ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • กนกวรรณ อุบลบาน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • สุทิน ชนะบุญ

คำสำคัญ:

บุหรี่, พฤติกรรมการสูบบุหรี่ , ปัจจัย, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสูบบุหรี่และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น มีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ จำแนกตามชั้นปี ได้ตัวอย่างจำนวน219คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม มีค่า IOC ระหว่าง 0.67-1.00 และ ค่าความเชื่อมั่นของความรู้โดยใช้วิธีของคูเดอร์แอนริชาร์ดสัน (KR-20) ได้ค่าเท่ากับ 0.70 ค่าความเชื่อมั่นของทัศนคติเกี่ยวกับการสูบบุหรี่และแบบสอบถามปัจจัยเอื้อใช้วิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.79, 0.82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด OR และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์
โดยใช้สถิติ Chi-Square Test, 95% CI of OR

ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักเรียน เคยสูบบุหรี่ ร้อยละ 18.26 เหตุผลที่สูบบุหรี่ เพราะอยากลองด้วยตนเอง ร้อยละ 72.5 ส่วนใหญ่สูบบุหรี่สำเร็จรูป ร้อยละ 62.5 ปกติสูบบุหรี่วันละ 1 มวน ร้อยละ 37.5 ส่วนใหญ่จะสูบในบางโอกาส ร้อยละ 52.5 ในโอกาสเข้าสังคมกับเพื่อน ร้อยละ 45.0 สถานที่สูบในโรงเรียนส่วนใหญ่ คือ ห้องน้ำ ร้อยละ 40.0 ได้บุหรี่โดยการซื้อเองและได้มาจากเพื่อน ร้อยละ 35.0 ซื้อที่ร้านขายของชำทั่วไป ร้อยละ 50.0 ซื้อบุหรี่แบบขายแยกเป็นมวน ร้อยละ 67.5 พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ (p-value=0.001) ค่าใช้จ่าย (p-value=0.004)  ทัศนคติเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ (p-value=0.004) การรับรู้แนวทางปฏิบัติเรื่องบุหรี่ในโรงเรียน (p-value=0.042) ปัจจัยเอื้อความยากในการเข้าถึงบุหรี่ (p-value=0.001) ปัจจัยเสริมมีเพื่อนสนิทที่ สูบบุหรี่ (p-value=0.001) 

ดังนั้นโรงเรียนควรมีนโยบายป้องกันการสูบบุหรี่ในโรงเรียนและควรมีการเสริมสร้างทักษะชีวิตในการป้องกันการสูบบุหรี่สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

References

1. สำนักควบคุมบริโภคยาสูบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ พ.ศ. 2559 -2562. 2559 . [เข้าถึง เมื่อ 29 ต.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก http://btc.ddc.moph.go.th/th/upload/download/files/Second_Nation_Strategic_Plan_TC2016-2019_TH_FULL.pdf
2. เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่. [ม.ป.ป.] . [เข้าถึง เมื่อ 29 ต.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก http://thpaat.org/hinge.php.moph.go.th/oralhealth/PR/E-book/smoke/ smoke11.html
3. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานประจำปี 2561 สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2562 . [เข้าถึง เมื่อ 7 ต.ค. 2562]. เข้าถึงได้จากhttp://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib9/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B9%8C%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%9B%E0%B8%B5/yearbook2561.pdf
4. Green, L.W. & Kreuter, M.W. (1991). Health Promotion Planning: An Educational and Environment Approach. California: Mayfield Publishing.
5. ศศิธร ชิดนายี และวราภรณ์ ยศทวี.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของ วัยรุ่นจังหวัดอุตรดิตถ์. 2561 . [เข้าถึง เมื่อ 7 ต.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/download/132739/99611/
6. อรวรรณ วรอรุณ, ปิยะธิดา ขจรชัยกุล, ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ, พิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริมศักดิ์, และ ศุภชัย ปิติกุลตัง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมตนเองในพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเด็กนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดสุพรรณบุรี. 2560 . [เข้าถึง เมื่อ 7 ต.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/phjbuu/article/download/79100/84317/
7. ลักษณาพร กรุงไกรเพชร และกิตติ กรุงไกรเพชร. ปัจจัยที่มีผลต่อการสูบบุหรี่ของนิสิต มหาวิทยาลัยบูรพา. 2560 .[เข้าถึง เมื่อ 7 ต.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก http://dspace.lib.buu.ac.th/bitstream/1234567890/3371/1/med4n1p21-30.pdf
8. มณฑา เก่งการพานิช, แสงเดือน สุวรรณรัศมี, ชวาลา ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม,
และธราดล เก่งการพานิช. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร. 2557 .[เข้าถึง เมื่อ 7 ต.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/muhed/article/download/174660/125038/
9. ชนก จามพัฒน์, เกียรติ กำจรกุศล และจิราภรณ์ สรรพวีรวงค์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการ สูบบุหรี่ของพระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. 2562. [เข้าถึง เมื่อ 7 ต.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/download/153368/129887/
10. จิราภรณ์ จันทร์แก้ว, พรนภา หอมสินธุ์. และรุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการทดลองสูบบุหรี่ ของนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดปทุมธานี. 2558. [เข้าถึง เมื่อ 7 ต.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUNS/article/view/79091
11. ธิติ บุดดาน้อย,สุทิน ชนะบุญ และเบญญาภา กาลเขว้า. พฤติกรรมการสูบบุหรี่และปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น. รายงานการวิจัย ของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น. (2560)
12. อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย.(หลักสูตรภาษาไทย) ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์; 2556. [เข้าถึง เมื่อ 7 ต.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก http://www.opac-healthsci.psu.ac.th/BibDetail.aspx?bibno=497434
13. Best, J. W. (1977). Research in Education. (3 rd ed). New Jersey: Prentice hall Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2021