ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และทัศนคติกับการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชนตำบลบางเป้า อำเภอกันตรัง จังหวัดตรัง
คำสำคัญ:
การจัดการขยะ, ขยะมูลฝอยในครัวเรือนบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และทัศนคติที่มีความสัมพันธ์กับ การจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนตำบลบางเป้า อำเภอกันตัง จังหวัดตรังกลุ่มประชากรคือจำนวนหลังคาเรือนที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในเขตตำบลบางเป้า อย่างน้อย 1 ปี จำนวน 3,297 หลังคาเรือน โดยเลือกหัวหน้าครัวเรือนหรือผู้ที่ทำหน้าที่หลักในการดูแลครอบครัวเป็นตัวแทนในการตอบแบบสอบถาม ใช้สูตรการคำนวณกลุ่มตัวอย่างที่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอนของ Daniel ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 361หลังคาเรือนใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วย 4ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 คุณลักษณะส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 ด้านความรู้ ส่วนที่ 3 ด้านทัศนคติ ส่วนที่ 4 การจัดการขยะมูลฝอยแบบ 5Rการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ3 ท่านและนำไปทดลองใช้เพื่อวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ 0.92วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่า ความรู้ประกอบด้วย ความหมายของขยะ แหล่งที่มา ประเภทของขยะ การคัดแยกขยะ การกำจัดขยะและอันตรายของขยะ ภาพรวมมีความรู้ในระดับสูง (72.3%) (=2.62, S.D.=0.65)ทัศนคติ ประกอบด้วย ความสำคัญของการคัดแยกขยะ การกำจัดขยะ ประโยชน์ของการคัดแยก ปัญหาขยะภาพรวมมีทัศนคติในระดับสูง (70.1%) (=2.70, S.D.=0.45)ระดับการจัดการขยะมูลฝอยประกอบด้วย ลดการใช้ การใช้ซ้ำ การนำไปใช้ใหม่ การซ่อมแซม การไม่ทำให้เกิดปัญหาขยะ ภาพรวมมีความรู้ในระดับสูง (70.6%) (=2.69, S.D.=0.47) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่าความรู้และทัศนคติมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนตำบลบางเป้า อำเภอกันตัง จังหวัดตรังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r =0.175, P-value =0.001, r=0.386, P-value<0.001ตามลำดับ)
References
องค์การบริหารส่วนตำบลบางเป้า.สรุปรายงานค่าธรรมเนียมขยะมูลฝอย ประจำปี 2560; 2561.
ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์. หลักการจัดการสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.คู่มือวัดสะอาด ฆราวาส สุขใจ. กรุงเทพฯ:สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2552.
Daniel W.W. Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences. (9th ed). New York: John Wiley & Sons, 2010.
Bloom, B.S. Taxonomy of Education. David McKay Company Inc., New York; 1975.
Best, John W. Research is Evaluation. (3rd ed). Englewood cliffs: N.J. Prentice Hall, 1977.
Cronbach, L.J. Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 1951; 16(3): 297-334.
Good Carter V. Dictionary of Education. (3nd ed.) New York: McGraw-Hill Book; 1973.
ราชบัณฑิตยสถาน.พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542.กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์;2546.
วันวิสาข์ คงพิรุณ และคณะ.การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะในหมู่บ้านโป่งปะตำบลแก่งโสภา อำเภอวังทองจังหวัดพิษณุโลก. วิจัยคณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวรจังหวัดพิษณุโลก; 2560.
วรรณภา เฉลยบุญ. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้ และทัศนคติต่อพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี.วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมหาวิทยาลัยศิลปะกร;2556.
อัจฉรี ชัยชนะ.ความรู้และพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยตามหลัก 5Rs ของนักศึกษา. วิทยานิพนธ์คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ; 2560.
Thurstone, L.L. Primary Mental Abilities. Chicago: University of Chicago; 1958.
Hiemstra, R and Brockett, R. G. “From Behaviorism to Humanism. In Cooperating Self - Direction in Learning Concepts into the Instructional Design Process”. In. New Ideas about Self-Directed Learning. Oklahoma: Oklahoma Research Center for Continuing Professional And Higher Education of the University of Oklahoma; 1994.
สมพงษ์ แก้วประยูร. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองควนลัง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา.สารนิพนธ์หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการภาครัฐและเอกชนมหาวิทยาลัยหาดใหญ่; 2558.
จอมจันทร์ นทีวัฒนา, วิชัย เทียนถาวร.การศึกษาความรู้และทัศนคติที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการลดขยะชุมชนแม่กาอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วิจัยสาขาสาธารณสุขศาสตร์ แขนงวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา; 2560
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health) ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว