พฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชั่นสั่งซื้ออาหารผ่านทางโทรศัพท์มือถือของนักศึกษา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • กัญฑิภา สุ่มมาตย์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • เบญญาภา กาลเขว้า

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชั่นสั่งอาหาร, ปัจจัยทางการตลาด, นักศึกษา

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1)พฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชั่นสั่งซื้ออาหารผ่านทางโทรศัพท์มือถือ 2)ปัจจัยทางการตลาดของการใช้แอปพลิเคชั่นสั่งซื้ออาหาร 3)ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชั่นสั่งซื้ออาหารผ่านทางโทรศัพท์มือถือของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างจำนวน 220 คน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเนื้อหามีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และทดสอบความเชื่อมั่นมีค่าเท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Chi-Square test และ Fisher’s exact test

         ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่มีพฤติกรรมเคยใช้แอปพลิเคชั่นสั่งซื้ออาหาร ร้อยละ 84.55 ใช้บริการ Grab food มากที่สุด ร้อยละ 80.91 สั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชั่นในรอบ 2 เดือน โดยใช้บริการ 2-3 ครั้ง/สัปดาห์ ร้อยละ 36.36 ประเภทอาหารที่ใช้บริการสั่งมากที่สุด คือ อาหารว่าง (ขนม/ เบเกอรี่) ร้อยละ 48.18 วัตถุประสงค์ในการใช้บริการแอปพลิเคชั่นสั่งอาหาร คือ ใช้บริการเนื่องจากไม่มีเวลาเพียงพอในการเดินทางไป ร้อยละ 60.45 ช่วงเวลาในการใช้บริการจะใช้ในช่วงมื้อเย็นมากที่สุด ร้อยละ 33.64 ส่วนใหญ่รับประทานกับเพื่อน ร้อยละ 62.73 ใช้บริการแอปพลิเคชั่นสั่งอาหารเมื่ออยากรับประทาน ร้อยละ 79.55 มีค่าใช้จ่ายในการใช้บริการ(ต่อหนึ่งครั้ง) น้อยกว่าหรือเท่ากับ 100 บาท     ร้อยละ 63.64 โดยแหล่งข้อมูลที่ใช้ประกอบในการตัดสินใจเลือกใช้บริการส่วนใหญ่ คือ เพื่อน ร้อยละ 56.36 ปัจจัยทางการตลาดของการใช้แอปพลิเคชั่นสั่งซื้ออาหารมีระดับความคิดเห็นโดยรวมอยู่ใน  ระดับมาก (Mean=3.85±0.53) ด้านที่ให้ความสำคัญมากที่สุด คือ ด้านการส่งเสริมการตลาด (Mean=3.98±0.65) ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชั่นสั่งซื้ออาหารผ่านทางโทรศัพท์มือถืออย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2020