สูงอายุ
Downloads
References
2. Department of Health. Supervision report : April 2015. (Meeting documents). Bangkok: epartment of Health, Ministry of Public Health.
3. The Health Intervention and Technology Assessment Program. Survey on well-being of Thai elderly 2013. Retrieved from http://www.hitap.net/wp-content/uploads/2014/10รายงานผู้สูงอายุ-2556.pdf [22 April 2017]
4. Martin LG, Preston SH. Demography of aging. Retrieved from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK236671/ [22 April 2017]
5. Lyyra TM, Heikkinen RL. Perceived social support and mortality in older people. J Gerontol B Psychol Soc Sci 2006;61:S147-52.
6. National Statistic Offi ce. Survey on social status, culture and mental health : 2008. Retrieved from http://service. nso.go.th/nso/nsopublish/pocketBook/culture51.pdf [22 April 2017]
7. Choorat W, Sawangdee Y, Arunraksombat S. Factors Infl uencing the risk of having mental health problems of Thai elderly. Thai Popul J 2012;3:87-109.
8. Pongsaengpan P, Rodjarkpai Y . Community participation on elderly health promotion in Eastern Thailand. public health J Burapha 2014;9:14-8.
9. Patanung B, Chamruspanth V. Health promotion system for being active ageing among elderly people in Non Udom Sub-District, Muangyang District, Nakhonratchasima Province [thesis]. Khon Kaen: College of Local administration KhonKaen University; 2013.
10. Thammaseang A, Kankhwao B, Kankhwao P. Caregiving of elderly persons by family and community supportive in urban and suburban community. KhonKaen Province. Khonkaen: Sirindhorn College of Public Health; 2011.
11. Kaewsod C, Pongpaw S, Wannajak P, Ekkantrong P, Keawsuwan B. Study and development a model of long-term health care of the elderly with more integrated involvement of the community. Retrieved from fi le:///C:/Users/Home/Downloads/pdf_61670bc61f5f4d050f8dca0502
6e1af2.pdf [22 April 2017]
12. Sittipreechachan P, Priyatruk P, Chotkakam Y. Community participation in the process of care of elderly at MABCARE subdistrict. J Thai Army Nurs 2012;13:8-17.
13. Kemmis S. McTaggart R. The action research reader. 3rd edition. Victoria: Deakin University Press; 1988.
14. Suvanashiep S. Psychiatrist’s experience in elderly care. [Interview] Nonthaburi: Bureau of Mental Health Technical Development Meeting Room [2 December 2011]
15. Sitthisarn T. Factors Infl uence on the mental health of the elderly in the Kamphaengsaen Hospital Elderly Club, Nakhon Pathom Province. J Soc Sci Hum 2009;35:160-72.
16. Ruayboonsong T. Self-esteem, social support and mental health of the elderly at the elderly club, Srithanya Hospital. [thesis]. Bangkok: Faculty of Social Sciences Kasetsart University; 2009.
17. Bandura A. The ethics and social purposes of behavior modifi cation. In C.M. Franks & G.T. Wilson (Eds.), Annual review of behavior therapy theory and practice (Vol.3). New York: Brunner/Mazel; 1975.
18. Bandura A. Self-effi cacy: toward a unifying theory of behavioral change. Psychol Rev 1977;84:191-215.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- ผู้อ่านสามารถนำข้อความ ข้อมูล จากวารสารไปใช้ไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ เช่น เพื่อการสอน เพื่อการอ้างอิง แต่การนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น เพื่อการค้า จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกรมสุขภาพจิตก่อน
- ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทยเป็นของผู้เขียนบทความและมิได้แสดงว่ากองบรรณาธิการหรือกรมสุขภาพจิตเห็นพ้องด้วย