ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงาน จากการระบาดของโรคโควิด-19 ของกำลังคนด้านสุขภาพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดหนองคาย
คำสำคัญ:
แรงจูงใจ, คุณภาพชีวิตการทำงาน, ปัจจัยจูงใจ, ปัจจัยค้ำจุนบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของกำลังคนด้านสุขภาพ ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดหนองคาย
โดยใช้ทฤษฎีสองปัจจัย (Two factor theory) ของ Frederick Herzberg ประชากรที่ศึกษาจำนวน 525 คน ซึ่งถูกเลือกโดยการสุ่มแบบเป็นระบบได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 207 คน ใช้แบบสอบถามมีโครงสร้างที่ได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และทดสอบค่าความเที่ยงของเครื่องมือได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของคอนบาช (Cronbach’s alpha) เท่ากับ 0.96 ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการอธิบายปัจจัยแรงจูงใจ คุณภาพชีวิตการทำงานและสถิติการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นหลายตัวแปร ประเมินปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงาน นําเสนอคา Adjusted mean difference และ p-value
ผลการวิจัยพบว่า แรงจูงใจภาพรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยจูงใจอยู่ในระดับมาก ปัจจัยค้ำจุนอยู่ในระดับมาก ด้านคุณภาพชีวิตการทำงาน
มีภาพรวมอยู่ในระดับสูง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของกำลังคนด้านสุขภาพได้แก่ ปัจจัยด้านเงินเดือนและค่าตอบแทน (Mean diff.Adj = 8.97; 95% CI: 3.051 to 14.34; p-value <0.001) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมการปฏิบัติงาน (Mean diff.Adj = 11.67; 95% CI: 6.12 to 17.22; p-value <0.001)
ปัจจัยด้านตำแหน่งหน้าที่ (Mean diff.Adj = 10.93; 95%CI: 4.71 to 17.15; p-value<0.001) ปัจจัยด้านความเป็นอยู่ส่วนตัว (Mean diff.Adj = 13.47; 95% CI: 5.98 to 20.98; p-value<0.001)
ข้อเสนอแนะ ควรมีการสร้างแรงจูงใจพร้อมกับการพัฒนาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของกำลังคนด้านสุขภาพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยจัดให้ค่าตอบแทนที่เหมาะสมเป็นธรรมกับลักษณะการปฏิบัติงานของแต่ละตำแหน่งหน้าที่ ตลอดจนการสร้างความสัมพันธ์ในองค์กรที่ดี เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันภายใต้ข้อจำกัดด้านบุคลากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
References
กรมควบคุมโรค. สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19. [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2565
[เข้าถึงเมื่อ 13 มิ.ย. 2565] เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th.
เจาะลึกระบบสุขภาพ.ระบบบริการปฐมภูมิ.[อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: 2560
[เข้าถึงเมื่อ 13 มิ.ย.2565] เข้าถึงได้จาก https://www.hfocus.org
Herzberg F, Mausner B, Snyderman B. The motivation to work, 2nd ed. Oxford, England: John Wiley; 1959. xv, 157-xv, p.
นาตยา คำเสนา, ประจักร บัวผัน, และมกราพันธุ์ จูฑะรสก. แรงจูงใจและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าพนักงานสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2563; 20(2): 84-95.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางการแพทย์และสาธารณสุข (พิมพ์ครั้งที่ 4). ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2551.
นิสิต ศรีพุ่ม, อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ, และสุพัฒน์ อาสนะ. แรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของ กำลังคนด้านสุขภาพสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในจังหวัดปราจีนบุรี. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. (2563); 3(1): 41-51.
Walton R. Quality of work life activities: A research agenda. Professional Psychology. 1980; 11: 484-93.
Cronbach LJ. Essentials of Psychological Testing: Harper & Row. 1990.
บุญยืน สุขแสงทอง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาล ลูกจ้างชั่วคราว โรงพยาบาลสังกัดกองทัพบก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย. 2560; 6(1): 133-139.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health) ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว