การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านด้านการจัดเก็บและรวบรวม เข็มฉีดยาจากการฉีดอินซูลินในผู้ป่วยโรคเบาหวาน อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
การจัดเก็บและรวบรวมเข็มฉีดยาอินซูลิน, อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน, ป่วยเบาหวานชนิดฉีดอินซูลินบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ด้านการจัดเก็บ
และรวบรวมเข็มฉีดยาอินซูลินในผู้ป่วยโรคเบาหวาน อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา โดยใช้Kemmis and McTaggart ศึกษาในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเชี่ยวชาญสาขาการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ จาก 133 หมู่บ้าน ๆ ละ 1 คน จำนวน 133 คน มีกระบวนการศึกษาดังนี้ ศึกษาสถานการณ์การจัดเก็บ
และรวบรวมเข็มฉีดยาจากการฉีดอินซูลินของผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยใช้แบบสำรวจ การพัฒนาศักยภาพ อสม. โดยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้และร่วมกำหนดแนวทางการจัดเก็บและรวบรวมเข็มฉีดยาจากการฉีดอินซูลินที่ถูกต้อง ประเมินผล การพัฒนาศักยภาพ อสม. โดยเปรียบเทียบความรู้ก่อนและหลังการดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการ ให้ อสม.ออกแนะนำวิธีการจัดเก็บและรวบรวมเข็มฉีดยาอินซูลินที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานและศึกษาปริมาณเข็มฉีดยาอินซูลินที่ใช้แล้ว
ก่อนและหลังการดำเนินการ 1 เดือน
ผลการศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันพบผู้ป่วยเบาหวานมีการจัดเก็บและรวบรวมเข็มฉีดยาอินซูลินที่ผ่านการใช้แล้ว
ไม่เหมาะสม พบว่านำเข็มฉีดยาใช้แล้วใส่ถุงพลาสติกและทิ้งในถังรองรับมูลฝอยทั่วไป พบ รพ./รพสต. ทั้ง 13 แห่ง มีการแนะนำการจัดเก็บและรวบรวมเข็มฉีดยาจากการฉีดอินซูลินในผู้ป่วยโรคเบาหวานเฉพาะรายใหม่ ส่วนผู้ป่วยรายเก่าไม่ได้รับคำแนะนำซ้ำ เนื่องจากบุคลากรมีอย่างกำจัดและขาดการติดตามการนำเข็มที่ใช้แล้วมาทิ้งอย่างถูกต้อง จากการประชุมเชิงปฏิบัติการ ได้แนวทางแก้ไขปัญหาจากกลุ่มเป้าหมาย โดยผู้รับผิดชอบงานจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ จัดทำแผ่นพับเพื่อให้ความรู้ แนะนำให้ผู้ป่วยใช้ขวดน้ำพลาสติกหรือแกลลอนมีฝาปิดมิดชิดเป็นภาชนะและ อสม.ออกให้คำแนะนำผู้ป่วยรวม ทั้งรวบรวมฝากกำจัด ณ รพ./รพสต. เมื่อพบแพทย์ครั้งต่อไป พบคะแนนความรู้ของ อสม. หลังการประชุมเชิงปฏิบัติการมีค่าเฉลี่ยมากกว่าก่อนการประชุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) จากการออกให้คำแนะนำการจัดเก็บและรวบรวมเข็มฉีดยาอินซูลินที่ผ่านการใช้แล้วของ อสม. แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ส่งผลให้ปริมาณเข็มฉีดยาอินซูลินที่ผ่านการใช้แล้วหลังจากดำเนินการเพิ่มขึ้น ร้อยละ 46.45 เห็นได้ว่า การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านด้านการจัดเก็บและรวบรวมเข็มฉีดยาอินซูลินในผู้ป่วยโรคเบาหวานเน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนและเจ้าหน้าที่ร่วมหาแนวทางแก้ไขปัญหาและนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง ข้อเสนอแนะของงานวิจัยนี้ควรมีการศึกษาการพัฒนาศักยภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานด้านการจัดเก็บและรวบรวมเข็มฉีดยาจากการฉีดอินซูลินเพื่อความต่อเนื่องในการพัฒนาระบบการจัดเก็บและรวบรวมเข็มฉีดยาอินซูลินที่ใช้แล้วต่อไป
References
พิชญพร พูนนาค, สุนทร ศุภพงษ์, ธนะภูมิ รัตนานุพงศ์. อัตราอุบัติการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บจากการทำงานของพนักงานเก็บขยะในโรงพยาบาลศูนย์เขตภาคกลาง.[วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ]. กรุงเทพมหานคร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2560.
สำนักสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. เอกสารวิชาการด้านการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ สำหรับเจ้าหน้าที่กรมอนามัย 2561 กรุงเทพมหานคร: ไม่ปรากฏโรงพิมพ์.
K. R. Atukorala, S. I.Wickramasinghe, R. D. N. Sumanasekera and K. H. Wickramasinghe: practices related to sharps disposal among diabetic patients in Sri Lanka [Internet] Sri Lanka: Asia Pacific Family Medicine. 2018; [cited 2021 Jan 10]. Available from: https://doi.org/10.1186/s12930-018-0049-7
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. สถิติเพื่อการวิเคราะห์วิจัย.พิมพ์ครั้งที 3 กรุงเทพฯ. จามจุรีโปรดัก ; 2546.
ธีรารัตน์ ถัทธะพร. การจัดการเข็มฉีดยาและไซริงค์จากการฉีดอินซูลินจากผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการโรงพยาบาลชลประทาน อำเภอปากเกร็ดจังหวัดนนทบุรี. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ. 2555; 5(19): 35-39.
JM. Montoya, BM. Thompson, ME. Boyle, ME. Leighton, CB. Cook. Patterns of Sharps Handling and Disposal Among Insulin-Using Patients With Diabetes Mellitus [Internet] U.S.A: J Diabetes Sci Technol. 2019; [cited 2021 Jan 5].
Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7782998/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health) ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว