ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวพรรณเพิ่มความขาวใสของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
ทัศนคติเกี่ยวกับการเลือกใช้,การเข้าถึงผลิตภัณฑ์,การได้รับคำแนะนำบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวพรรณเพิ่มความขาวใสและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวพรรณเพิ่มความขาวใสของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น จำนวน 220 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างสุ่มแบบชั้นภูมิ แบบสอบถามประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ปัจจัยนำ1.เพศ อายุ รายได้ ระดับการศึกษา หลักสูตรรายได้ ที่พักอาศัย สถานภาพ ค่าใช้จ่ายในการซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวพรรณ เหตุผลที่ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวพรรณ 2.ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์บำรุงผิวพรรณ 3.ทัศนคติเกี่ยวกับการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวพรรณเพิ่มความขาวใส ปัจจัยเอื้อปัจจัยด้านการเข้าถึงผลิตภัณฑ์บำรุงผิวพรรณ และปัจจัยเสริมปัจจัยด้านการได้รับคำแนะนำสนับสนุนจากบุคคลต่างๆ โดยมีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ 0.804 หาค่าความยากง่ายโดยใช้วิธีของคูเดอร์ – ริชาร์ดสัน 20 เท่ากับ 0.764 ในการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุดและสถิติไคสแควร์ โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 85.00 มีอายุระหว่าง 18 ถึง 33 ปี อายุเฉลี่ย 20.50 ± 1.62และอยู่ในช่วงอายุ 21 ปีขึ้นไปมากที่สุด ส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรทันตสาธารณสุขร้อยละ 40.91เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ร้อยละ 34.09 และได้ค่าใช้จ่ายที่ได้รับจากครอบครัวระหว่าง5,001-10,000บาท มากที่สุด ร้อยละ61.82 โดยพบว่า มีความชุกการใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวเพื่อให้ผิวขาวกระจ่างใสขึ้น ร้อยละ 46.36 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวพรรณเพิ่มความขาวใส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ (p-value =0.02)อายุ (p-value =<0.001)รายได้เฉลี่ยต่อเดือน (p-value =0.03)และทัศนคติที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์บำรุงผิวพรรณ (p-value =0.036)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health) ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว