การจัดการปัญหาด้านขยะมูลฝอยในชุมชนเขตเทศบาลตำบลบ้านด่านโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
การจัดการ, ขยะมูลฝอย, การมีส่วนร่วม, ชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและการจัดการปัญหาด้านขยะมูลฝอยในชุมชนโดยชุมชนมีส่วนร่วม เขตเทศบาลตำบลบ้านด่านโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ผู้ให้ข้อมูลคัดเลือกแบบเจาะจงจำนวน 24 คน ประกอบด้วยผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานของเทศบาลฯ ผู้นำภาคเอกชนและวิสาหกิจชุมชน ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาขยะมูลฝอยในชุมชน เก็บข้อมูลโดยการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึกและ การสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์แก่นสาระ
ผลการศึกษา พบว่า เทศบาลตำบลบ้านด่านโขงเจียมมีปริมาณขยะมูลฝอย 4 ตันต่อวันโดยส่วนใหญ่เป็นขยะต้นทางที่เป็นขยะอินทรีย์ ซึ่งในช่วงของการระบาดของ Covid-19 มีขยะอันตรายซึ่งรวมถึงขยะติดเชื้อถึง 1.4 ตันต่อวัน โดยแหล่งกำเนิดมาจากหลายส่วน เช่น บ้านเรือน สถานประกอบการ นักท่องเที่ยวและ การลักลอบนำขยะจากที่อื่นมาทิ้งในเขตเทศบาล ทั้งนี้เทศบาลได้ดำเนินการจัดเก็บขยะทุกวันแต่ยังพบปัญหาขยะตกค้างในชุมชนอันเนื่องมาจากข้อจำกัดด้านงบประมาณ บุคลากรและวัสดุอุปกรณ์ อีกทั้งพฤติกรรม ของประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่มีการคัดแยกขยะ ซึ่งปัญหาขยะตกค้างนี้นำไปสู่การร้องเรียนของผู้ได้รับผลกระทบในชุมชน นอกจากนี้แล้วปัญหาขยะมูลฝอยยังส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ ได้แก่ การลดลงของนักท่องเที่ยวและรายได้ที่ลดลงของผู้ประกอบการ ผลกระทบต่อสุขภาพ รวมทั้งด้านภูมิทัศน์ที่ไม่สวยงาม อย่างไรก็ดีการจัดการปัญหาของขยะมูลฝอยได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายที่เข้ามาช่วยจัดการปัญหาได้แก่ ผู้นำชุมชน กรรมการชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุขในการจัดการขยะในภาคครัวเรือน เช่น การให้ความรู้กับประชาชน การจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนในครัวเรือนและการทำปุ๋ยอินทรีย์ เป็นต้น นอกจากนี้สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดอุบลราชธานียังเข้ามาร่วมอบรมให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่อีกด้วย
References
กรมควบคุมมลพิษ. ปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน: แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ.2559-2564). กรุงทพฯ: บริษัท แอคทีฟพริ้นท์ จำกัด; 2559.
กรมควบคุมมลพิษ. สถานการณ์ขยะในประเทศไทยไทย: รายงานสถานการณ์สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2564. กรุงทพฯ: กรมควบคุมมลพิษ; 2564.
สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 12. สถิติข้อมูลการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี. อุบลราชธานี: สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 12; 2563.
สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 12. สถิติข้อมูลการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี. อุบลราชธานี: สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 12; 2564.
เทศบาลตำบลบ้านด่านโขงเจียม. จำนวนประชากรเทศบาลตำบลบ้านด่านโขงเจียม: แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ.2564-2565. อุบลราชธานี: เทศบาลตำบลบ้านด่านโขงเจียม; 2564.
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลบ้านด่านโขงเจียม. รายงานการดำเนินการงานสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ประจำปีงบประมาณ 2564. อุบลราชธานี: เทศบาลตำบลบ้านด่านโขงเจียม; 2564.
ตรียากานต์ พรมคำ. การศึกษาสภาพปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารชุมชนวิจัย. 2563; 14(4): 52-62.
วิทูร เอียการนา, ดิฐา แสงวัฒนะชัย. การศึกษาการจัดการขยะมูลฝอยภายในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 2563; 15(2): 87-99.
ภัทรานิษฐ์ ศรีจันทราพันธุ์, อำพรรณ ไชยบุญชู. การศึกษาปริมาณขยะ ในครัวเรือนช่วงการแพร่ระบาด ของโรคไวรัสโคโรนา 2019.วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2564; 41(2): 1-17.
กรมควบคุมมลพิษ. สถานการณ์มูลฝอยชุมชน: รายงานสถานการณ์สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ 2563. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมมลพิษ; 2563.
กรมควบคุมมลพิษ. ผลกระทบจากขยะมูลฝอย: รายงานสถานการณ์สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมมลพิษ; 2564.
นิวัฒน์ รังสร้อย. ประสิทธิผล การบริหารจัดการขยะมูลฝอยอย่างเป็นระบบของชุมชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 2564; 7(2): 307-321.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health) ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว