คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • พ.จ.ต.วิถี หัสจรรย์

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตการทำงาน, บุคลากรโรงพยาบาล

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง(Cross-Sectional Descriptive Research)  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคลที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือบุคลากรโรงพยาบาลแก้งคร้อ จำนวน 263 คน มีวิธีการสุ่มอย่างเป็นระบบ ( Systematic random sampling) ได้จำนวน 115 คน คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม โดยผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน พบว่าทุกข้อมีค่า IOC มากกว่า 0.05 และวิเคราะห์หาความเที่ยงของแบบสอบถาม ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาช 0.94 เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2562 ถึงวันที่ 1 พฤษภาคม 2562 ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด สถิติเชิงอนุมาน หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 74.6 อายุเฉลี่ย 34.4 ปี (S.D.= 7.71) ต่ำสุด 23 ปี สูงสุด 53 ปี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 80.3 สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 65.5 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 32,189 บาท (S.D.=15,794 บาท) รายได้ต่ำสุด 10,000 บาท สูงสุด 100,000 บาท ระเวลาที่ปฏิบัติงานเฉลี่ย 8 ปี (S.D.=6.79 ปี) ต่ำสุด 1 ปี สูงสุด 36 ปี ระดับคุณภาพชีวิตการทำงานโดยรวมในระดับมาก 3.50 (S.D.=0.38) การสนับสนุนจากองค์การ มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ (r=0.506, p-value<0.001) จากการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าทีมที่เกี่ยวข้องของโรงพยาบาลควรมีการค้นหาความเสี่ยงด้าน ความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อการแก้ไขปัญหาที่ตรงประเด็นและเหมาะสม

References

1. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
2. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2556). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย
(พ.ศ.2556-2561).
3. Davis, L. E. (1977). Enhancing the quality of working life: Developments in the United States. International Labour Review, 116(1), 53-65.
4. Walton, R. E. (1973). Quality of working life: What is it?. Slone Management Review, 15(1), 12-18.
5. ประจักร บัวผัน. (2558).หลักการบริหารสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 4. ขอนแก่น: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
6. Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2nded. New York: McGraw-Hill.
7. ดัชนีวรรณ สัตย์ธรรม, ชนะพล ศรีฤาชา. (2562). บรรยากาศองค์การและการสนับสนุนจาการองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามเกณฑ์คุณภาพและผลานบริการปฐมภูมิของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 12(1). 41-50.
8.สถาพร รัตนวารีวงษ์, นิตยา เพ็ญศิรินภา, และวรางคณา จันทร์คง. (2557). ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและรองรับคุณภาพโรงพยาบาลของบุคลากรสาธารณสุข ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดบึงกาฬ. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 7(26), 48-58.
9. สิริกัญญา วงศ์กาฬสินธุ์, และประจักร บัวผัน. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของเภสัชกรโรงพยาบาล

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2020