พฤติกรรมและการจัดการความปลอดภัยในการใช้ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ทวินันท์ หาญประเสริฐ จ-4322-2741,0-4322-3898,0-4322-1770 ต่อ 107
  • อุไรวรรณ อินทร์ม่วง

คำสำคัญ:

การจัดการความปลอดภัย, พฤติกรรมด้านความปลอดภัย, ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาพฤติกรรมความปลอดภัยในการใช้ห้องปฏิบัติการ และการจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ของนักศึกษา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น ในปีการศึกษา 2563 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 295 คน เก็บข้อมูลด้านความรู้และพฤติกรรมความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการของนักศึกษา รวมทั้งสำรวจสภาพความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ จำนวน 3 ห้อง ได้แก่ ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา ห้องปฏิบัติการอนามัยสิ่งแวดล้อม ห้องปฏิบัติการเภสัชกรรม เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ตอบด้วยตนเอง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Pearson Correlation

จากการศึกษาพบว่าความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบความปลอดภัยและการป้องกันอันตราย ทั้งห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา อนามัยสิ่งแวดล้อมและเภสัชกรรมของนักศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีคะแนนเฉลี่ย 8.32 คะแนน (S.D.=1.58), 8.91คะแนน (S.D.=0.85) และ 7.98 คะแนน (S.D.=1.38)  ตามลำดับส่วนพฤติกรรมความปลอดภัยในการใช้ห้องปฏิบัติจุลชีววิทยาและห้องปฏิบัติเภสัชกรรมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีคะแนนเฉลี่ย 2.40 คะแนน (S.D.=0.98) และ 2.39 คะแนน (S.D.=0.23) ตามลำดับ
ห้องปฏิบัติอนามัยสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับดี โดยมีคะแนนเฉลี่ย 2.53 คะแนน (S.D.= 0.25) และเมื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และพฤติกรรมความปลอดภัยในการใช้ห้องปฏิบัติการ พบว่า
มีความสัมพันธ์เป็นเชิงบวก (p-value<0.05) ผลการประเมินความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการและการจัดการความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการในองค์ประกอบ 7 ด้าน พบว่า ห้องปฏิบัติการทุกห้องไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยผลคะแนนจากการสำรวจระดับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานน้อยที่สุด 3 ลำดับสุดท้ายคือการให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ  การบริหารจัดการระบบการความปลอดภัยและการจัดการระบบสารเคมี 

ข้อเสนอแนะจากการศึกษา สถาบันการศึกษาควรมีแผนลดและความคุมความเสี่ยงทั้งระยะสั้น และระยะยาว พร้อมทั้งการจัดอบรมเรื่องการจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการทั้ง 3 ห้องปฏิบัติการที่ครอบคลุมในทุก ๆ ด้าน ให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับห้องปฏิบัติการ เช่น เจ้าหน้าที่ อาจารย์และนักศึกษา เป็นต้น

คำสำคัญ: การจัดการความปลอดภัย, พฤติกรรมด้านความปลอดภัย, ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์

References

1. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี. การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่ม
วิทยาศาสตร์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี;2546.
2. พรเพ็ญ กานารายณ์. ผลการสำรวจชี้
บ่งอันตรายและวิเคราะห์ความเสี่ยงใน
ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์.
วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.2558;
23(4).
3. สำนักข่าวไทยพีบีเอส. ห้องปฏิบัติการเก็บ
สารเคมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี[ออนไลน์].
2556, แหล่งที่มา: https://news.thaipbs.or.th/
content/139230 [2 พฤศจิกายน 2563]
4. มาโนช สนองสุข. อุทาหรณ์นักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 เรียนวิทยาศาสตร์หยอก
ล้อกับเพื่อน มือปัดโดนขวดแอลกอฮอล์ไฟติด
ไหม้เสื้อหวิดย่างสด หามส่งโรงหมอ.
หนังสือพิมพ์ข่าวระยอง[ออนไลน์]. 2652.
แหล่งที่มา: https://www.facebook.com/
rayongnewss/posts/2279691105426766/
[2 พฤศจิกายน 2563]
5. M K Ananth. Two boys suffer acid burns
while cleaning TN school lab.
TNN[online]. 2019. Available from:
http://timesofindia.indiatimes.com
/articleshow [2 November 2020]
6. อุเทน ปัญโญ. ประกอบการสอนวิชาสถิติและ
การวิจัยทางโภชนศาสตร์ศึกษา.สาชาวิชา
โภชนศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2553. 7. สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. แนว
ปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ.
กรุงเทพฯ:ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการ
สิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย; 2555
8. คณะทำงานจัดทำแนวทางปฏิบัติด้านความ
ปลอดภัยทางชีวภาพ. แนวทางปฏิบัติ
ด้านความปลอดภัยทางชีวภาพระดับ
ห้องปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระ
จอมเกล้าธนบุรี .มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระ
จอมเกล้าธนบุรี. 2559; 1,7.
9. นันทวรรณ จินากุล. ได้ศึกษาการ
ประเมินความเสี่ยงด้านระบบการจัดการของ
เสียอันตรายจากสารเคมีในห้องปฏิบัติการ
จุลชีววิทยาของคณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล, บูรพาเวชสาร. 2561; 5(1),
36-50.
10. จินดาวัลย์ เพ็ชรสูงเนิน, สาริณี ลิพันธ์,
สุราณี อโณทัยรุ่งรัตน์ และโกวิทย์ ปิยะมัง
คลา. การชี้บ่งอันตรายห้องปฏิบัติการ
เคมี: กรณีศึกษาห้องปฏิบัติการเคมี
อุตสาหกรรม. วารสารวิจัย มสด สาขา
วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี. 2559; 9 (1),
21-33.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2021