คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
คุณลักษณะส่วนบุคคล, ปัจจัยทางการบริหาร, การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทีมเฝ้าระวังสอบสวน เคลื่อนที่เร็วบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดชัยภูมิ ประชากรที่ศึกษา คือ เจ้าหน้าที่ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 167 คน สุ่มอย่างง่ายได้จำนวนตัวอย่าง 138 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เพื่อเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและแนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจำนวน 12 คน แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทุกข้อคำถามมีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.50 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.92 เก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างวันที่ 23 มกราคม ถึง 23 กุมภาพันธ์ 2566 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานโดยมีการกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมระดับปัจจัยทางการบริหารและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.74 (S.D.=0.33) และ3.79 (S.D.=0.45) ตามลำดับ โดยพบว่า ภาพรวมปัจจัยทางการบริหารและคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านสถานภาพสมรส(โสด),ตำแหน่ง(นักวิชาการสาธารณสุข)
มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางและระดับต่ำกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.622,r=0.347, p-value <0.001 และ r=0.202, p-value=0.017) ตามลำดับ ในขณะที่คุณลักษณะส่วนบุคคลด้าน อายุ รายได้ ระยะเวลาการปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์เชิงผกผันในระดับปานกลางกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (r=-0.491, r=-0.489, และ r =-0.454, p-value <0.001) ตามลำดับ และตัวแปรอิสระทั้ง 3 ตัวแปร ได้แก่ ปัจจัยทางการบริหารด้านบุคลากร ด้านเทคโนโลยี และคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านรายได้ มีผลและสามารถร่วมกันพยากรณ์ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดชัยภูมิ ได้ร้อยละ 47.6 (= 0.476, p-value <0.001)
References
กระทรวงสาธารณสุข. พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558. พิมพ์ครั้งที่ 2; กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2559.
กรมควบคุมโรค. มาตรฐานการปฏิบัติงานของทีม SRRT ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2552- 2555. กรุงเทพฯ: กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2563.
John RS, Richard NO, Mary U, James GH. Organizational Behavior 12th ed. United States of America: John Wiley & Sons; 2011.
ประจักร บัวผัน. หลักการบริหารสาธารณสุขคณะสาธารณสุขศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่4. ขอนแก่น : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2558.
Cohen, J. Statistical power analysis for the behavior sciences. 2nd ed. Hillsdale,
NJ: Lawrence Erlbaum Inc.; 1988.
สุวิชัย ถามูลเลศ, ประจักร บัวผัน. ปัจจัยการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. 2561; 1(1): 28-31.
วีนัส พีชวณิชย์, สมจิต วัฒนาชยากูล, เบญจมาศ ตุลยนิติกุล. สถิติพื้นฐานสำหรับนักสังคมศาสตร์พร้อมการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ไมโครซอฟท์เอ็กเซล. กรุงเทพฯ: ประกายพรึก; 2547.
อรุณ จิรวัฒน์กูล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ.พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น: ภาควิชาชีสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาลัยขอนแก่น; 2551.
สำเริง จันทรสุวรรณ, สุวรรณ บัวทวน. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. ขอนแก่น: ภาควิชาสังคมวิทยาและมนุษย์วิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2547.
Elifson KW, Richard RP, Haber A. Fundamentals of Social Statistics. 2nd edition. New York: McGraw-Hill Inc.; 1990.
ไพวัน แก้วประเสิด, ประจักร บัวผัน, สุรชัย พิมหา. คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลรัฐเขตนครหลวงเวียงจันทน์. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2563; 20(2): 96-107.
พยุดา ชาเวียง, ประจักร บัวผัน. แรงจูงใจและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการดำเนินงานพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอ ของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น วารสารวิจัย มข.
(ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2560; 17(1): 56-67.
ศรัณยา พันธุ์โยธา, ประจักร บัวผัน. ปัจจัยทางการบริหารและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2564; 21(2): 152-165.
อ้อมขวัญ ศรีทะ, ประจักร บัวผัน, สุทิน ชนะบุญ. คุณลักษณะส่วนบุคคลและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการควบคุมกำกับการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2562; 12(3): 595-630.
มณีรัตน์ ช่างไม้, ชนะพล ศรีชา. คุณลักษณะส่วนบุคคลและสุนทรียทักษะผู้นำที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2562; 11(4): 65-72.
Likert, R. The human organization: Its management and values. New York: McGraw-Hill Inc.; 1967.
สมโภช ยอดดี, อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ. ปัจจัยการบริหารและกระบวนการบริหารที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดสงขลา. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน. 2561; 1(2): 41-53.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health) ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว