การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก องค์การบริหารส่วนตำบลนิคมพัฒนา อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง

ผู้แต่ง

  • ณัฐภรณ์ ถมกระจ่าง
  • วิราสิริริ์ วสีวีรสิว์

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของประชาชน, โรคไข้เลือดออก, ความรู้, ทัศนคติ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก องค์การบริหารส่วนตำบลนิคมพัฒนา อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนที่เป็นตัวแทนครัวเรือนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลนิคมพัฒนา อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง จำนวน 180 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างวันที่ 1-14 พฤศจิกายน 2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ระดับมาก ร้อยละ 54.4 ระดับปานกลาง ร้อยละ 32.8 และระดับน้อย ร้อยละ 12.8 ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) ได้แก่ เพศ ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก และทัศนคติต่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ผลการศึกษาครั้งนี้ เสนอแนะให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ควรพิจารณาจัดทำนโยบายส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน รวมทั้งส่งเสริมการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก และสร้างทัศนคติที่ดีต่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกให้กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมอันจะนำไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชน

คำสำคัญ : การมีส่วนร่วมของประชาชน, โรคไข้เลือดออก, ความรู้, ทัศนคติ

References

Gubler DJ, Reiter P, Ebi KL, Yap W, Nasci R, Patz JA. Climate variability and change in the United States: Potential impacts on vector-and redent-borne disease. Environ health Perspect. 2001; 109(2): 223-33.

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 – 12 และสถาบันป้องกันควบคุมโรค เขตเมือง. สถานการณ์โรคติดต่อนำโดยยุงลายและการประเมินความเสี่ยงต่อการระบาดในปี 2564[อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: 2564 [เข้าถึงเมื่อ 1 มิถุนายน 2564].

เข้าถึงได้จาก http://www.bangriang.go.th/files/com_

networknews/2021-01_3f78c01cf030a43.pdf.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง. สถานการณ์ไข้เลือดออกจังหวัดระยอง ประจำสัปดาห์ที่ 9 (28 ก.พ.- 6 มี.ค.64) [อินเทอร์เน็ต]. ระยอง: 2564 [เข้าถึงเมื่อ 5 มิถุนายน 2564].

เข้าถึงได้จาก

https://rayonghealth.com/web/uploadfiles/news/สถานการณ์โรคไข้เลือดออก20week.pdf.

Cohen, J. M., & Uphoff, N.T. Participation’s place in rural development: Seeking clarity through specificity. World Development. 1980; 8(3): 213-235.

ไพศาล ขุนวิเศษ, ศรายุทธ นกใหญ่, สุทธิพงษ์ เกียรติวิชญ์, ณัฐวุฒิ เพชรคง, คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ และจิดาภา ถิรศิริกุล. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่จังหวัดชัยนาท. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ. 2562; 12(3): 343-352.

กูอัณวาร์ กูเมาะ, วิลาสินี อาแว, รุ่งนภา จันทรา, อติญาณ์ศร เกษตริน และอังสินี กันสุขเจริญ. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก หมู่บ้านบางหมูตำบลบ้านน้ำบ่อ อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2559; 33(3): 218-229.

สำนักทะเบียนอำเภอนิคมพัฒนา. สถิติประชากรจากทะเบียนบ้าน ตรวจสอบข้อมูลแยกรายพื้นที่ ระดับตำบล/แขวง อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง[อินเทอร์เน็ต]. ระยอง: 2564. [เข้าถึงเมื่อ 1 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จากhttps://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/mainpage.

Danial Wayne W. Biostatistics : Basic concepts and methodology for health sciences 9th edition. Hoboken, New Jersey: John Wiley. 2010.

Bloom, B.S. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw–Hill. 1971.

รอยฮาน เจ๊ะหะ, สุชาดา ฐิติรวีวงศ์ และ ชิดชนก เชิงเชาว์. การมีส่วนร่วมของประชาชนการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก : กรณีศึกษาตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี. วารสาร

AL-NUR บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา. 2555; 6(10):129-141.

ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์, เสาวนีย์ สังข์แก้ว. ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน ตำบลแหลมโตนด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 2557; 9(1):51-61.

วิมลรัตน์ ถนอมศรีเดชชัย, รัตนาภรณ์ อาษา, และอภิเชษฐ์ จำเนียรสุข. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุประจำหมู่บ้าน อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่. วารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 2560; 36(1): 86-97.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2022