การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพด้านการปฏิบัติการพยาบาลในระยะคลอดงานการพยาบาลผู้คลอด โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • ทิพย์ภาภรณ์ แย้มใส Phonphisai Hospital
  • นวลวรรณ ปู่วัง
  • อรพิมพ์ อุปชา

คำสำคัญ:

สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ การปฏิบัติการพยาบาลในระยะคลอด งานการพยาบาลผู้คลอด

บทคัดย่อ

                 การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบและประเมินผลรูปแบบการสร้างเสริมสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพด้านการปฏิบัติการพยาบาลในระยะคลอด งานการพยาบาลผู้คลอด โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ดำเนินการวิจัยเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2563 ดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ 1) พัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสมรรถนะด้านการปฏิบัติการพยาบาลในระยะคลอด โดยศึกษาสถานการณ์ปัญหา วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพงานการพยาบาลผู้คลอด จำนวน 14 คนโดยคัดเลือกแบบเจาะจง นำข้อค้นพบมาค้นหารูปแบบนวัตกรรม“หุ่นลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย”เพื่อใช้ในการฝึกปฏิบัติในระยะคลอด  2)การนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นจากระยะที่ 1 นวัตกรรม “หุ่นลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย” ไปทดลองใช้ เป็นเวลา 1 เดือน จนสามารถฝึกปฏิบัติการพยาบาลในระยะคลอดได้จริง  3) การประเมินผล กลุ่มตัวอย่างโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย (1) พยาบาลวิชาชีพงานการพยาบาลผู้คลอด จำนวน 13 คน และ (2) ผู้มารับบริการที่มาคลอด ทั้งหมด ในช่วงตั้งแต่วันที่ 1เมษายน 2563 -31 พฤษภาคม 2563 จำนวน 75 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย การสนทนากลุ่ม แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการทำคลอดปกติ แบบประเมินทักษะการทำคลอดปกติ  และแบบสอบถามความพึงพอใจ นวัตกรรม“หุ่นลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย”ที่พัฒนาขึ้น วิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลผลการวิจัยด้วย จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบPaired t-test และข้อมูลเชิงคุณภาพนำเสนอโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

              ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มที่ศึกษามีคะแนนความรู้ก่อนพัฒนาเฉลี่ย 7.77 คะแนน (S.D.= 1.01)  และหลังการพัฒนามีคะแนนความรู้เฉลี่ย 9.50 คะแนน (S.D.=0.88) โดยพบว่าหลังการพัฒนาแล้วมีความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001) โดยพบว่าสมรรถนะด้านการปฏิบัติ ก่อนพัฒนามีคะแนนอยู่ใน“ระดับมาก”เฉลี่ย 4.17 คะแนน (S.D.=.27) และหลังพัฒนามีคะแนนเฉลี่ยอยู่ใน “ระดับมากที่สุด” เฉลี่ย 4.85 คะแนน (S.D.=.20) ผลการเปรียบเทียบคะแนนสมรรถนะด้านการปฏิบัติก่อนและหลังการพัฒนา พบว่า หลังการพัฒนากลุ่มที่ศึกษามีคะแนนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001) และความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับ “มากที่สุด” ผลของการพัฒนาช่วยลดอุบัติการณ์จากการปฏิบัติงานในระยะคลอดได้

            สรุปและข้อเสนอแนะ รูปแบบการพัฒนาการสร้างเสริมสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพด้านการปฏิบัติการพยาบาลในระยะคลอดที่ได้พัฒนาขึ้นนี้ สามารถนำมาใช้เป็นรูปแบบเพื่อพัฒนาและเพิ่มสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพด้านการปฏิบัติการพยาบาลในระยะคลอดได้จริง

References

1. ปิยฉัตร ปธานราษฎร์, จุฬารัตน์ บารมี และสุวดี สกุลคู. การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพห้องคลอดในโรงพยาบาลศูนย์ เขตภาคตะวันออก. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีที่ 19 ฉบับเพิ่มเติม 1 2554. The Journor of Nursing Burapha University Vol. 19 No. Supplement 1 2011; 1-10.
2. คณะกรรมการพัฒนาบริการพยาบาลงานห้องคลอดและสำนักการพยาบาล สถานการณ์ภาระงานและกำลังคนบริการพยาบาลงานห้องคลอดในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป สังกัดกระทรวงสาธารณสุข นนทบุรี สำนักการพยาบาล; 2560
3. พุทธิราภรณ์ หังสวนัส ,โชติกา ภาษีผลและศิริชัย กาญจนวาสี.การพัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลในห้องคลอด สำหรับนักศึกษาพยาบาลหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตโดยการประยุกต์ใช้ศูนย์การประเมิน. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร . ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2562; 138-158.
4. สถิติข้อมูลผู้ป่วยโรงพยาบาลโพนพิสัย. รายงานเวชระเบียนผู้คลอดโรงพยาบาลโพนพิสัย. 2560-2562
5.Kermis, S & Mc Tagart ,R. (1988) .The Action Research Planer (3rd ed). Victoria : Deakin University
6. ชูใจ คูหารัตนไชย. สถิติเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสถิติประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร. 2542
7. Bloom, B.S. (1971).Mastery learning.UCLA – CSEIP Evaluation Comment.1 (2)
Losangeles. University of California at Los Angeles.
8. ราตรี ศิริสมบูรณ์ .Effective communication Skills in Adverse obstetric out com : Roles of Nurse ร่วมด้วยช่วยกันเพื่อสุขภาพที่ดีที่สุดของมารดาและทารกในครรภ์.พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ ยูเนี่ยน ศรีเอชั่นจำกัด;พฤษภาคม 2560
9. ราตรี ศิริสมบูรณ์ .Emergency in labor Room :Nurse ,s Roles .เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ 4.0 เพื่อสุขภาพที่ของครอบครัวไทย .พิมพ์ครั้งที่1 กรุงเทพฯ. ธนเพรสจำกัด;พฤษภาคม 2561
10.ศุภวดี แถวเพีย,สิวาพร พานเมือง,นงลักษณ์ คำสวาสดิ์ และคณะ.รูปแบบการเรียนการสอนตามสภาพจริงเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการผดุงครรภ์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาล.Journal of Nursing Science. J Nurs Sci.2015;33 Suppl 1: 27-36
11.Deegan M, Terry L. Student midwives, perceptions of real-time simulation; A qualitative phenomenological study. Br J Midwifery. 2010;21 (8):590-8 (in Thai).
12. ยุวดี วัฒนานนท์, วาสนา จิติมา, และวชิรา วรรณสถิต. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านความพร้อมของนักศึกษาพยาบาลก่อนฝึกปฏิบัติในหน่วยห้องคลอดกับคะแนนผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติพยาบาลผู้คลอดปกติในระยะคลอด,วารสารพยาบาลศาสตร์,2559;91-99
13.อรุณี ศรีสุยิ่ง, สิวาพร พานเมือง, และคณะ. สมรรถนะพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม.วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม ปีที่ 15 ฉบับที่ 3 )กันยายน - ธันวาคม)พ.ศ.2561;142-150

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2020