ลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมแบบ Lewy bodies

ผู้แต่ง

  • Papan Thaipisuttikul ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • Pitchayawadee Chittaropas ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • Sudawan Jullagate ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

โรคสมองเสื่อม, อาการทางจิต

บทคัดย่อ

              วัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยโรค neurocognitive แบบ Lewy bodies (NCDLB)

              วัสดุและวิธีการ  เป็นการศึกษาไปข้างหน้าในผู้ป่วยรักษาที่คลินิกความจำและคลินิกจิตเวช โรงพยาบาลรามาธิบดีระหว่าง มีนาคม ๒๕๕๗-กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙   รวบรวมข้อมูลด้วยแบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย (Mini-Mental Status Examination Thai: MMSE-Thai) ประเมินอาการทางพฤติกรรมและจิตใจของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม (Neuropsychiatric inventory: NPI-Q) แบบสอบถามอาการโรคจิตที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม Lewy bodies  แบบคัดกรองอาการพาร์กินสัน และแบบประเมินปัญหาการนอนที่ปรับปรุงมากจาก Mayo sleep questionnaire

               ผล   ผู้ป่วย 24 คน เข้าเกณฑ์การวินิจฉัยโรค neurocognitive แบบ Lewy bodies (NCDLB) อายุเฉลี่ย 72 ปี  การศึกษาเฉลี่ยระดับมัธยมปลาย จำแนกเป็นกลุ่มอาการระดับอ่อน  8 คน และกลุ่มอาการระดับหลัก 16 คน โดยกลุ่มอาการระดับอ่อนมีอาการนำทางจิตเวชมากกว่าปัญหาความจำ ในขณะที่กลุ่ม อาการระดับหลัก มีปัญหาความจำใกล้เคียงกับอาการทางจิตเวช ปัญหาพฤติกรรมและอาการทางจิตที่พบในกลุ่มอาการระดับอ่อนได้แก่ หงุดหงิด กังวล ซึมเศร้า เฉยเมย และ ความหลงผิดแบบ Capgras  ส่วนกลุ่มอาการระดับหลักได้แก่ หลงผิด หงุดหงิด ประสาทหลอน และปัญหาการนอน

               สรุป    ผู้ป่วยในกลุ่มอาการระดับอ่อน มีปัญหาพฤติกรรมและอาการทางจิตเวชเป็นอาการนำมากกว่าปัญหาความจำ ในขณะที่กลุ่มอาการระดับหลัก  มีปัญหาพฤติกรรมและอาการทางจิตเวชและปัญหาความจำใกล้เคียงกันซึ่งแตกต่างจากกลุ่มผู้ป่วยอัลไซเมอร์

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-01-31

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ