ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ถูกต้องและปลอดภัย ตำบลปะโค อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • วิทยา พันแฮด สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดอุดรธานี
  • สุพัฒน์ กองศรีมา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี
  • นครินทร์ ประสิทธิ์ อาจารย์ สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พีรยุทธ แสงตรีสุ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี
  • ณัฐพร นิจธรรมสกุล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนอุดม จังหวัดสกลนคร
  • ภูวนาถ ศรีสุธรรม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนสะอาด จังหวัดขอนแก่น
  • อัมภาวรรณ นนทมาตย์ โรงพยาบาลกรุงเทพ ขอนแก่น

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, เกษตรกรผู้ปลูกอ้อย, การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ถูกต้องและปลอดภัย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย ในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ถูกต้องและปลอดภัย ตำบลปะโค อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี เกษตรกรผู้ปลูกอ้อย ตำบลปะโค อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี จำนวนประชากร 7,293 คน คำนวณกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ จำนวน 208 คน สุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบวิธีการสุ่มอย่างรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทุกข้อคำถามมีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.05 และค่าความเที่ยงของแบบสอบถามได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ของครอนบาช 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน และการถดถอยพหุเชิงเส้นแบบขั้นตอน โดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05

ผลการศึกษาพบว่าภาพรวมของปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ถูกต้องและปลอดภัย อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.21(S.D.=0.46) และค่าเฉลี่ย 4.29 (S.D.= 0.45) ตามลำดับ โดยพบว่าภาพรวมปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วม มีความสัมพันธ์ระดับสูงกับการมีส่วนร่วมของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย ในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ถูกต้องและปลอดภัย (r = 0.820,p-value = < 0.001) และพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วม   ด้านจูงใจ ด้านกลไกของของรัฐ ด้านนักพัฒนา มีผลและสามารถร่วมพยากรณ์ การมีส่วนร่วมของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ถูกต้องและปลอดภัย ตำบลปะโค อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี ได้ร้อยละ 74.7  (R2 Adj=0.747)

References

วันปิติ ธรรมศรี. ผลกระทบทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมีทาง การเกษตรของเกษตรกรไทย. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 2564; 39(4): 329-36.

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมกรมควบคุมโรค. คู่มือเกษตรกรปลอดโรคสำหรับเกษตรกรและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข. 2553.

กลุ่มพัฒนาระบบข้อมูลและตอบโต้ ภาวะฉุกเฉิน กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์ การเฝ้าระวังภัยด้านสารเคมี ปี 2565 รอบ 6 เดือนแรก. [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 22 ม.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor2//files/ChemDisasterSituation_2565_1.pdf

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม. อ้อยและน้ำตาลทราย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม; 2562.

Thuybungchim S. Quality of Pesticide Poisoning Patients Surveillance Reports in Udon Thani Province, 2006-2007. Journal of the Office of DPC 6 Khon Kaen. 2008; 16(1): 97-106.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ระบบเฝ้าระวังสุขภาพด้านโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 28 ธ.ค. 2565] เข้าถึงได้จาก: http://inenvocc.ddc.moph.go.th/envoccsmart/app/knowledge/detail/5.2565

Becker MH, Maiman LA. The Health Belief Model and and Sick Role Behavior, In the Health Belief Model and Personal Health Behavior. New Jersey: Chales B. Slack; 1975.

กลุ่มสารสนเทศการเกษตรสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอุดรธานีสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. ข้อมูลพื้นฐานของจังหวัดอุดรธานี [อินเทอร์เน็ต]. อุดรธานี: สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 22 ม.ค. 2565] เข้าถึงได้จาก: https://www.opsmoac.go.th/udonthani-dwl-files-432891791823

Cohen J. Statistical power analysis for the behavior sciences. 2nd ed. Hillsdale New Jersey: Lawrence Erlbaum; 1988.

ธีระยุทธ บุตรทหาร. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรในอำเภอทับปุดจังหวัดพังงา. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 2022; 18(2): 47-56.

สำเริง จันทรสุวรรณ, สุวรรณ บัวทวน. ระเบียบวิจัยทางสังคมศาสตร์. ขอนแก่น: ภาควิชาสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2547.

Kirk WE, Richard PR, Audrey H. Fundamentals of social statistics. 2nd ed. New York: McGraw-Hill; 1990.

สมหญิง สิงห์ทอง, สมศักดิ์ อินทมาต. ผลของการประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดง. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและ สุขภาพชุมชน. 2023; 8(2): 677-86.

ธีระยุทธ บุตรทหาร. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรในอำเภอทับปุดจังหวัดพังงา. วารสารวิชาการ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 2022; 18(2): 47-56.

บัวทิพย์ แดงเขียน, พิมพรรณ รัตนโกมล, อัศวเดช สละอวยพร, มณฑาทิพย์ สุรินทร์อาภรณ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันอันตราย จากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร จังหวัดชัยนาท. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 2561; 10(4): 107-22.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2024