ผลของการสนทนาเพื่อสร้างแรงจูงใจในกลุ่มประชากรที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ป้องกันโรคโควิด-19 อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • อานุเทพ ฦาชา

คำสำคัญ:

โปรแกรมสนทนาเพื่อสร้างแรงจูงใจ, วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19, การตัดสินใจฉีดวัคซีน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสนทนาเพื่อสร้างแรงจูงใจในกลุ่มประชากรที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างผู้ที่ยังไม่ฉีดวัคซีนโควิด-19 จำนวน 200 คน โดยการสุ่มแบบอย่างง่าย เพื่อเข้ารับโปรแกรมสนทนาเพื่อสร้างแรงจูงใจการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบลงทะเบียนการฉีดวัคซีนและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติ Z-test for proportion ในการวิเคราะห์ผลของโปรแกรมฯ และ สถิติ Multiple logistic regression ในการหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติด้านการรับรู้เกี่ยวกับวัคซีน อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 80.30 ทัศนคติด้านประโยชน์ ความปลอดภัยและประสิทธิภาพของวัคซีน ระดับปานกลาง ร้อยละ 67.10 และพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 อยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 40.30 ภายหลังเข้ารับโปรแกรมการสนทนาเพื่อสร้างแรงจูงใจการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 กลุ่มตัวย่างตัดสินใจฉีดวัคซีนฯ ร้อยละ 60.00 (95%CI: 53.00- 67.00) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ทัศนคติด้านประโยชน์ ความปลอดภัย และประสิทธิภาพของวัคซีน โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีทัศนคติด้านประโยชน์ ความปลอดภัย และประสิทธิภาพของวัคซีนอยู่ในระดับสูง มีโอกาสเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 เป็น 1.71 เท่าของกลุ่มตัวอย่างที่มีทัศนคติด้านประโยชน์ฯในระดับต่ำถึงปานกลาง (Adjusted OR= 1.71 ; 95%CI: 1.08, 2.71, P value=0.019)

          ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเสริมสร้างทัศนคติโดยเฉพาะด้านประโยชน์ ความปลอดภัย และประสิทธิภาพของวัคซีนควบคู่กับจัดโปรแกรมสนทนาเพื่อสร้างแรงจูงใจในการฉีดวัคซีนโควิด-19 ก่อนทำการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 สำหรับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย

References

Harapan H, et al. Coronavirus disease 2019 (COVID-19): A literature review. Journal of Infection and Public Health. 2020; 13(5): 667 – 673.

World Health Organization. Coronavirus disease 2019 Situation report. [Internet]. WHO; 2020 [cited 2020 April 23]. Available from: https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019?adgroupsurvey={adgroupsurvey}&gclid=Cj0KCQiAnNacBhDvARIsABnDa68zm946_C9igpKTg0WKEBwoktJZRBoogMjEmBm2rHOGqIkmO77j38IaAiyvEALw_wcB.

สุรัยยา หมานมานะ, โสภณ เอี่ยมศิริถาวร, และสุมนมาลย์ อุทยมกุล. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารสถาบันบำราศนราดูร. 2564; 14(2): 124 – 133.

Zi YZ, et al. Coronavirus disease 2019 (COVID-19): A Perspective from China. National Library of Medicine; doi: 10.1148/radiol.2020200490. 1 – 29.

Worldometers. COVID-19 Coronavirus pandamic. [Internet]. USA; 2022 [cited 2022 July 25] . Available from: https://www.worldometers.info/coronavirus/.

World Health Organization. Tracking SARS-CoV-2 variants [Internet]. Switzerland; 2022 [cited 2022 Aug 11] . Available from: https://www.who.int/activities/tracking-SARS-CoV-2-variants.

สิทธิชัย ตันติภาสวศิน. ไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์สายใหม่กับประสิทธิภาพของวัคซีนและการรักษาในปัจจุบัน. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี. 2564; 42(2): 135 – 158.

กระทรวงสาธารณสุข. แผนและมาตรการการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด 19 สู่โรคประจำถิ่น [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 1 ส.ค.2565]. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th.

กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการให้วัคซีนโควิด-19 ในสถานการณ์การระบาด ปี 2564 ของประเทศไทย. นนทบุรี: บริษัท ทีเอส อินเตอร์พริ๊นท์ จำกัด; 2564.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. หลักสูตรการสนทนาเพื่อสร้างแรงจูงใจสำหรับผู้ลังเลใจในการฉีดวัคซีนโควิด 19 สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอาสาสมัครสาธารณสุข. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต, กระทรวงสาธารณสุข; 2564.

Wang H, & Chow S-C. Sample size calculation for comparing proportions. Wiley Encyclopedia of Clinical Trials; 2007.

Hsieh FY, Bloch DA, Larsen MD. A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Stat Med 1998; 17(14): 1623-34.

ดรัญชนก พันธ์สุมา, พงษ์สิทธิ์ บุญรักษา. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโควิด 19 ของประชาชนในตำบลปรุใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2564; 36(5): 598 – 604.

ภัทณิดา โสดาบัน, วิโรจน์ อรุณมานะกุล. ตัวบ่งชี้ทางภาษาแสดงความลังเลไม่มั่นใจ: ลักษณะทางภาษาที่ใช้จำแนกคำให้การจริงและเท็จ. วารสารมนุษย์ศาสตร์. 2560; 24(2): 260 – 277.

น้ำจิต กุลอ่อน, จำเนียร สุรวรางกูร, ธนิสร มหานัด. ผลของโปรแกรมการปรับตัวของบุคคลในภาวะเสี่ยงต่อการควบคุมพฤติกรรมรุนแรงด้วยตนเองในผู้ป่วยโรคจิตเภท. วารสารพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2564; 35(3): 24 – 41.

พีระพัฒน์ ตระกูลทวีสุข. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้ารับวัคซีนโควิด-19 และข้อกังวัลในบุคลากรทางการแพทย์. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ 2565; 3(1): 47 – 57.

ชิโนรส ลี้สวัสดิ์, เทอดศักดิ์ เดชคงและลือจรรยา ธนภควัต. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความลังเลใจและความต้องการรับวัคซีนโควิด 19. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2565; 30(2):161-70.

ณัฎฐวรรณ คำแสน. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี.วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. 2564; 4(1): 33 – 48.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2022