สถานการณ์ความปลอดภัยในอาหาร ณ สถานที่จำหน่ายอาหารในจังหวัดกาญจนบุรี: การศึกษาเชิงพรรณาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลังระหว่างปี พ.ศ. 2560 – 2563

ผู้แต่ง

  • ศุภกัญญา ทองเดชาสามารถ
  • องอาจ มณีใหม่ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

อาหารปลอดภัย, การปนเปื้อนในอาหาร, กาญจนบุรี

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อนในจังหวัดกาญจนบุรีระหว่างปี พ.ศ. 2560–2563 การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เก็บข้อมูลย้อนหลังจากฐานข้อมูลผลการตรวจวิเคราะห์สารปนเปื้อนในอาหารของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี
ปี พ.ศ. 2560–2563 วิเคราะห์ความชุกของการพบสารปนเปื้อน 5 ชนิด ได้แก่ ยาฆ่าแมลง บอแรกซ์ ฟอร์มาลิน สารฟอกขาว และสารกันรา จำแนกตามพื้นที่เก็บตัวอย่าง แหล่งจำหน่าย และกลุ่มอาหาร ผลการศึกษาจากการพบว่า ตัวอย่างอาหารทั้งหมด 4,482 ตัวอย่าง พบสารปนเปื้อนร้อยละ 4.5
สารปนเปื้อนที่พบมากสุด คือ ฟอร์มาลิน (ร้อยละ 9.2) รองลงมา คือ ยาฆ่าแมลง (ร้อยละ 5.8)
สารกันรา (ร้อยละ 3.1) และบอแรกซ์ (ร้อยละ 1.2) ตามลำดับ พบการปนเปื้อนฟอร์มาลิน ยาฆ่าแมลง สารกันรา และ บอแรกซ์มากสุดในปลาหมึกกรอบ (ร้อยละ 69.2) กุยช่าย (ร้อยละ 60.0) มะม่วงดอง (ร้อยละ 50.0) หมูเด้ง (ร้อยละ 5.3) ตามลำดับ ตัวอย่างอาหารที่เก็บจากตลาดนัดและพื้นที่อำเภอเมืองกาญจนบุรีพบการปนเปื้อนมากที่สุด (ร้อยละ 4.8 และ 6.8 ตามลำดับ) กล่าวโดยสรุปพบว่า แนวโน้มของการปนเปื้อนในอาหารเพิ่มขึ้น โดยสารที่พบการปนเปื้อนมากที่สุดคือฟอร์มาลิน โดยเฉพาะในกลุ่มอาหารทะเล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องตระหนักและพัฒนานโยบาลหรือกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยด้านอาหารต่อไป  

References

1. Office of the Permanent Secretary of MOPH. Strategic plan of Ministry of Public Health 2017-2021 [online]. 2017 [cited Jul 2, 2021]. Available from:govesite.com/ uploads/2018032821 0845J8MZUS9/20201202131039_1_qKWkmk2.pdf.
2. Poophalee T, Wongwattanasathien O, Arparsrithongsakul S, Supuntee M. Prevalence of pesticide residues in vegetables from markets and supermarkets in Muang district, Maha Sarakham province. Thai Journal of Pharmacy Practice. 2016;8: 399-409.
3. Sriin T, Tungjitmun K, Rayayoi S, Junsiriphotha S, Srinongnuch M. Detection of insecticide residues in vegetables from the markets in Ratchaburi province. In: Proceedings of the 5th Muban Chombueng Rajabhat National Conference; 2017 Mar 1; Ratchaburi, Thailand. Ratchaburi: Muban Chombueng Rajabhat University;2017. p.196-202.
4. Faipet T. Detection of formalin in seafood from the market in U Thong District, Suphan Buri province, Thailand. Journal of Council of Community Public Health. 2020;2:26-36.
5. Thanmaneesin K. Epidemiology of formalin contamination in fresh food in some selected provinces in northeastern part of Thailand. Thai Journal of Pharmacy Practice. 2015;7: 31-7.
6. Mobile Unit for Food Safety Region 5, Phetchaburi. Situation of food safety and health products at the place of sale region 5: 2018-2020. Phetchaburi: unit; 2020.
7. Bureau of food safety extension and support. Food safety situation 2010-2017 report [online]. 2019 [cited Jul 2, 2021]. Available from: www.oic.go.th/FILEWEB/ CABINFOCENTER17/ DRAWER002/GENERAL/DATA0001/00001432.PDF.
8. Buasriyod W, Namvong N, Ruangsri S, Kunyala K, Suwannuruk N, Pavorn L, et al. Detection of formalin in seafood’s soaking at a market in Nakhon Ratchasima province. In: Proceedings of the 7th National Conference of Nakhonratchasima College; 2020 May 23; Nakhonratchasima, Thailand. Nakhonratchasima: Nakhonratchasima College; 2020. p.1016-23.
9. Narkjuetong P, Jaisue S, Ngamsakpasert C, Chuaybamroong P. The presence of carbendazim in agricultural products and its removal using photocatalysis. KKU Res J. 2011; 16:454-67.
10. Mobile Unit for Food Safety. Situation of food safety and health products at the place of sale (Bangkok) 2017 [online]. 2017 [cited Jul 2, 2021]. Available from: webs.rmutl.ac.th/assets/ upload/files/2018/06/20180612134553_84017.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2022