การสร้างหลักสูตรพัฒนาสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน

The Competency Development Curriculum for Public Health Professional

ผู้แต่ง

  • กฤษณ์ ขุนลึก คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • ธนูย์สิญจน์ สุขเสริม
  • บุษกร สุวรรณรงค์

คำสำคัญ:

วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน สมรรถนะ หลักสูตรพัฒนาสมรรถนะ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษา 1) ตัวแบบสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน 2) ระดับสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3) สร้างหลักสูตรเพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้ประกอบวาชีพการสาธารณสุขชุมชน โดยใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กำหนดการวิจัยเป็น 3 ระยะ ผลการวิจัย ได้ตัวตัวแบบสมรรถนะผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมน กลุ่มสมรรถนะ จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ สมรรถนะหลัก (Core Competency) สมรรถนะประจำกลุ่มงาน (Functional Competency) ซึ่งประกอบด้วยสมรรถนะร่วมของกลุ่มงานด้านบริการสุขภาพ (Common Competency) สมรรถนะเฉพาะกลุ่มวิชาชีพ (Specific Competency) และสมรรถนะการบริหารจัดการงาน (Managerial Competency) โดยมี 40 สมรรถนะย่อยการศึกษาระดับสมรถนะผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน ในภาพรวมอยู่ในระดับชำนาญ  = 3.48 S.D. = 0.68 โดยมีระดับชำนาญ ร้อยละ 44.00 ระดับผู้ปฏิบัติ ร้อยละ 42.44 ระดับเรียนรู้ ร้อยละ 8.89 สมรรถนะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ สมรรถนะหลัก  = 3.65 S.D. = 0.77 สมรรถนะร่วม  = 3.60 S.D. = 0.82 สมรรถนะการบริหารจัดการงาน  = 3.39 S.D. = 0.70 และสมรรถนะเฉพาะกลุ่มวิชาชีพ  = 3.36 S.D. = 0.73 และหลักสูตรเพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน มี 5 กลุ่ม 11 รายวิชา
คำสำคัญ: วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน สมรรถนะ หลักสูตรพัฒนาสมรรถนะ

References

1. ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน พ.ศ.2556. ราชกิจจานุเบกษา, 2556(130), 19-35; 2556.
2. สภาการสาธารณสุขชุมชน. (2561). บันทึกนักสาธารณสุขชุมชน. นนทบุรี: สภาการสาธารณสุขชุมชน; 2561.
3. ศุภวรรณ เศาณานนท์. (2548). สมรรถนะของทันตแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยายานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณิต), บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น; 2548.
4. Byatzis, R. E. (1982). Competence at work In a Stewart (Ed.), Motivation and society. San Francisso: Jossey-Bass; 1982.
5. ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ. (2560). การจัดและการบริหารงานวิชาการ (EA 634). มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2560, 259.
6. Wayne W., D.. Biostatistics: A Foundation of Analysis in the Health Sciences
(6th ed.). John Wiley&Sons, Inc.; 1995,180.
7. Ngamjarus C., Chongsuvivatwong V. (2014). n4Studies: Sample size and power
calculations for android. The Royal Golden Jubilee Ph.D. Program - The Thailand
Research Fund&Prince of Songkla University; 2014.
8. รังสรรค์ สิงหเลิศ. ระเบียบวิธีวิจัย. มหาสารคาม: บริษัท ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จำกัด; 2558, 138-145.
9. McClelland, D. C.. A Competency model for human resource management specialists to be used in the delivery of the human resource management cycle. Boston: Mcber; 1975.
10. ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์. Competency : ภาคปฏิบัติเขาทำอย่าไร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ ส.ส.ท; 2549.
11. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. คู่มือสมรรถนะข้าราชการพลเรือนไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด; 2548.
12. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. มาตรฐานและแนวทางการกําหนดความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะที่จําเปนสําหรับ ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ. (ที่ นร 1008/ว27). กรุงเทพฯ; 2552.
13. อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. การวิเคราะห์ความจำเป็นในการฝึกอบรมบนพื้นฐานของ Competency 1, editor. กรุงเทพมหานคร: หจก.บ้านหนังสือโกสินทร์; 2556, 176.
14. กิตติพัทธ์ เอี่ยมรอด และ พิมพ์เพ็ญ เจนอักษร. สมรรถนะนักวิชาการสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. พุทธชินราชเวชสาร, 29(2); 2555, 168 - 179.
15. จิราพร สร้อยมุกดา. สมรรถนะของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในหน่วยบริการปฐมภูมิ ภาคเอกชน เครือข่ายโรงพยาบาลนวมินทร์ (สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต ), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพฯ; 2558.
16. ปริทัศน์ เจริญช่าง สุวัฒนา เกิดม่วง และคณะ. สมรรถนะวชิาชีพการสาธารณสุขชุมชนของนักวชิาการสาธารณสุข ที่ปฏิบัติงานในหน่วยบรกิารปฐมภูมิไทย วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 26(1); 2559, 40-51.
17. กิตติพัทธ์ เอี่ยมรอด. การพัฒนาตัวชี้วัดสมรรถนะของนักวิชาการสาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นนทบุรี: สำนักวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล สำนักงาน ก.พ.; 2554.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2021