การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอย องค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
การจัดการขยะมูลฝอย, การมีส่วนร่วม, แรงจูงใจ, ทัศนคติบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณาแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนใน การจัดการขยะมูลฝอย องค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่เป็นตัวแทนครัวเรือนที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ที่มีหน้าที่ทำหน้าที่จัดการขยะมูลฝอย จำนวน 290 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาของจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน และทดสอบค่าความเที่ยงของเครื่องมือได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบาช (Cronbach’s alpha) เท่ากับ 0.886 เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1 เดือนพฤษภาคม 2566 - 30 มิถุนายน 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการศึกษาพบว่า การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง ร้อยละ 46.21 ระดับมาก ร้อยละ 37.24 และระดับน้อย ร้อยละ 16.55 ผลการศึกษาพบว่า เพศ มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001) นอกจากนั้นยังพบว่า แรงจูงใจในการจัดการขยะมูลฝอย และทัศนคติต่อการจัดการขยะมูลฝอยมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001)
ข้อเสนอแนะให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่ ควรส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยให้มากขึ้น โดยการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนอยากเข้ามามีส่วนร่วม และประชาสัมพันธ์ให้เห็นประโยชน์ เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีต่อการจัดการขยะในชุมชน และสร้างโอกาสให้ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยเพิ่มขึ้น
References
อรรถสิทธิ์ เหมือนมาตย์. โลกที่ถูกถาโถมด้วย “ขยะ” ปัญหาใหญ่และหมักหมม จนยากจะเยียวยา.[อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 21 ส.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.salika.co/2022/03/28/world-of-waste-big-problem/
กรมควบคุมมลพิษ. รายงานสถานการณ์สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยชุมชน ของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2565. [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 21 ส.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.pcd.go.th/publication/29509
กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. คู่มือประชาชนการคัดแยกขยะมูลฝอยอย่างถูกวิธีและเพิ่มมูลค่า. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: ฮีซ์ จํากัด; 2558.
องค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ด. แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2561-2565. บุรีรัมย์: องค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ด; 2561.
Daniel WW. Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences. 9th ed. New York: John Wiley & Sons. 2010.
Bloom BS, Max DE, Edward JF, Walker HH, David RK. Taxonomy of educational objectives: The classification of educational goals handbook 1, Cognitive domain. New York: David Mckay Company, Inc.; 1956.
ทนงศักดิ์ ปัดสินธุ์. การมีส่วนร่วม ของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอย ของชุมชน ตำบลหนองกุงสวรรค์ อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; 2561.
ศรัณย์ ฐิตารีย์, สุรศักดิ์ โตประสี, ทัชชญา วรรณบวรเดช, วรินรำไพ สารกูล, นรวัฒน์ ศรีเทพ. การมีส่วนร่วมใน การจัดการขยะของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารสารสนเทศ. 2559; 15(2): 92-102.
ฌัลลกัณฐ์ โยธะกา. ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะพลาสติกต้นทางในยุคชีวิตวิถีใหม่ ในเขตเทศบาลเมืองท่าใหม่ อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์; 2564.
ชนันฐพัทธ์ เรณู, วิราสิริริ์ วสีวีรสิว์. การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2566; 9(3): 125-134.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health) ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว