ความสัมพันธ์ระหว่างความพร้อม และการรับรู้ กับทัศนคติ ในการพัฒนา ตามเกณฑ์มาตรฐานรพ.สต.ติดดาว
คำสำคัญ:
หลักบริหาร 4M,รพ.สต.ติดดาว, การรับรู้, ทัศนคติ, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหลายวิธีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความพร้อม และการรับรู้ กับทัศนคติ ต่อการพัฒนาตามมาตรฐาน รพ.สต.ติดดาว จากกลุ่มตัวอย่าง 50 คน เป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและลูกจ้างสายวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทั้ง 16 แห่ง พื้นที่อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้แบบสอบถาม และการประชุมกลุ่มเป็นเครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนที่ 2 ความพร้อมตามหลักบริหาร 4M ส่วนที่ 3 ระดับการรับรู้ ส่วนที่ 4 ระดับทัศนคติ และส่วนที่ 5 การประชุมกลุ่ม ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ได้ค่าความตรงของเนื้อหาเท่ากับ 0.83 ความเชื่อมั่นโดยสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาคเท่ากับ 0.86วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการศึกษา พบว่า ความพร้อมตามหลักบริหาร 4M มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( =3.070, SD=0.5715) ระดับการรับรู้มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (=3.346, SD=0.533) และระดับทัศนคติมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง ( =3.712 , SD=0.438) ความพร้อมตามหลักบริหาร 4M กับทัศนคติมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระดับปานกลาง (r=0.366,P-value<0.009) หมายถึงความพร้อมตามหลักบริหาร 4M มีผลต่อทัศนคติของกลุ่มเป้าหมายพอสมควร มีความพร้อม แต่ละด้านในระดับปานกลาง โดยมีความกังวลกับความสิ้นเปลืองในการพัฒนา โดยการรับรู้กับทัศนคติมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระดับระดับปานกลาง (r=0.430,P-value<0.002) หมายถึงระดับการรับรู้เกณฑ์การประเมินฯ มีผลต่อทัศนคติของกลุ่มเป้าหมายพอสมควร โดยรับรู้ถึงความจำเป็น และรายละเอียดเกณฑ์การประเมินในระดับปานกลาง สู่ความคาดหวังที่จะได้รับการรับรองมาตรฐาน และมีความสุขกับการทำงาน ปัจจัยอื่นที่มีความสำคัญคือสัมพันธ์ภาพของเจ้าหน้าที่ต่อเครือข่ายในชุมชน ที่ก่อให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนา ส่วนขนาดของหน่วยบริการตามสัดส่วนประชากร ไม่ส่งผลต่อวิธีการพัฒนา แต่ส่งผลต่อการจัดสรรงบประมาณ เนื่องจากมีหน่วยบริการมากกว่าอำเภออื่นที่มีสัดส่วนประชากรใกล้เคียงกัน
References
2. จริมา ทองสวัสดิ์ . ความต้องการข่าวสาร การเปิดรับ และการใช้ประโยชน์ข่าวสารด้านสุขภาพจากเว็บไซต์ สุขภาพของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในเขตกรุงเทพมหานคร กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545.
3. จรัสโฉม ศิริรัตน์. ปัญหาการติดต่อสื่อสารของบุคลากรในองค์กร : กรณีศึกษา สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. โครงการวิจัยสถาบัน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2558.
4. จิณณ์นภัส แสงมา. งานวิจัยการสื่อสารเพื่อสุขภาพแนวสร้างนำซ่อม. เอกสารโครงการ การพัฒนาองค์ความรู้เรื่องการสื่อสารเพื่อสุขภาพ. กรุงเทพฯ, ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์, 2547.
5. ชลอรัตน์ ศิริเขตรกรณ์. ความรู้ ทัศนคติ การรับรู้ และพฤติกรรมในการรับบริการด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จังหวัดอุทัยธานี,วิทยานิพนธ์. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยลัยราชภัฏนครสวรรค์. วารสารสถาบันบำราศนราดูร. ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม), 2562:111-122
6. ดัชนีวรรณ สัตย์ธรรม, ชนะพล ศรีฤๅชาบรรยากาศองค์กรและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการปฐมภูมิของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดชัยภูมิ, วิทยานิพนธ์. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มีนาคม) 2562:41-50
7. เดชา คนธภักดี, นวลฉวี เพิ่มทองชูชัย, ยุพันธ์ จริยะธีรวงศ์, ฐานดา เกียรติเกาะ, นวลพรรณ พิมพิสาร, สุพิชฌาย์ วิชิโต และคณะ, การรับรู้ของผู้บริหารโรงพยาบาลและผู้ปฏิบัติงานปฐมภูมิต่อนโยบายคลินิกหมอครอบครัว: ความเข้าใจ ความรู้สึก ความคาดหวัง ปัญหาอุปสรรค์ และข้อเสนอแนะ, วารสารวิจัยระบบสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสุขภาพ. ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน), 2561:267-279
8. ทิพย์สุคนธ์ ศรีลาธรรม. คุณภาพบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตอำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี, วิทยานิพนธ์ สาขาวิชา การบริหารงานสาธารณสุข มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น, 2560.
9. ธีร์ธวัช พิมพ์วงค์. แรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพติดดาวของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด.วิทยานิพนธ์. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม), 2561:115-126
10. รุ่งทิวา พานิชสุโข. ปัจจัยที่เกี่ยวกับคุณภาพข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยนอกและการให้บริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (21แฟ้มมาตรฐาน) ของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดชลบุรี. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี, 2558.
11. วรางคณา จันทร์คง. ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาระบบบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดแม่ฮ่องสอน. การประชุมผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 2, 2555.
12. วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร, กฤษดา แสวงดี, บญจพร รัชตารมย์, กมลนัทธ์ ม่วงยิ้ม, อติญาณ์ ศรเกษตริน, รุ่งนภา จันทรา และคณะ. การศึกษาภาระงานและผลิตภาพกำลังคนในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. สถาบันวิจัยระบบสุขภาพ, 2560.
13. สมยศ ศรีจารนัย, พิชญาภัสสร์ วรรณศิริกุล, ปารณัฐ สุขสุทธิ์, อรณรินร์ ขจรวงศ์วัฒนา, สมใจ นกดี. วิจัยประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายทีมหมอครอบครัว. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, 2558.
14. สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว (รพ.สต.ติดดาว) ปี2562, 2561.
15. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2563. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: 2562.
16. หทัยรัตน์ คงสืบ, วิไลลักษณ์ เรืองรัตนตรัย.ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตำบลติดดาว. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจังหวัดนครราชสีมา. ปีที่ 5 ฉบับที่ 1, 2561:72-84
17. เอกณรงค์ วรสีหะ. ทัศนคติและการสร้างแบบวัดทัศนคติ. วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2555.
18. Published on Hfocus.org เจาะลึกระบบสุขภาพ /// 2560.// ‘รพ.สต.นามะเฟือง’ ชุมชนเข้มแข็ง หนุนส่งสู่ รพ.สต.ติดดาว.//สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2563./จาก/https://www.hfocus.org /content/2017/04/13791#comment-0
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health) ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว