ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วนของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

ผู้แต่ง

  • ณัฐนิชา แก่นศรี
  • วณิชชา คันธสร

คำสำคัญ:

แรงสนับสนุนทางสังคม, พฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วน, นักศึกษาระดับปริญญาตรี

บทคัดย่อ

         การวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อหาความสัมพันธ์  ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีจำนวน 400 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่  Chi-square test และ Fisher’s Exact test

          ผลศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 56.75 เป็นนักศึกษาหญิง มีอายุเฉลี่ย 20.85 ปี
(S.D.=1.08) ส่วนใหญ่กำลังศึกษาที่คณะครุศาสตร์และศึกษาในระดับชั้นปีที่ 3 ร้อยละ 51.25 มีดัชนีมวลกายที่ระดับปกติ (BMI= 18.50 – 22.90 Kg/m²) ผู้ปกครองประกอบอาชีพค้าขายร้อยละ 28.50 และรับราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 26.25 มีรายได้ที่ได้รับจากครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือน 4,920.82 บาท (S.D.= 2,152.12) ภาพรวมรายด้านพบว่า ด้านความรู้เรื่องการบริโภคอาหารจานด่วนอยู่ในระดับมาก ( =13.38, S.D.=1.48) ด้านทัศนคติต่อการบริโภคอาหารจานด่วนอยู่ในระดับดี ( =1.45, S.D.=0.26) ด้านแรงสนับสนุนทางสังคมและพฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วนอยู่ในระดับปานกลาง ( = 1.27, S.D.=0.12; =1.37, S.D.=0.25) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วน ได้แก่ ปัจจัยด้านส่วนบุคคล คือ คณะที่ศึกษา (p-value=0.015) ดัชนีมวลกาย (BMI)
(p-value=0.046) และปัจจัยด้านทัศนคติต่อการบริโภคอาหารจานด่วน (p-value= 0.035) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05)

         สรุปได้ว่าควรมีการปรับทัศนคติต่อการบริโภคอาหารจานด่วนของนักศึกษา โดยสร้างค่านิยมใหม่ให้มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วนให้ลดลง จัดโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพตามบริบทของคณะที่ศึกษา และรณรงค์ปรับระดับดัชนีมวลกาย (BMI) ให้เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง

                                                                                                             

คำสำคัญ:  แรงสนับสนุนทางสังคม, พฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วน, นักศึกษาระดับปริญญาตรี  

References

References

เครือมาศ มีเกษม. การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วนของบุคคลวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. [การศึกษาเฉพาะบุคคล สาขาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. 2554.

ปวีณภัทร นิธิตันติวัฒน์ และวรางคนา อุดมทรัพย์. พฤติกรรมการบริโภคอาหารของวัยรุ่นไทย ผลกระทบและแนวทางแก้ไข. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี. 2560; 28(1):122-128.

สิริไพศาล ยิ้มประเสริฐ. พฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานนครราชสีมา. วารสารราชพฤกษ์. 2560; 15(1): 33–41.

Khan A, Dix C, Burton NW, Khan SR, Uddin R. Association of carbonated soft drink and fast food intake with stress-related sleep disturbance among adolescents: A global perspective from 64 countries. E Clinical Medicine. 2021; 31:100681. doi: 10.1016/j.eclinm.2020.100681.

มัณทนาวดี เมธาพัฒนะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาพยาบาล. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2560; 25(3):20–29.

เจณิภา คงอิ่ม. พฤติกรรมการบริโภคอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ดของประชาชนในจังหวัดนนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 2559; 2(3):40–50.

สุระเดช ไชยตอกเกี้ย. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของวัยผู้ใหญ่

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. 2561; 13(45): 68–78.

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร. งานทะเบียนและประมวลผล [อินเทอร์เน็ต]. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร; 2564

[เข้าถึงเมื่อ 29 กันยายน2564]. เข้าถึงได้จาก: https://reg.kpru.ac.th/th/.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี. สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี; 2542.

Bloom, B. S., Hastings, J. T. & Madaus, G., Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill Book. 1971.

ปุญญพัฒน์ ไชเมล์. ข้อควรระวังในการใช้ Chi-square test. วารสารมหาวิทยาลัย ทักษิณ. 2553; 13(1):56–58.

สุดารัตน์ รองปานและคณะ. พฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร. 2564; 13(2):48-64.

ผกามาศ เชื้อประดิษฐ์. พฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วนของบุคคลวัยทำงาน เขตจอมทอง จังหวัดกรุงเทพมหานคร. [การค้นคว้าอิสระสาขาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม. 2561.

จุรีรัตน์ มัฎฐาพันธ์. พฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วนแบบตะวันตกของนักเรียนวัยรุ่นในพื้นที่เขตเมือง จังหวัดชุมพร. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ. 2562; 6(1):45–56.

พราว อรุณรังสีเวชและคณะ. อิทธิพลของความรู้ด้านโภชนาการและการรับรู้ด้านสุขภาพต่อการรับประทานอาหารจานด่วน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. 2561; 7(1):117-129.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2022