ความพร้อมในการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต สถาบันพระบรมราชชนก

ผู้แต่ง

  • มณีชนก ปัญจบุรี
  • อาทิตยา ชัยกันทา
  • ดาวรุ่ง คำวงศ์ -
  • นิพนธ์ แก้วต่าย

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยโควิด-19, การรักษาตัวอยู่ที่บ้าน, การแพทย์แผนไทย

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อมในการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรการแพทย์แผนไทย ของวิทยาลัย      ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก 4 แห่ง จำนวน 99 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เกี่ยวกับความพร้อมด้านความรู้และด้านการปฏิบัติงานให้การรักษา ใช้สถิติเชิงพรรณนา เพื่อบรรยายลักษณะข้อมูลส่วนบุคคลและคะแนนความพร้อม และใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) เพื่อทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยของความพร้อมด้านความรู้และด้านการปฏิบัติงานให้การรักษาระหว่างกลุ่ม

     ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพร้อมด้านความรู้และด้านการปฏิบัติงานให้การรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย อยู่ในระดับมาก นอกจากนี้ผลการศึกษายังพบว่า สถานศึกษา
ที่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างมีความพร้อมด้านความรู้และด้านการปฏิบัติงานให้การรักษาผู้ป่วยโควิด-19 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นสถาบันพระบรมราชนกและสถานศึกษาในสังกัดแต่ละแห่งสามารถนำผลการศึกษานี้ใช้เป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมกับนักศึกษาทั้งด้านความรู้และด้านการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ก่อนที่จะสำเร็จการศึกษาต่อไป

References

World Health Organization. Coronavirus disease (COVID-19) outbreak: Coronavirus disease (COVID-19) pandemic [Internet]. 2020 [cited 2021 Oct 16].

Available from: https://www.euro.who.int/en/health-topics/health-emergencies/coronavirus-covid-19/novel-coronavirus-2019-ncov.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์ผู้ป่วย COVID-19 ภายในประเทศ [อินเทอร์เน็ต]. Tableau Software. 2564

[เข้าถึงเมื่อ 18 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://public.tableau.com//views/SATCOVIDDashboard_WEEK/1-dash-week?:size=1200,1050&:embed=y&:showVizHome=n&:bootstrapWhenNotified=y&:tabs=n&:toolbar=n&:apiID=host0#navType=0&navSrc=Parse.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์ผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ต่อโรคไม่ติดต่อและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย :: สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2565].

เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/2016/media-detail.php?id=14443&tid&gid=1-015-005&fbclid=IwAR2fpxxpKrnKn8wchAC3RbQ8c3uYLkBdNAACRYetR_o5T2h5UkRvE6JLTkQ.

ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การยกเลิกกรณีที่มีเหตุสมควรเกี่ยวกับโรคโควิด 19 เพื่อรองรับการเป็นโรคประจำถิ่น พ.ศ. 2565 [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 13 กรกฎาคม 2565].

เข้าถึงได้จาก: https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/152/T_0050.PDF.

ศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร. คู่มือดูแลสุขภาพสำหรับประชาชนในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ระลอก 3 ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยและสมุนไพร [อินเทอร์เน็ต]. 2564

[เข้าถึงเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://dmsic.moph.go.th/index/detail/8731.

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. แนวทางการดูแลรักษาโควิด 19 ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ตามแนวทางการดูแลรักษาอยู่ที่บ้าน (Home Isolation) ในระบบหลักประกันสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dtam.moph.go.th/index.php/th/dtam-news/dn/7428-dn0043.html.

Wayne W. D. Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences. 6th ed. John Wiley&Sons, Inc; 180 p.

Ngamjarus C, Chongsuvivatwong V. n4Studies: Sample Size Calculation for an Epidemiological Study on a Smart Device. Siriraj Medical Journal. 2016; 68(3): 160-70.

วราภรณ์ ยศทวี, เสริมศรี ไชยศร, วีณาวโรตมะวิชญ, พงษ์ศักดิ์ แป้นแก้ว. การพัฒนาหลักสูตรเสริมประสบการณ์เพื่อสร้างความตระหนักในคุณค่าของชีวิตสำหรับนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก. 2017; 18(suppl.2): 365-72.

Abdulloh W, Niemted W. Arrangement of Learning Environment to Promote Learning Skills in the 21st Century “Concept Theory and Practice.” Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences. 2020; 7(2): 227–46.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2023