ภาวะการมีงานทำของบัณฑิตหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ปริญญา สังข์โคตร
  • ประทีป กาลเขว้า วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จ.ขอนแก่น 90/1 ถนนอนามัย ต.เมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000
  • เบญญาภา กาลเขว้า

คำสำคัญ:

ภาวะการมีงานทำ, บัณฑิต, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะการมีงานทำของบัณฑิต ความพึงพอใจต่องานที่ทำของบัณฑิตในการทำงานและความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตต่อคุณลักษณะการปฏิบัติงานของบัณฑิต หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น ที่สำเร็จการศึกษาปี 2557 ถึงปี 2561 จำนวน 129 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ผลการวิจัยพบว่า บัณฑิตส่วนใหญ่มีงานทำ (ร้อยละ 86.82) มีรายได้ต่อเดือนอยู่ในช่วง 15,001-20,000 บาท (ร้อยละ 51.16) ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐ (ร้อยละ 93.02)  ทำงานที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมากที่สุด (ร้อยละ 70.54) ทำงานในตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข (ร้อยละ 92.25) รองลงมาคือตำแหน่ง เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน (ร้อยละ 3.10) มีความพอใจต่องานที่ทำ (ร้อยละ 88.37) ด้านความต้องการในการศึกษาต่อพบว่า ร้อยละ 56.59 ต้องการศึกษาต่อ บัณฑิตมีความพึงพอใจต่อคุณลักษณะของบัณฑิตในการทำงาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีความถี่สูงสุด  (ร้อยละ 96.77) รองลงมาคือ ด้านทักษะทางปัญญา (ร้อยละ 95.16) ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตต่อคุณลักษณะการปฏิบัติงานของบัณฑิต อยู่ในระดับมาก โดยด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ มีความถี่สูงสุด (ร้อยละ 99.19) รองลงมาคือ ด้านทักษะทางปัญญา (ร้อยละ 96.77)

References

1. ราชกิจจานุเบกษา. (2562). พระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก. 62(43),หน้า 41-42.
2. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิริธร จังหวัดขอนแก่น. (2559). แผนยุทธ์ศาสตร์. ค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2562, จากhttps://sites.google.com/a/scphkk.ac.th/home/strategy
3. ทิพรัตน สิทธิวงศ. (2558). การประเมินผลการจัดการศึกษาและติดตามผลการปฏิบัติงานของบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษา ระหว่างปีการศึกษา 2550 - 2554 ของมหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 3(1),หน้า 7-21.
4. Hatch, Raymon N. and Stefire, Buford. (1965). Administration of Guidance Service. New Jersey : Prentice-Hall.
5. อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2556). การออกแบบแบบสอบถามสำหรับงานวิจัย = Designing a questionnaire for research. ฉบับพิมพ์ที่1.พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์, 2556.
6. กองแผนงาน มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2559). บทสรุปผู้บริหารเรื่องภาวะการมีงานทำของบัณฑิตประจำปีการศึกษา 2557 มหาวิทยาลัยศิลปากร.
7. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2561). ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตต่อการปฏิบัติงานและคุณลักษณะของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปีพ.ศ. 2561.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02-06-2021