ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ของนักศึกษาอาชีวศึกษา อายุ 15-24 ปีที่กำลังศึกษาอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ชลฎา ชินตุ นักศึกษา หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • นภากร สุกแก้ว นักศึกษา หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ศันสนีย์ จันทสุข อาจารย์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์ อาจารย์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

การมีเพศสัมพันธ์, พฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์, การส่งเสริมสุขภาวะทางเพศ, นักเรียนอาชีวศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ของนักศึกษาอาชีวศึกษาอายุ 15-24 ปี ที่กำลังศึกษาในเขตอำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น จากประชากรจำนวน 340 คน สุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบได้กลุ่มตัวอย่าง 160 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้างที่ได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และทดสอบความเที่ยงของเครื่องมือได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าคอนบราค (Cronbach’s alpha) เท่ากับ 0.80 ใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบไปด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด สถิติเชิงอนุมานใช้สถิติพหุถดถอยโลจิสติกในการประเมินปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ ของนักศึกษาอาชีวศึกษา นำเสนอค่า Adjusted OR ที่ช่วงความเชื่อมั่น 95%CI, p-value

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 60.74 ความชุกของการมีเพศสัมพันธ์ในนักศึกษาอาชีวศึกษาคิดเป็นร้อยละ 47.76 พฤติกรรมเสี่ยงและปัจจัยเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงในการมีเพศสัมพันธ์ ได้แก่ ระดับความรู้เกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ คิดเป็น 3.14 เท่า เมื่อเทียบกับระดับความรู้ต่ำถึงปานกลาง (AOR = 3.14 ; 95% CI 1.40 to 7.06 p-value = 0.006) และการได้รับอิทธิพลจากเพื่อนอยู่ในระดับปานกลางถึงมาก คิดเป็น 2.51 เท่า เมื่อเทียบกับระดับการได้รับอิทธิพลจากเพื่อนระดับน้อย (AOR = 2.51 ; 95% CI 1.29 to 4.89 p-value = 0.007)

References

Sully EA, Biddlecom A, Daroch J, Riley T, Ashford L, Lince-Deroche N et al., Adding It Up: Investing in Sexual and Reproductive Health 2019. New York: Guttmacher Institute; 2020.

Darroch J, Woog V, Bankole A, Ashford LS. Adding it up: Costs and benefits of meeting the contraceptive needs of adolescents. New York: Guttmacher Institute; 2016.

กระทรวงสาธารณสุข. ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์ Health Data Center (HDC) ระดับจังหวัด, ระดับเขตและระดับกระทรวง [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 24 มี.ค. 2565] เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการ ตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ปีงบประมาณ 2563 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 22 ก.ค. 2565] เข้าถึงได้จาก: https://doc.anamai.moph.go.th/index.php?r=str-project/view&id=3694

เทพไทย โชติไชย, เสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ, ปรีชา สุวรรณทอง, ศันสนีย์ จันทสุข, ภานุวัฒน์ ศรีโยธา, อ้อยทิพย์ บัวจันทร์. พฤติกรรมเสี่ยงและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและ การสาธารณสุขภาคใต้. 2564; 8(1): 278-92.

มาลี สบายยิ่ง. พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในสังคมสมัยปัจจุบัน. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2561; 3(30): 121-27.

พรนภา มะโนนึก, บุญฐิตา สัตยกิจกุล, วรวุฒิ ชมพูพาน. สถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายใน โรงเรียนอำเภอแห่งหนึ่ง ในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและ การสาธารณสุขชุมชน. 2564; 4(1): 105-18.

ปัญญ์กรินทร์ หอยรัตน์, ปราโมทย์ วงสวัสดิ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรรมการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. วารสารวิจัยสุขภาพและ การพยาบาล 2563; 36(1): 149-63.

ภาสิต ศิริเทศ, ประกายรัตน์ ทุนิจ, วรัฏฐา เหมทอง, กาญจนา บุศราทิจ. ความรู้เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และเจตคติ การป้องกันโรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์ตามพระราชบัญญัติ โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่ อําเภอเมืองจังหวัดเพชรบุรี ปี 2563. วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข. 2563; 6(ฉบับเพิ่มเติม): S53-S70.

Bandura A. Self-Efficacy: The Exercise of Control. W.H. Freeman and Company. New York: Henry Holt & Co.; 1997.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2024