ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานตลาดสดของผู้ค้า ตำบลแม่สูน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ปรัชพร สมธง นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ, องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สูน จังหวัดเชียงใหม่
  • วิราสิริริ์ วสีวีรสิว์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์, มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

การปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานตลาดสด, ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานตลาดสด, แรงจูงใจต่อการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานตลาดสด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานตลาดสดของผู้ค้า ตำบลแม่สูน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ค้าตลาดสด ตำบลแม่สูน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 255 คน สุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างวันที่ 1 เดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการศึกษา พบว่า การปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานตลาดสดของผู้ค้า อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 65.49 อยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 32.16 และอยู่ในระดับน้อย ร้อยละ 2.35 ตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานตลาดสดของผู้ค้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานตลาดสด และปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ และระยะเวลาในการค้าขาย

ผลการศึกษาครั้งนี้ เสนอแนะให้หน่วยงานที่รับผิดชอบมาตรฐานตลาดสดควรเพิ่มนโยบายด้านสถานที่ค้าขาย โดยสร้างแรงจูงใจและให้ความรู้แก่ผู้ค้าตลาดสดในการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานตลาดสด และควบคุมผู้ค้าตลาดสด ด้านระเบียบวินัยและความสะอาดในการค้าขาย

References

สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือวิชาการสุขาภิบาลอาหารสำหรับเจ้าหน้าที่ [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2556. [เข้าถึงเมื่อ 4 ม.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER17/DRAWER002/GENERAL/DATA0001/00001017.PDF

สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2562. [เข้าถึงเมื่อ 4 ม.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก:http://foodsan.anamai.moph.go.th/main.php?filename=standard_cfgt

พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535. ราชกิจจานุเบกษา. หน้า 28. 29 มีนาคม 2535.

พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537. ราชกิจจานุเบกษา. หน้า 24. 26 พฤศจิกายน 2537.

Daniel WW. Cross CL. Biostatistics: a foundation for analysis in the health sciences. 10th ed. New Jersey: John Wily & Sons. 2012.

Airasian WP, Bloom SB, Carroll BJ. Mastery Learning Mastery Learning Theory and Practice. New York: Holt, Rinchart and Winston; 1956.

Herzberg F, Mausner B, Synderman B. The motivation to work. New York: John Wiley and Sons; 1959.

กภัสสร รัตนมณี. การศึกษาความรู้และ การปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลอาหารของผู้สัมผัสอาหารในโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโภชนศาสตร์ศึกษา]. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2558.

อภิชาติ น้อยถนอม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสภาพสุขาภิบาลอาหารของร้านจำหน่ายอาหารตามสั่งบริเวณหาดเจ้าหลาว-แหลมเสด็จ อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2546.

ลลนา ทองแท้. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามหลักสุขวิทยาส่วนบุคคล ด้านสุขาภิบาลอาหารของผู้สัมผัสอาหาร ในเทศบาลนครรังสิต. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ การสร้างเสริมสุขภาพ]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต; 2560.

ธนพร วังมูล. แรงจูงใจการประกอบกิจการร้านอาหารประเภทร้านอาหารทั่วไป (Fast dining). [สารนิพนธ์ปริญญา การจัดการมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยมหิดล; 2562.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2024