การสนับสนุนของสามีในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ผู้แต่ง

  • รัชนี พจนา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น
  • ดวงชีวัน เบญจมาศ
  • บุญสืบ โสโสม
  • ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง

คำสำคัญ:

น้ำนมแม่, การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน, การสนับสนุนของสามี

บทคัดย่อ

วิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสนับสนุนของสามีในการเลียงลูกด้วยนมแม่  เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม เลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง จำนวน
20 คนแบ่งเป็นสามีจำนวน  10 คน และภรรยาจำนวน 10 คน ซึ่งมีประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วย
นมแม่อย่างเดียว 6 เดือน พักอาศัยในจังหวัดขอนแก่น เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคมถึงกันยายน 2559 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)

ผลการศึกษา พบว่า การสนับสนุนของสามีในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ประกอบด้วย
1) การตัดสินใจ โดยสามีมีอำนาจในการตัดสินใจในครอบครัว ซึ่งต้องการให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพื่อให้ลูกแข็งแรงไม่เจ็บป่วย  2) การสนับสนุนด้านการเงิน ทั้งนี้สามีจะทำหน้าที่ในการทำงานและหารายได้ให้ครอบครัว โดยให้ภรรยาหยุดทำงานเพื่อทำหน้าที่ในการเลี้ยงบุตร และซื้ออุปกรณ์สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และ 3) การช่วยเหลือในการเลี้ยงลูก โดยสามีจะช่วยอุ้มลูกในระหว่างที่ภรรยาเหนื่อยล้าจากการให้นมบุตร และช่วยทำงานบ้านอย่างอื่น นอกจากนี้ยังพบว่าบริบทของสังคมไทยเป็นครอบครัวขยาย การสนับสนุนจากสมาชิกในครอบครัว ได้แก่ ย่า ยาย ช่วยเอื้อต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย การศึกษานี้ทำให้เข้าใจถึงการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยการสนับสนุนจากสามีและครอบครัว ทำให้สามารถให้นมลูกได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้ง 6 เดือน

References

Kramer MS, Kakuma R. Optimal duration of exclusive breastfeeding. Cochrane Database Syst Rev 2012(8):CD003517. doi: 10.1002/14651858.CD003517.pub2. PMID: 22895934; PMCID: PMC7154583.

World Health Organization (WHO). Increasing commitment to breastfeeding through funding and improved policies and programmes [Internet]. 2019 [Cited 2021 Feb 15]. Available from: https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/326049/WHO-NMH-NHD-19.22-eng.pdf?sequence=1&isAllowed=y.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2562 [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: 2563 [เข้าถึง เมื่อ 15 พ.ย. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.unicef.org/thailand/media/5146/file/Multiple%20Indicator%20ClClust%20Sur vey%202019.pdf.

World Health Organization. Nutrition: Exclusive breastfeeding. Geneva: World Health Organization; 2014.

จินตนา วัชรสินธุ. ทฤษฎีการพยาบาลครอบครัวขั้นสูง. ชลบุรี: ชลบุรีการพิมพ์; 2554.

World Health Organization. Breastfeeding key to saving children’s lives: ten steps to successful breastfeeding highlighted during world breastfeeding week. Geneva: World Health Organization; 2010.

พีรดา ภูมิสวัสดิ์. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความเสมอภาคระหว่างเพศ. สำนักพิมพ์กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์; 2563.

อาภา วังคำ นิตยา ไทยาภิรมณ์และอุษณีย์ จินตะเวช. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการให้นมมารดาอย่างต่อเนื่อง ของมารดาทารกเกิดก่อนกำหนด. พยาบาลสาร. 2554; 38(3): 73 – 83.

กฤตยา อาชวนิจกุล. เพศวิถีที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปในสังคมไทย. วารสารประชากรและสังคม. 2554; 15 (1): 43-65.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ข้อควรรู้ สำหรับคุณแม่. กรุงเทพ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2563.

Bich, T.H. and Hoa, D.T.P. Father as supports for improved exclusive breastfeeding in Viet Nam. Maternal child health J. 2014; 18(6): 1444-1453.

Shepherd CK, Power KG, Carter H. Ex¬amining the correspondence of breast¬ feeding and bottle-feeding couples' infant feeding attitudes. J Adv Nurs. 2000; 31(3): 651- 60.

ชาย โพธิสิตา. ศาสตร์และศิลป์การวิจัยเชิงคุณภาพ: คู่มือนักศึกษาและนักวิจัย สังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2562.

สมพร รุ่งเรืองกลกิจและอิงคฏา โคตนารา. พยาบาลกับการบูรณาการเพศภาวะในการ

จัดการภัยพิบัติ. วารสารพยาบาลสงขลา นครินทร์. 2556; 33(1):57-68.

Sriyasak, A., Almqvist, A., Sridawruang, C. and Haggstrom-Nordin, E. Father

role: A comparison between teenage and adult first-time in Thailand. Nursing

and Health Sciences.2015; 17(3): 377- 386.

ศิริวรรณ ทุมเชื้อ พัชนียา เชียงตาและกรพิน สุดสงวน. การสนับสนุนของสามีในการเลี้ยง

ลูกด้วยนมแม่ในระยะ 6 เดือนแรก. วารสาร การวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน. 2555; 5(2): 66-78.

Jintrawet, U., Tongsawas, T., & Somboon, L. Factors associated with the duration of exclusive breastfeeding among postpartum mothers. Nursing Journal.2014; 41 (1): 133-144.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2022