การพัฒนารูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของหน่วยงานสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ
คำสำคัญ:
รูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน, การปฏิบัติงาน, คำรับรองการปฏิบัติราชการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบและประเมินผลการใช้รูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของหน่วยงานสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม ในส่วนการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน คือ สถิติ Paired t-test
รูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานตามคำรับรองปฏิบัติราชการของหน่วยงานสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ มีทั้งสิ้น 8 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวิเคราะห์องค์กรและกลยุทธ์องค์กร 2) กำหนดแผนและเป้าหมายคำรับรองการปฏิบัติราชการ 3) การจัดทำ KPI Template 4) การจัดทำบันทึกข้อตกลงคำรับรองการปฏิบัติราชการและการถ่ายทอดตัวชี้วัด 5) การประเมิน Ranking 6) การรายงานผลและการให้ข้อมูลย้อนกลับ 7) การทบทวน/ปรับปรุงผลการปฏิบัติงาน และ 8) การให้รางวัลและการสร้างแรงจูงใจ ผลการประเมินการใช้รูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานที่พัฒนาขึ้น พบว่า ระดับผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=3.82, S.D.=0.61) โดยผลการประเมินทั้งด้านความเหมาะสม ความถูกต้อง การใช้ประโยชน์ และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน และพบว่า หน่วยงานมีผลการปฏิบัติงานสูงขึ้น (p-value=0.019; 95%CI 0.38-9.34 ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 รูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ การกำหนดมาตรฐานและออกแบบตัวชี้วัดความสำเร็จของหน่วยงานที่มีความสอดคล้องตามเป้าประสงค์ขององค์กร สามารถนำไปสู่การพัฒนางานและยกระดับผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานให้บรรลุตามเป้าประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
References
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. คู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการ: ภาพรวมระบบบริหารผลงานและการประเมินผลการปฏิบัติราชการ. นนทบุรี: บริษัท พี.เอ.ลีฟวิง จำกัด; 2552.
ปิยะวัฒน์ จารุธนรัตน์กุล และอุทัย สวนกูล. เทคนิคการประเมินผลการปฏิบัติงานสมัยใหม่ KPI&PMS. กรุงเทพฯ:
สวนอักษรพริ้นติ้ง; 2559.
ฐานิตา แจ้งชัด. หันมองการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมา.
[เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563]. เข้าถึงจาก:http://hq.prd.go.th/personnel/ewt_dl_link.php?nid=555.
William R. S., Schultz E. Managing Employee Performance. London: Thompson Learning; 2002.
Lin YC., Kellough J. E. Performance appraisal problems in the public sector: Examining supervisors’ perceptions. Public Personnel Management. 2019; 48(2): 179-202.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ. รายงานผลการดำเนินงานประจำปี ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. อำนาจเจริญ: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ; 2563.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น:
หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2547.
Best, John W. Research in education: 3rd ed. Prentice-Hall Englewood Cliffs, Nj; 1977.
Dagnino GB, Cinici MC. Research Methods for Strategic Management. New York: Routledge; 2015.
Gander J. Strategic Analysis: A Creative and Cultural Industries Perspective. New York: Taylor & Francis London; 2017.
Michael G. Dolence., Donald M. Norris. Using Key Performance Indicators to Drive Strategic Decision-Making. New Directions for Institutional Research. 1994; 82: 63-80.
Sokar IY., Jamaluddin MY., Abdullah M., Khalifa Z. A. KPIs target adjustment based on trade-off evaluation using fuzzy cognitive maps. Australian Journal of Basic and Applied Sciences. 2011; 5(12): 2048-2053.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. คู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการ: แนวทางการกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย. นนทบุรี: บริษัท พี.เอ.ลีฟวิง จำกัด; 2552.
del‐Rey‐Chamorro FM., Roy R., Van Wegen B., Steele A. A framework to create key performance indicators for knowledge management solutions. Journal of Knowledge Management; 2003.
กนิษฐา ทองเลิศ, อาทิตย์ อาจหาญ, อรัญ ซุยกระเดื่อง. ทำการศึกษาการพัฒนารูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของเครือข่ายประกันคุณภาพภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 2563; 7(1): 255-66.
สุนีย์ นาคเงิน, ประณต นันทิยะกุล. ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของสถาบันการพลศึกษาตามแนวคิดการปฏิบัติราชการตามคำรับรองของหน่วยงาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 2560; 7(3): 127-38.
Koonmee K. Implementing the Performance Management System in the Thai Public Sector การดำเนินการระบบการบริหารผลการปฏิบัติงานในภาคราชการไทย. NIDA Development Journal. 2011; 51(2): 117-55.
Gary D Borich, Kathleen S Fenton. The appraisal of teaching: concepts and process. Massachusetts: Addison-Wesley; 1997.
Millman J., Linda D. H. The new handbook of teacher evaluation. London: Sage; 1990.
M. Ashraf Rizvi. A feedback model for an effective performance appraisal system. Journal for Global Business Advancement. 2017; 10(2): 140-57.
Morrison J. E., Meliza L. Foundations of the afteraction review process. INSTITUTE FOR DEFENSE ANALYSES ALEXANDRIA VA.; 1999.
Garvin DA, Edmondson AC, Gino F. Is yours a learning organization? Harvard business review. 2008; 86(3):109-16.
Güngör, P. The relationship between reward management system and employee performance with the mediating role of motivation: A quantitative study on global banks. Procedia Social and Behavioral Sciences. 2011; 24: 1510-1520.
Nigel Hunt. Conducting Staff Appraisal. 6th ed. How to Books Ltd; 2007.
Deepa E., Palaniswamy R., Kuppusamy S. Effect of Performance Appraisal System in Organizational Commitment, Job Satisfaction and Productivity. Journal of Contemporary Management Research. 2014; 8(1): 1.
Bayo-Moriones A., Galdon-Sanchez JE., Martinez-de-Morentin S. Business strategy, performance appraisal and organizational results. Personnel Review. 2020; 50(2): 515-34.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health) ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว