การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงของผู้สูงอายุในชุมชน
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, ชุมชน, การป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงของผู้สูงอายุในชุมชน ดำเนินการระหว่างปี 2560 - 2562 แบ่งออกเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 การศึกษาปัจจัยพื้นฐานและการสังเคราะห์รูปแบบฯกลุ่มเป้าหมายคือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 21 คน และผู้สูงอายุในพื้นที่ชุมชนตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 570 คนสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่าเจ้าหน้าที่สาธารณสุขส่วนใหญ่ต้องการให้พัฒนารูปแบบฯ และผู้สูงอายุดูแลตนเองได้ไม่เหมาะสม ซึ่งส่วนใหญ่มีระดับความรู้ฯ และพฤติกรรมฯ เพียงระดับปานกลาง คิดเป็น 48.10% และ 46.14% ตามลำดับ และระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบฯ แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 ตรวจสอบความตรงภายในรูปแบบฯ ใช้การสนทนากลุ่มโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ด้าน จำนวน 9คน ประกอบด้วย อายุรแพทย์ พยาบาลวิชาชีพ และนักวิชาการสาธารณสุข ที่ปฏิบัติงานใน รพ.สต. และคลินิกหมอครอบครัว (PCC) ขั้นตอนที่ 2 ตรวจสอบความตรงภายนอกรูปแบบฯ ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมายคัดเลือกแบบเจาะจง คือ ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชนตำบลนาฝาย จำนวน 141 คน ผลการวิจัยพบว่า หลังการพัฒนารูปแบบฯ ในวงรอบที่ 3 (ปี2562) ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่า 1) อัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน เท่ากับ 2.16 และ 2) ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมได้เท่ากับ 53.64% และ 66.92% ตามลำดับ ซึ่งบรรลุเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุข และมีกลไกการดำเนินงานของชุมชนที่ต่อเนื่องและยั่งยืน และพบว่าภาคีเครือข่ายจำนวน 141 คน มีความพึงพอใจต่อรูปแบบฯ ทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด โดยรูปแบบฯ ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ 1) เครือข่าย ประกอบด้วย (1) ท้องถิ่น,(2) ท้องที่,(3)การศึกษา,(4) ศาสนา,(5) สาธารณสุข 2) การมีส่วนร่วม ประกอบด้วย (1) การมีส่วนร่วมในการวางแผน,(2) การมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม, (3) การมีส่วนร่วมในการใช้ประโยชน์, (4) การมีส่วนร่วมในการร่วมรับผลประโยชน์, (5) การมีส่วนร่วมในการประเมินผล 3) คุณลักษณะในการทำงานประกอบด้วย (1) การสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน, (2) การสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน, (3) การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชน, (4) การพัฒนากระบวนการส่งเสริมสุขภาพและสุขศึกษาในชุมชน, (5) การพัฒนาระบบบริการโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน
References
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักนายกรัฐมนตรี. กรุงเทพฯ:แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (2560 – 2564); 2560.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: แผนยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560; 2560.
คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติกระทรวงการพฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.กรุงเทพฯ:แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545 – 2564)ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ.2552; 2552
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.), สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ:สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2560; 2560
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี:สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2557
Pender, N.J., Murdaugh, G.L., & Parsons, M,A.Health promotion in nursing practice (5th ed). New Jersey: Parson Education, Inc. 2006.
การประชุมมอบนโยบายและทิศทางการดาเนินงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและข้อเสนอเชิงนโยบายจากงานวิจัยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประจำปี 2559, สำนักงานบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีไทย และแผนงานเครือข่ายควบคุมโรคไม่ติดต่อ.วันที่ 19 ธันวาคม 2559 ณ โรงแรมริชมอนด์ สไตล์ริช
คอนเวนชั่น จังหวัดนนทบุรี. นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2559.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์; 2558
ศิริพรรณ บุตรศรี.การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อควบคุมและป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน[วิทยานิพนธ์ตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558
ศรีสุดา วงศ์วิเศษกุล,พิไลพร สุขเจริญ และสมจิตร์ พยอมยงค์. รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต; 2560
นิตยา เพ็ญศิรินภา,ธีระวุธ ธรรมกุล และกนิษฐ์ โง้วศิริ.ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพแบบมีส่วนร่วมสำหรับผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในพื้นที่เทศบาลนครนนทบุรี[รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2560
ปิยะธิดา นาคะเกษียร. กฎบัตรออตตาวากับบทบาทการสร้างเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ (Ottawa Charter: The Role of the Nurses in Health Promotion). วารสารพยาบาลวิชาชีพ มหาวิทยาลัยมหิดล.2558.
เกษมณี คำดี. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านฉลีก ตำบลตรวจ อำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์. 2559.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health) ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว