ทักษะการปฏิบัติงานของผู้ดูแลในการฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุ ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง จังหวัดภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • อานนท์ แก้วบำรุง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต

คำสำคัญ:

ผู้ดูแล, ผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง, การฟื้นฟูสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และอำนาจการทำนายของปัจจัย ได้แก่ คุณลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริมที่มีผลต่อทักษะของผู้ดูแลในการฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง จังหวัดภูเก็ตประชากรคือ ผู้ดูแลที่ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ดูแล 70 ชั่วโมง ที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ดูแลในปีงบประมาณ 2561จำนวน 219 คน โดยใช้สูตรการคำนวณกลุ่มตัวอย่างที่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอนของ Daniel จำนวน 140 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ แบบสอบถามประกอบด้วย 7 ส่วน ได้แก่คุณลักษณะส่วนบุคคล ความรู้ ทัศนคติ การรับรู้ด้านสุขภาพ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริมและทักษะของผู้ดูแล ทดสอบคุณภาพของแบบสอบถามโดยผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน และนำไปทดลองใช้เพื่อวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาคได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับทักษะของผู้ดูแลในการฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประกอบด้วย กลุ่มอายุความรู้ด้านการออกกำลังกายที่เหมาะสมทัศนคติด้านความสำคัญของการดูแลผู้สูงอายุการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยการได้รับการอบรมคำแนะนำและปรึกษาจากบุคลากรสาธารณสุขตามลำดับ ปัจจัยทำนายทักษะของผู้ดูแลในการฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง ประกอบด้วย กลุ่มอายุ (p-value=0.030), ความรู้ด้านการออกกำลังกายที่เหมาะสม(p-value<0.001), ทัศนคติด้านความสำคัญของการดูแลผู้สูงอายุ(p-value=0.002), การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเจ็บป่วย (p-value=0.006) สามารถทำนายได้ร้อยละ 21.8 (R2=0.218) ดังนั้น   ผู้วิจัยจะนำตัวแปรจากผลการวิจัยมาใช้ในการออกแบบกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพของผู้ดูแลผู้สูงอายุเขตจังหวัดภูเก็ตต่อไป

References

1. ชมพูนุช พรหมภักดี.การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย (Aging society in Thailand). วารสารสำนักวิชาการ สำนักเลขาธิการวุฒิสภา. 2556; 3(16):3.

2. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต.การคัดกรองประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ. ข้อมูลเดือนกันยายน; 2562.

3. ชิด บุญมาก และคณะ. ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุเขตเทศบาลนครแม่สอด. โรงพยาบาลแม่สอด; 2559.

4. Green, L. W. and Kreuter, M.W. Health promotion planning: and environmental approach. Toronto: Mayfied Publishing; 1991.

5. Daniel W.W. Biostatistics: Basic concepts and methodology for the health sciences. (9thed). New York: John Wiley & Sons; 2010.

6. Bloom, B.S. Taxonomt of Education. David McKay Company Inc., New York; 1975.

7. Best, John W. Research is Evaluation. (3rded). Englewood cliffs: N.J. Prentice Hall; 1977.

8. Cronbach. Essentials of Psychological Testing. New york: Harper and Row; 1997.

9. Beach, E.K., Moloney, B.H., and Arkon, O.H.“The spouse: A factor in recovery after myocardial infarction.” In Heart & Lung: Journal of Clinical Care. 1992;1: 30-38.

10. ศิริพันธ์ สาสัตย์. รายงานผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการ การศึกษาสถานดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในประเทศไทย. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และมูลนิธิสถาบันและพัฒนาผู้สูงอายุไทย; 2552.

11. ศศิพัฒน์ ยอดเพชร.ระบบการดูแลระยะยาวในครอบครัวสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.); 2548.

12. ชวลิต สวัสดิ์ผล และคณะ. การดูแลและพัฒนาผู้สูงอายุโดยชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพ มหานคร: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต; 2559.

13. Thurstone, L.L. Reading in attitude theory and measurement. New York: John Wiley and Sons, Inc; 1970.

14. Ajzen, I., Fishbein, M. Understanding attitudes and predicting social behavior. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall; 1980.

15. Rosenstock. History origins of the health belief model: Health Education Monograph; 1974.

16. Becker, Marshall H. The health belief model and preventive behavior. Health Education Monographs; 1974.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-11-2019