การพัฒนารูปแบบการเยี่ยมบ้านด้วยวิธีผสมผสานกับการให้คำปรึกษาครอบครัว สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาที่มีภาวะเสี่ยงติดสารเสพติด ในเขตอำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • พิศิษฐ์ โกจารย์ศรี โรงพยาบาลหนองเรือ

คำสำคัญ:

รูปแบบการเยี่ยมบ้าน การให้คำปรึกษาครอบครัว นักเรียนที่มีปัญหาติดสารเสพติด

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1)พัฒนารูปแบบการเยี่ยมบ้านนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงติดสารเสพติดในเขตอำเภอหนองเรือด้วยวิธีผสมผสานการให้คำปรึกษาครอบครัว  2)ศึกษาผลการเยี่ยมบ้านด้วยวิธีผสมผสานการให้คำปรึกษาปัญหาครอบครัวสำหรับนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงติดสารเสพติด  3)ศึกษาปัจจัยและพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้มีการใช้สารเสพติดในนักเรียน  กลุ่มตัวอย่างเป็นครูแนะแนวและครูฝ่ายปกครองในโรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอหนองเรือ จำนวน 16 คน  นักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงติดสารเสพติดที่กำลังเรียน จำนวน 45 คน  ดำเนินการวิจัย ขั้นตอน คือขั้นที่ 1 พัฒนาต้นแบบ ประกอบด้วย ศึกษาแนวคิดทฤษฎี สร้างรูปแบบและแบบฟอร์ม อบรมเชิงปฏิบัติการให้คำปรึกษาครอบครัวแก่กลุ่มตัวอย่างและปรับปรุงรูปแบบและแบบฟอร์ม  ขั้นที่ 2 ทดลองใช้แบบติดตามเยี่ยมโดยครูปฏิบัติการเยี่ยมบ้านนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงติดสารเสพติดและแบบสำรวจปัจจัยด้านต่างๆที่มีผลต่อการใช้สารเสพติด  ขั้นตอนที่3 รวบรวมข้อมูลและสรุปผล  ขั้นตอนที่ 4 ประชุมรายงานผลแก่ผู้เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างเสนอความคิดเห็นและConference case  ขั้นที่ 5 ประเมินผลการใช้แบบเยี่ยมบ้านนักเรียนและเขียนสรุปรายงาน  เครื่องมือที่ใช้ได้แก่  1) รูปแบบการเยี่ยมบ้าน นักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงติดสารเสพติด  2)แบบบันทึกการเยี่ยมบ้านนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงติดสารเสพติด  3)แบบสอบถามปัจจัยด้านต่างๆ พฤติกรรมเสี่ยงแบบสอบถามความคิดเห็นการประชุมสรุปผลการปฏิบัติการเยี่ยมบ้านวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์เนื้อหา  ผลการวิจัยที่ได้คือ 1)รูปแบบการเยี่ยมบ้านนักเรียนกลุ่มเสี่ยงติดสารเสพติด  2)แบบบันทึกการเยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยงติดสารเสพติด 3)ข้อมูลนักเรียนด้านปัจจัยและพฤติกรรมเสี่ยงติดสารเสพติด ของนักเรียนกลุ่มเสี่ยงติดสารเสพติดจำนวน 45 คน ส่วนใหญ่ผู้ปกครองมีอาชีพเกษตรกรรมและรับจ้าง  สภาพครอบครัวไม่สมบูรณ์ มีปัญหาครอบครัว  ปัญหาพฤติกรรมการเรียนสูงสุดคือการหนีเรียน  ส่วนใหญ่ผลการเรียนต่ำกว่า 2.0และมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดสารเสพติดสูง  ซึ่งสารเสพติดที่ใช้สูงสุดคือ ยาบ้า บุหรี่และสุรา นอกจากนี้ยังมีพฤติกรรมเสี่ยงติดโซเซียล ติดเกมและชอบเที่ยวกลางคืน ตามลำดับ 4)การถอดบทเรียนของการเยี่ยมบ้านพบว่าครูกลุ่มตัวอย่างได้พยายามให้ครูในสถานศึกษา ผู้ปกครอง เข้ามามีส่วนร่วมในการเยี่ยมบ้านแต่ละครั้งและสิ่งที่ครูต้องการคือ ความรู้เกี่ยวกับการดูแลแลกฎหมายการพิทักษ์คุ้มครองนักเรียนเสี่ยงติดสารเสพติด การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและต้องการจัดกิจกรรมให้การปรึกษาครอบครัวกับครอบครัวนักเรียนกลุ่มเสี่ยงติดสารเสพติดอย่างจริงจังและต่อเนื่องเพื่อช่วยเหลือนักเรียน

References

กรมสุขภาพจิต. คู่มือการช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตและป้องกันสารเสพติดในวัยรุ่นสำหรับบุคลากรสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, 2546.
กิตติชัย เหลืองกำจร. เอกสารประกอบการบรรยายแนวทางการดำเนินงานด้านการป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา. การอบรมเชิงปฏิบัติการให้การปรึกษาครอบครัวและการเยี่ยมบ้านนักเรียนกลุ่มเสี่ยงยาเสพติด ระหว่างวันที่ 15-17 พฤศจิกายน 2553 ณ โรงแรมท็อปแลนด์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก, 2554.
จำเนียร ช่วงโชติ. เทคนิคการแนะแนว. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2547.
จีน แบรี่. การให้คำปรึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: เจริญวิทย์การพิมพ์, 2549
ณรงค์ หมื่นอภัย. ปัจจัยทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อการใช้สารเสพติดของเยาวชนในอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. รายงานการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2552.
ทิพยวัลย์ เย็นเยือก. การส่งต่อนักเรียนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มมีปัญหาของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2548.
ปาณิศา หลักทอง. ผลการให้คำปรึกษาครอบครัวต่อการทำหน้าที่ของครอบครัวในครอบครัวของวัยรุ่นที่ใช้เมทแอมเฟตามีน. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล, 2548.
พชรพงศ์ ตรีเทพา. การปฏิบัติการเยี่ยมบ้านนักเรียนตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน กรณีศึกษาโรงเรียนโพธิ์ไทรพิทยาคาร อำเภอโพธิ์ไทร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2550.
ศิริศักดิ์ บุญไชยแสน. การศึกษาบทบาทของครอบครัวในการป้องกันสารเสพติดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2550. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 2550.
สวัสดิ์ เสาหงส์. กลยุทธ์การช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง/มีปัญหาในโรงเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2020